เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

สตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีเยื่อบุงอกหนาขึ้นในทุก ๆ เดือนอยู่บนพื้นผิวของโพรงมดลูก เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น เยื่อบุนี้จะมีการสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน ซึ่งนับเป็นวงจรปกติ แต่หากเมื่อใดเยื่อบุนี้ไปเจริญอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผิวของโพรงมดลูก เรียกว่า เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุเหล่านี้จะมีการสลายตัวทุกเป็นเลือดในทุก ๆ เดือนเช่นเดียวกัน เมื่อเลือดเหล่านี้ไม่มีช่องทางการระบายออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่ภายใน เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ และกลายเป็นถุงซีสต์

อาการ

อาการแสดงในบางรายอาจเกิดอาการปวดท้องหรือปวดหลังขณะมีประจำเดือน มักปวดมากขึ้นเมื่อถึงวันท้าย ๆ ของการมีรอบเดือน หรือปวดขณะร่วมเพศ และในบางรายอาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ

การรักษา

สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงต้องพิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยาคุมกำเนิดจนถึงผ่าตัด เพราะฉะนั้นเมื่อสงสัยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อความรุนแรงน้อยการรักษาก็มักจะไม่ซับซ้อนตามไปด้วย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-3198888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น อาการ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง การรักษา สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

Laser repair กระชับช่องคลอด

Laser repair กระชับช่องคลอด

“เปลี่ยนเรื่องใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก” คืนความสดใสให้น้องสาว ด้วยนวัตกรรมไร้ใบมีด Laser Repair เห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง #ในครั้งแรกที่ทำ Laser repair กระชับช่องคลอด เป็นการรักษาเพื่อกระตุ้นคอลลาเจน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ช่วยเพิ่มการหดกระชับของผิวช่องคลอดทั้งเยื่อบุทำให้แก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง ป้องกันปัญหาช่องคลอดหย่อนคล้อย เพิ่มความกระชับมีเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น พึงพอใจทางเพศมากขึ้น แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด เป็นการรักษาด้วย Laser ที่มีความหนาแน่นกว่าช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะที่มีปัญหากลับมาใช้งานได้ตามปกติ กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นลดปัญหาเข้าห้องน้ำบ่อย ลดอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม การเตรียมตัวก่อนการรักษา ควรรักษาก่อนมีประจำเดือน หรือหลังมีประจำเดือนวันสุดท้ายไปแล้ว 1 สัปดาห์ การรักษา จะรู้สึกอุ่นๆ หรือร้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด ผลการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความหย่อยคล้อยเดิมที่มีอยู่ ควรเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 4-6 สัปดาห์ จะรู้สึกช่องคลอดกระชับขึ้น ทั้งในเยื่อบุและผนังรอบนอก ผลที่เกิดขึ้นทันทีเกิดจากความร้อนของเลเซอร์ ส่วนคอลลาเจนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ และเห็นผลชัดเจนใน 2 สัปดาห์ ทำโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช สอบถามเพิ่มเติม หรือนัดหมาย โทร 039 319888 #ศูนย์สุขภาพสตรี #เลเซอร์กระชับช่องคลอด, #เลเซอร์รักษาปัสสาวะเล็ด

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen) ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent) ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้ ทั้งการกินในรูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และ การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง วางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ? ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้ ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่ ทั้งนี้ควรศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิก สุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ที่สำคัญควรตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย ที่สำคัญควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ ปกติผู้หญิงจะมีรังไข่สองข้าง โอกาสที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้างพร้อมๆ กันมีประมาณ 25% และเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่อายุน้อย และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้นเมื่อผู้หญิงมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ประวัติการณ์ของโรคมะเร็งรังไข่ในไทยเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในหญิงไทย ซึ่งอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่ 5.2 ต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี ปัจจุบันได้มีการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ สาเหตุการเกิดมะเร็งรังไข่ สามารถเกิดขึ้นได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ มะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน มีโอกาสพบได้ 5% มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่คือประมาณ 90% มะเร็งเนื้อรังไข่ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก “สาเหตุ” ของการเกิดมะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ยิ่งในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น พบในคนอ้วนมากกว่าคนผอม เกิดกับคนที่มีประจำเดือนเร็วคืออายุน้อยกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี คนที่มีภาวะมีบุตรยากและต้องใช้ยากระตุ้นการตกไข่ หญิงที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าหญิงที่เคยตั้งครรภ์มากกว่า 2 ครรภ์ขึ้นไป อาการเริ่มต้นของ “มะเร็งรังไข่ น่าแปลกที่อาการเริ่มแรกแทบไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่เลย เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ กินอาหารนิดเดียวก็รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง รวมถึงมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เบื่ออาหาร น้ำหนักขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายคนประมาทและไม่คิดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งรังไข่ได้ กว่าจะพบก็มักจะเป็นในระยะลุกลามไปแล้ว คือจะคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อยเริ่มมีอาการปวดท้อง หรือมีน้ำในช่องท้อง 4 ระยะของมะเร็งรังไข่ ระยะที่ 1: เซลล์มะเร็งกระจายอยู่เฉพาะรังไข่ หากมีการตรวจพบในช่วงนี้ ก็จะทำการผ่าตัดรักษาได้ทันท่วงที โดยที่ยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ หากมีการตรวจภายในเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะพบในระยะนี้ได้มากกว่าคนที่ไม่เคยตรวจเลย ระยะที่ 2: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่อุ้งเชิงกราน ก็ยังอยู่ในระยะที่ตรวจพบได้น้อยเช่นกัน เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย ทำให้มะเร็งรังไข่ลุกลามกลายเป็นภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่หลายคนคิด ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่เยื่อบุช่องท้อง เป็นระยะที่มักตรวจพบมากที่สุด เนื่องจากหน้าท้องจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกตินี้ เนื่องจากสารน้ำต่างๆ ในท้องมากขึ้น และคนไข้จะมีอาการตึงและแข็งที่ท้องมากขึ้น แต่น้ำหนักกลับลดลง ระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งกระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นอกช่องท้อง อาจไล่ไปที่ตับ ปอดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงที่เกิดมาข้างต้นและมีอาการแปลกๆ จึงไม่ควรมองข้าม เพราะในระยะแรกจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่าในระยะอื่นๆ ดังนั้นผู้หญิงเราจึงควรป้องกันด้วยการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และเน้นการตรวจภายในหรือตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรลดการรับประทานไขมันจากสัตว์ เพราะหากทานปริมาณที่มากเกินไปก็อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากเท่านั้น และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาหากพบความผิดปกติอย่างเร่งด่วน ซึ่งก็มีตั้งแต่การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด และการฉายรังสี ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ