ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest) ซึ่งจากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ

ข้อดีของการทำ Low Dose CT

ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ

  • ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray
  • ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย

ข้อเสียของการทำ Low Dose CT

  • ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย)
  • ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray

วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest

  • ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด
  • เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT
  • กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที
  • ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner)

การแปลผล

เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง

ข้อควรทราบ

  • ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป
  • ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ / ปอดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด การติดโรค ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่ สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการ ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก ภาวะแทรกซ้อน ฝีในปอด (Lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด ปอดแฟบ (Atelectasis) หลอดลมพอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ การรักษา ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ป้องกันปอดอักเสบ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ(จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039 319 888

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน" นอนกรน ปัญหาเล็กๆที่ อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต เช็กสัญญาณอันตรายและวิธีรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เสียงกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดเป็นเสียงกรนตามมา จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรน คนข้างๆคุณบอกได้ ? นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปากแห้ง คอแห้งหลังตื่นนอน รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลับ ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ชนิดการนอนกรน แบบไหนอันตราย ? ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) คนที่นอนกรนชนิดนี้มักจะมีเสียงกรนสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือเสียงฮุบอากาศ เสียงกรนมักดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย ชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนภาวะนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้าได้ รักษาบรรเทาอาการนอนกรน การลดน้ำหนัก เพราะผู้ป่วยที่นอนกรนส่วนมากมักมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตราฐาน หลีกเลี่ยงไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ใช่อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบ หลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้า โคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วยทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเสียงกรนเบาลง การดูแลรักษาเครื่องมือกันนอนกรน ก่อนใส่เครื่องมือกันกรน ให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ ขัดล้างกับน้ำสบู่ หรือยาสีฟัน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใส่เครื่องมือกันกรน ไม่เก็บเครื่องมือกันกรนในบริเวณที่มีความร้อน หรือแห้ง ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม หากรู้สึกว่าปวดหัวทุกครั้งที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนวินิจฉัยและการรักษาต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma) หืดหอบ เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการเมื่ออากาศหนาว เมื่อไม่มีอาการสุขภาพโดยรวมจะดูปกติแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป สาเหตุ เกิดจากการตีบแคบของหลอดลม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือบางรายเกิดอาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ อาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงหายใจออก หากเป็นมาก ๆ จะนอนไม่สบายตัว มักลกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะและหอบตัวโยน มีเสียงดังฮืด ๆ ผู้ป่วยมักไอมาก มีเสมหะเหนียว อาจมีอาการคันจมูก คันคอ เป็นหวัด หรือจามนำมาก่อน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ในรายที่มีไข้มักเป็นหืดร่วมกับอาการของไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ อาการแทรกซ้อน หากเป็นรุนแรงจะทำให้หอบต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ (Status asthmaticus) หากเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดแฟบ ปอดทะลุ การรักษา ถ้าเป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติตนและรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด กรณีรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน ไข้หวัดใหญ่-จากเชื้อไวรัส ไข้หวัดธรรมดา-จากไวรัสและเเบคทีเรียในอากาศ โรคต่อมทอนซิล-จากไวรัสและแบคทีเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน-จากอาหารปนเปื้อน เยื่อบุตาอักเสบ-จากเชื้อไวรัส โรคไข้เลือดออก-จากยุงลาย โรคฉี่หนู-จากการสัมผัสแหล่งมีน้ำขังที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อฉี่หนู คำอธิบาย ฤดูฝน มักมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มีอากาศที่ร้อนและชื้นมาก ซึ่งเอื้อกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถก่อโรคในคนได้ ซึ่งโรคที่มักพบอุบัติการณ์ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิล อุจจาระร่วง เยื่อบุตาอักเสบ โรคไข้เลือดออก และ โรคฉี่หนู

โรคคางทูม

โรคคางทูม

โรคคางทูม โรคคางทูม เป็นโรคติดต่อ สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อมัมส์ (Mumps) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ทำให้ผู้ติดเชื้อมีการอักเสบของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณขากรรไกรทั้งสองข้าง และหน้าใบหู ทำให้บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่า “คางทูม” ส่วนใหญ่พบในเด็ก ถ้าเป็นผู้ชายอาจมีการอักเสบของอะณฑะในบางราย อาจทำให้เป็นหมันได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกอัณฑะฝ่อ และมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้น การติดต่อของโรค โรคนี้ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจและสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหาร โดยใช้ภาชนะร่วมกัน พบในเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือ จาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลายไปจนถึง 5-9 วัน หลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วัน หลังสัมผัสโรค อาการของโรค ส่วนมากจะเป็นในเด็กวัยเรียน ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยอาจจะมีมีไข้ ปวดศีรษะและอ่อนเพลียภายใน 12-24 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการปวดบริเวณข้างแก้มและใบหู อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลาขยับขากรรไกร หรือเวลารับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ต่อมน้ำลายบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ต่อมน้ำลายจะบวมมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน ส่วนใหญ่มักเริ่มข้างเดียวก่อน แล้วเป็นที่ต่อมน้ำลายอีกข้างตามมา หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงภายใน 3-7 วัน อาการต่างๆ จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน นอกจากนี้ อาจพบอาการอักเสบของต่อมชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ตับอ่อน เต้านม ต่อมไทรอยด์ ท่อน้ำตา เส้นประสาทตา เป็นต้น มารดาที่ติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะมีโอกาสแท้งมากขึ้น การรักษา การรักษาตามอาการให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว แยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย การป้องกันและควบคุมโรค ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูมในรูปของวัคซีน รวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (วัคซีน MMR) อย่างน้อย 2 ครั้ง กำหนดให้ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ส่วนเข็มที่สองให้ฉีดที่อายุ 2 ปี หลังได้รับวัคซีนดังกล่าว เด็กจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสคางทูม หรือฉีดให้แก่เด็กวัยเรียนหรือวัยรุ่นที่ยังไม่เคยเป็นคางทูม โรคนี้เป็นแล้วมักจะไม่เป็นอีก หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจัทบุรี 039-319888

เยื่อหุมปอดอักเสบ

เยื่อหุมปอดอักเสบ

เยื่อหุมปอดอักเสบ (Pleuritis / Pleurisy) เยื่อหุ่มปอดอักเสบ มักมีอาการไม่รุนแรงและส่วนมากจะหายได้เองใน 2-3 วัน (มักไม่เกิน 5 วัน) ซึ่งพบได้หลังจากเป็นหวัด สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนน้อยพบร่วมกับโรคของปอด เช่น ปอดอักเสบ วัณโรคปอด ปอดทะลุ ภาวะมีน้ำหรือหนองในช่องหุ้มปอด ฝีในปอด เป็นต้น อาการ มักมีอาการเจ็บแปล๊บเพียงชั่วไม่กี่วินาทีที่หน้าอกซีกใดซีกหนึ่ง เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาหายใจเข้าลึก ๆ เวลาไอหรือจาม มักไม่มีไข้ ตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปกติ ในรายที่เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่พบร่วมกับโรคอื่น อาจมีอาการ ไข้สูง หอบ ปอดมีเสียงกรอบแกรบ การรักษา หากเจ็บหน้าอกรุนแรง มีไข้สูง หอบเหนื่อย ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ