ท้องเสียจากโนโรไวรัส
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(02-01-2024)-(13-18-17).png)
โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ มีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย ซึ่งจะต้องทำการรักาาให้ถูกวิธี สาเหตุ สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที อาเจียนมาก ทานไม่ได้ มีไข้สูง ปวดท้อง กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบา อ่อนเพลียมาก ในเด็กสังเกต กระหม่อมหนานุ่ม ตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง การป้องกันโรคท้องเสียในเด็กทำได้โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพียงเท่านี้ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดีกันทุกคน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(02-01-2024)-(15-17-04).png)
ไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่แถวๆ ข้างจมูก บนหน้าผาก ที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง และข้างในหลังช่องจมูก ไซนัสอักเสบ เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปในไซนัส ทําให้น้ำมูกกลายเป็นหนองเขียวเหลือง คั่งอยู่ภายใน อาการของไซนัสอักเสบ ได้แก่ น้ำมูกเหนียว เป็นหนองสีเขียวเหลืองอาจไหลออกมาทางจมูกหรือไหลลงคอ แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก บางครั้งต้องหายใจทางปาก ไอมาก ไอ มีเสมหะ ปวดหัวหรือใบหน้าปริมาณไซนัส ได้กลิ่นเหม็นในจมูกหรือในปาก หรือดมอะไรไม่ได้กลิ่นเลย บวมรอบๆ ตา อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาไซนัสอักเสบ เชื้อโรคอาจลามไปที่หู ทําให้หูอักเสบ เกิดฝีรอบๆ ดวงตา ตามัว ปวดหัว เชื้อโรคลามเข้าสมอง ทําให้สมองอักเสบ เป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ทําให้อาการโรคหืดรุนแรงขึ้น การรักษา กินยาฆ่าเชื้อโรคทุกวันตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าจะหมด ใช้น้ำเกลือล้างจมูก ใช้ยาพ่นจมูก และกินยาตามที่แพทย์สั่ง สั่งน้ำมูก และไอขับเสมหะอย่างถูกวิธี * แต่ถ้ากินยาไม่ครบหรือไม่ติดต่อกันตามที่แพทย์สั่ง เชื้อโรคอาจดื้อยา รักษาไม่หายและอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาราคาแพง และกินนานขึ้น ต้องใช้ยาฉีด ต้องเจาะหรือผ่าตัดเพื่อล้างโพรงไซนัส ล้างจมูกอย่างไร ถ้าเด็กร่วมมือ เทน้ำเกลือสะอาด ใส่แก้วเล็กๆ แล้วดูดใส่หลอดฉีดยาขนาด 5-10 ซีซี เตรียมกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าไว้ ยืน นั่ง หรือนอนในท่าที่รู้สึกสบาย แล้วเงยหน้าขึ้น ใส่ปลายหลอดฉีดยาเข้าไปในช่องจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ค่อยๆ ดันน้ำเกลือเข้าไปในช่องจมูกช้าๆ ถ้ารู้สึกว่ามีน้ำเกลือไหลลงคอให้กลืน สั่งน้ำมูกใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า แล้วสังเกตดูลักษณะน้ำมูก หากยังมีมาก และ เหนียวข้น หรือคัดจมูกมาก ให้ทําซ้ำอีกจนกว่าน้ำมูกจะใส และ หายใจโล่งขึ้น ล้างจมูกอีกข้างแบบเดียวกัน ข้อสังเกต น้ำเกลือจะไปซะล้างนน้ำมูกที่ค้างในช่องจมูกทําให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น ในระยะแรกที่เริ่มล้างจมูก ค่อยๆ ใส่น้ำเกลือครั้งละครึ่งถึงหนึ่งซีซี เมื่อเด็กชินกับการล้างจมูกจึงค่อยๆ ใส่นํ้ำเกลือปริมาณมากขึ้นจนเต็มรูจมูก ไม่ควรปิดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งขณะสั่งนํ้ำมูก เพราะจะทําให้หูอื้อ ถ้าเด็กไม่ร่วมมือ หรือเป็นเด็กเล็กไม่ควรล้างจมูกด้วยวิธีนี้เพราะอาจทําให้เด็กสําลักน้ำเกลือลงปอด ไม่ควรแช่นํ น้ำเกลือไว้ในตู้เย็น เพราะน้ำเกลือที่เย็นเกินไปอาจทําให้ปวดจมูก ขวดน้ำเกลือที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป เพราะจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ ไม่ควรใช้น้ำเปล่า หรือน้ำต้มสุกล้างจมูก เพราะมีความเข้มข้นไม่เหมาะสม อาจทําให้เยื่อจมูกบวมได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(18-01-2023)-(15-43-34).png)
ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19
ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19 โรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) ก่อให้เกิดการอักเสบในอวัยวะทั่วทั้งร่างกายมักพบในเด็กที่มีประวัติการติดเชื้อโรคโควิด-19 นำมาก่อนถึง 2-4 สัปดาห์ โดยเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วก่อให้เกิดอาการของโรค MIS-C เด็กที่ป่วยด้วยโรค MIS-C อาจเกิดอาการช็อกหรือเสียชีวิตได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว ผู้ปกครองจึงควรเฝ้าระวังอาการของเด็กหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด หากเด็กมีอาการคล้ายกับโรค MIS-C หรือโรคคาวาซากิ ผู้ปกครองควรพามาพบแพทย์ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(03-01-2024)-(14-05-15).png)
โรค G6PD
โรค G6PD G-6-PD หรือ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์ ซึ่งเป็นโรคขาดเอ็นไซม์ G-6-PD เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดจากความผิดปกติของยีนที่สร้างเอ็นไซม์ดังกล่าว ทําให้สร้างเอ็นไซม์นี้ไม่ได้ ความสําคัญก็คือเอ็นไซม์นี้มีความสําคัญในการสร้างสาร Glutathione ซึ่งมีหน้าที่ทําลาย oxidizing agents ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากยา หรือภาวการณ์ติดเชื้อต่าง ๆ ให้หมดฤทธิ์ไป ความสําคัญของเอ็นไซม์นี้อยู่ที่เม็ดเลือดแดง ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้รับ oxidizing agents เช่นยาบางชนิดหรือการติดเชื้อในร่างกาย จะทําให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถทนทานได้ และเกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน เกิดซีดเฉียบพลันปัสสาวะดํา และอาจเกิดไตวายได้ สารหรือยาที่ทําให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้บ่อย ได้แก่ ยารักษามาเลเรียบางชนิด ยาซัลฟา ยาปฏิชีวนะบางชนิดและถั่วปากอ้า เป็นต้น นอกจากนี้การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เป็น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ก็ทําให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจําเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ และรักษา รวมทั้งเลี่ยงยาที่อาจทําให้เกิดอาการได้ โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมทางโครโมโซมเพศผู้ชายจะเป็นโรค โดยได้รับยีนมาจากมารดาที่เป็นพาหะ พ่อที่เป็นโรคจะถ่ายทอดพาหะให้ลูกสาวทุกคน อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้ยาพวกนี้ ผู้ป่วยจะซีดลงทันทีเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด จะสังเกตเห็นปัสสาวะเป็นสีดําหรือสีโคล่า เนื่องจากฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกกรองออกมากับไต ซึ่งจําเป็นต้องนําส่ง รพ.เพื่อให้การรักษาประคับประคองทันที อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้ คือ ภาวะไตวาย เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลันเพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นําออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง(เม็ดเลือดแดงแตกหมด) และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง การรักษา การรักษาเป็นการรักษาประคับประคอง เช่น การให้เลือด การให้น้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง การปฏิบัติตัว แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้ เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทําให้เกิดอาการ เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคําแนะนําจาแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังลูกเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนครอบครัว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888