ภาวะอุ้งเท้าแบน
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(16-08-2023)-(09-04-40).jpg)
ปวดส้นเท้ารองช้ำเรื้อรัง
เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัดกระดูก ปวดส้นเท้ารองช้ำเรื้อรัง… ระวังเสี่ยงกระดูกงอกใต้ส้นเท้า หากใครมีอาการปวดส้นเท้า ปวดคล้ายถูกมีดทิ่มส้นเท้า โดยเฉพาะช่วงก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังการยืนเป็นระยะเวลานาน… คุณอาจจะกำลังเป็นโรครองช้ำเรื้อรัง ที่มีกระดูกงอกร่วมด้วย ดังเช่นคนไข้รายนี้ จากภาพ รังสีวินิจฉัย พบกระดูกงอกส้นเท้า ความยาว 8 มิลลิเมตร คนไข้ได้รับการรักษาด้วยวิธีการอนุรักษ์นิยมแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปวดทุกก้าวที่เดิน หมอจึงพิจารณาทำการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง ยืดเอ็นร้อยหวาย ยืดพัดผืดฝ่าเท้า และ เอากระดูกงอกส้นเท้าออก ( Endoscopic gastrocnemius recession, Endoscopic plantar fascia release, Endoscopic heel spur removal) โดยแผลผ่าตัดผ่านกล้องมีขนาดเล็ก ฟื้นตัวได้ไว ประมาณ 4-6สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ โดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค ศัลยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกเท้าและข้อเท้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมเท้าและข้อเท้า โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(05-08-2024)-(16-05-12).png)
ภาวะเท้าแบนในเด็กและวัยรุ่น
ภาวะเท้าแบนในเด็กวัยรุ่น เท้าแบน คือภาวะผิดปกติของอุ้งเท้าบริเวณกลางเท้ามีลักษณะแบน มีอุ้งเท้าด้านในราบไปกับพื้น ซึ่งจะเห็นชัดเมื่อมีการลงน้ำหนัก หากมองจากด้านหลังจะพบเส้นเท้ามีลักษณะบิดออกด้านนอก ภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าผิดปกติ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและอาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้ อาการภาวะเท้าแบน ภาวะเท้าแบน ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือเป็นเวลานาน แต่เมื่อการดำเนินโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น จึงแนะนำให้พบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น การรักษาภาวะแท้าแบน การรักษาภาวะเท้าแบนส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด เช่น ใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวิธีข้างต้น การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นเพื่อจัดแนวกระดูกหรือเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดิน วิ่ง รวมถึงออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป ตัวอย่างเคส ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กมาปรึกษาด้วยภาวะเท้าแบน ตรวจร่างกายจึงพบว่าเป็นภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น หลังจากได้ลองทำการรักษาด้วยการทำกายภาพ ร่วมกับการใส่แผ่นรองเท้าแต่อาการยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากความผิดรูปค่อนข้างเยอะ แพทย์จึงได้ทำการผ่าตัดใส่สกรู (HyProCure® Titanium Stent) เพื่อปรับแนวรูปเท้าแบน เป้าหมายการผ่าตัดรักษา ได้แก่ แก้ไขความผิดรูปของเท้า ป้องกันการผิดรูปที่มากขึ้น คงสภาพเท้าที่มีความยืดหยุ่นที่ดี ผ่าตัดแบบแผลเล็ก ฟื้นตัวไว เนื่องจากเคสนี้เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก นอน รพ. 2 คืน ก็สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ โดยใช้เวลาทำกายภาพและพักฟื้นต่อ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ ผ่าตัดรักษาโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค
-(06-07-2023)-(15-51-00).png)
กระดูกส้นเท้าแตก
เมืองจันท์เป็นเมืองผลไม้ เมื่อใกล้ถึงเวลาตัดกิ่งหรือเก็บผลไม้ หมอได้พบเจอคนไข้หลายรายที่ประสบอุบัติเหตุ ตกต้นไม้ กระดูกส้นเท้าแตก เรียกว่าเจอทุกๆสัปดาห์ที่หมออยู่เวรก็ว่าได้ วันนี้เราจะไปเรียนรู้ เกี่ยวกับ ภาวะกระดูกส้นเท้าแตกกันครับ 1. อาการที่พบ ผู้ป่วยจะมี อาการ ปวดบวมส้นเท้า ลงน้ำหนักไม่ได้ บางรายอาจมีอาการเจ็บหลัง เนื่องจากมีการหักของกระดูกสันหลังร่วมด้วย 2. ภาพรังสิวินิจฉัย เมื่อทำการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย x ray ร่วมกับ CT scan บริเวณส้นเท้า จะช่วยบอกความรุนแรงของกระดูกส้นเท้าที่หักได้ โดยความรุนแรงขึ้นกับ จำนวนชิ้นกระดูกที่แตก การเคลื่อนที่ของกระดูกและผิวข้อที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะส่วน ข้อใต้ข้อเท้าทางด้านหลัง (Posterior facet of subtalar joint) นอกจากนี้ยัง พบ ลักษณะการผิดรูปของกระดูกส้นเท้าที่สั้นลง กว้างขึ้น เอียงผิดรูป 3. การรักษาเบื้องต้น แนะนำมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจภาพรังสีวินิจฉัย และประเมินแผนการรักษา ในช่วงแรกแนะนำใส่เฝือกอ่อนลดการขยับ ร่วมกับการ ยกขาสูงประคบเย็น กินยาต้านการอักเสบ เพื่อให้เนื่อเยื่อและผิวหนังโดยรอบยุบบวม 4. ใส่เฝือกหรือผ่าตัดดีกว่ากัน เนื่องจากโดยส่วนใหญ่(ร้อยละ 75) ของการเกิดกระดูกส้นเท้าแตกมักเป็นการแตกเข้าผิวข้อใต้ข้อเท้า จึงมักจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่ เพื่อป้องกันผลแทรกซ้อน ได้แก่ ข้อใต้ข้อเท้าเสื่อม ทำให้ปวดเสียวใต้ข้อเท้าเรื้อรัง กระดูกส้นเท้าติดผิดรูป ส่งผลต่อการเดิน การใส่รองเท้า เส้นเอ็น เส้นประสาท ถูกกดทับจากกระดูกส้นเท้าที่ติดผิดรูป 5. การรักษาโดยการใส่เฝือก เหมาะสำหรับ กรณีที่กระดูกที่หักไม่เคลื่อนจากภาพ x-ray และ CT scan หรือในคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเยอะ มีความเสี่ยงในการผ่าตัด โดยจำเป็นต้องใส่เฝือกเป็นระยะเวลา 6-8 สัปดาห์ โดยไม่อนุญาติให้ลงน้ำหนัก 6. การรักษาโดยการผ่าตัด ข้อดีคือสามารถเรียงกระดูกและผิวข้อให้ได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด สามารถขยับข้อเท้าได้เร็ว ป้องกันการติดของข้อเท้า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดอยู่ที่ 7-10 วันหลังอุบัติเหตุ อย่างไรก้ตามผลแทรกซ้อนที่ต้องระวังคือการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 25 ในการผ่าตัดแบบแผลเปิดมาตรฐาน ในปัจจุบันมีเทคนิค #การผ่าตัดแบบแผลเล็ก #การผ่าตัดส่องกล้องช่วย เพื่อลดผลแทรกซ้อนแผลผ่าตัดติดเชื้อลง และได้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากการผ่าตัดแบบเปิด 7. เมื่อไรจะเดินลงน้ำหนักได้ ต้องรอจนกระดูกที่ยึดไว้ติดสมบูรณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ระยะเวลา 10-12 สัปดาห์ บทความโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพเท้าที่ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมเท้าและข้อเท้า โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(06-07-2023)-(15-40-06).png)
5 กระดูกงอก
" กระดูกงอกบริเวณเท้าและข้อเท้า 5 ตำแหน่งยอดนิยม " #ปวดข้อเท้าเรื้อรัง การปวดเท้าหรือข้อเท้าเรื้อรังไม่หาย บางครั้งเมื่อตรวจด้วยภาพรังสีวินิจฉัย #อาจจะพบกระดูกงอกได้ โดยที่กระดูกงอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บและความเสื่อมของเส้นเอ็น การใช้ข้อเท้าหนักๆจากการเล่นกีฬา กระดูกข้อเสื่อม หรือเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจากการที่ ปุ่มกระดูกมีการเชื่อมตัวผิดปกติ วันนี้หมอจะพามารู้จักกับ 5 ตำแหน่งยอดนิยมของการเกิดกระดูกงอกบริเวณเท้าและข้อเท้า 1.กระดูกงอกบริเวณส้นเท้าด้านหลัง (Haglund’s deformity) กระดูกงอกบริเวณนี้มักสัมพันธ์กับโรคจุดเกาะเอ็นร้อยหวายเสื่อมและอักเสบ เจ็บส้นเท้าด้านหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อน่องตึง ใส่รองเท้าได้ลำบาก 2.กระดูกงอกบริเวณส้นเท้าด้านล่าง (Calcaneal spur) พบได้ในผู้ป่วยโรครองช้ำ มีอาการเจ็บแปล๊บๆบริเวณส้นเท้าโดยเฉพาะช่วงตื่นนอนตอนเช้า 3.กระดูกงอกบริเวณอุ้งเท้าด้านใน (Accessory navicular) เกิดจากการไม่เชื่อมกันของปุ่มกระดูกตั้งแต่แรกเกิด (ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 25-30 ในประชากร) ส่งผลให้เส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าที่มาเกาะกระดูกบริเวณนี้เกิดการอักเสบ เกิดอาการปวดข้อเท้าด้านในเรื้อรัง มักพบสัมพันธ์กับภาวะเท้าแบน 4.กระดูกงอกบริเวณข้อเท้าด้านหน้า (Anterior ankle impingement) กระดูกงอกชนิดนี้มักพบใน ผู้เล่นกีฬาเป็นประจำ เช่น ฟุตบอล มีอาการปวดข้อเท้าบวมๆยุบๆเป็นๆหาย ปวดมากขึ้นเวลากระดกข้อเท้าขึ้นสุด หรือนั่งยองๆ 5.กระดูกงอกบริเวณข้อเท้าด้านหลัง (Posterior ankle impingement) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไม่เชื่อมกันของปุ่มกระดูกบริเวณข้อเท้าด้านหลัง(Os trigonum) ทำให้เกิดกระดูกงอกไปกดเส้นเอ็นและเกิดการอักเสบตามมมา ผู้ป่วยจะมีมีอาการมากขึ้น ในท่าจิกข้อเท้าลงสุด หรือทำกิจกรรมที่ต้อง เขย่งเท้า การรักษาภาวะกระดูกงอกเริ่มด้วยวิธีการอนุรักษ์นิยมก่อน ได้แก่ พักการใช้งาน การประคบเย็น กินยาต้านการอักเสบระยะสั้น การปรับเปลี่ยนรองเท้า การบริหารยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย แต่ถ้าหากอาการปวดเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย( X-ray) เพื่อประเมินขนาดและการกดทับเนื้อเยื่อโดยรอบ รวมถึงพิจารณาทางเลือก การผ่าตัดนำกระดูกงอกออก โดยวิธีการแบบเปิดหรือส่องกล้อง ที่ให้ผลการรักษาที่ดีเช่นกัน บทความโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพเท้าที่ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ #คลินิกศัลยกรรมเท้าและข้อเท้าโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888
-(01-10-2024)-(16-40-31).jpg)
การผ่าตัดรักษานิ้วหัวแม่เท้าเกรุนแรง (Hallux Valg)
เคสผู้ป่วยชายวัย 80 ปี มาด้วยอาการนิ้วหัวแม่เท้าเกรุนแรงจนกดเบียดนิ้วชี้และนิ้วกลาง ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบากมาก มีอาการปวดและแผลกดทับเนื่องจากการดูแลทำความสะอาดยากนานกว่า 2 ปี เคสนี้ถือว่าเป็นเคสที่มีปัญหานิ้วหัวแม่เท้าเกรุนแรงหรือ **Hallux Valgus**ซึ่งเป็นเคสที่ซับซ้อนและต้องใช้การผ่าตัดที่ละเอียดอ่อนเพื่อแก้ไข แผนการรักษา ในผู้ป่วยรายนี้ ความผิดรูปของเท้ามีความซับซ้อน หมอได้วางแผนและทำการผ่าตัดโดยวิธีการดังนี้: 1. ผ่าตัดเชื่อมข้อโคนกระดูกนิ้วโป้งเท้า เพื่อปรับแนวกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง 2. ปรับมุมกระดูกนิ้วชี้และนิ้วกลางเพื่อป้องกันการเบียดหรือกดกัน 3. ยืดเส้นเอ็นนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง เพื่อให้การเคลื่อนไหวของนิ้วกลับมาเป็นปกติ ผลลัพธ์หลังผ่าตัด ✳️ ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจ แนวกระดูกเท้ากลับมาเรียงตรงดี ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น อาการปวดและแผลกดทับก็หายไป คำแนะนำ หากใครที่มีปัญหากระดูกนิ้วเท้าเริ่มเอียงหรือผิดรูป อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ บทความโดย**นพ.ปริญญา มณีประสพโชค**ศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ อนุสาขาศัลยกรรมกระดูกเท้าและข้อเท้า ติดต่อนัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php