วัคซีน RSV

วัคซีน RSV คืออะไร?
วัคซีนอาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus Respiratory syncytial virus; RSV) “Arexvy” ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower Respiratory Tract Disease; LRTD) ที่มีสาเหตุมาจาก respiratory syncytial virus โดยมักมีอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา คือ ไอ มีน้ำมูก เล็กน้อย และไม่มีไข้ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรง เช่น มีภาวะปอดอักเสบ ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้ซึ่งผลของวัคซีนจะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อได้ โดยฉีดเพียง 1 เข็ม เท่านั้น

ประโยชน์หลังจากที่ฉีดวัคซีนป้องกัน RSV มีดังนี้?

  • ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส RSV ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ RSV
  • ในกรณีที่ติดเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุ จะช่วยลดความรุนแรงของโรคจากอาการไอ หายใจลำบาก ภาวะปอดอักเสบ และความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากการติดเชื้อ RSV เช่น ปอดบวม (pneumonia) และหลอดลม ฝอยอักเสบ (bronchiolitis)
  • ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก RSV โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง

ทำไมผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีน RSV

  • เนื่องจากเป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็ก และมักมีการแพร่เชื้อจากการสัมผัสในโรงเรียน และนำเชื้อมาให้คนในบ้าน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ปกครอง
  • โรค RSV ไม่มียารักษาโรคโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ หากเกิดกับผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีอันตรายและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเด็กเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวร่วม

ผลข้างเคียงของวัคซีน RSV
อาการไม่พึงประสงค์ที่ได้รับรายงานบ่อยที่สุดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้แก่

  • ปวดบริเวณที่ฉีดยา (61%)
  • อ่อนล้า (34%)
  • ปวดกล้ามเนื้อ (29%)
  • ปวดศีรษะ (28%)
  • ปวดข้อ (18%)

อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้มัก มีความรุนแรงเล็กน้อยหรือปานกลางและหายไปภายใน 2-3 วัน หลังฉีดวัคซีน

ข้อควรระวังในการรับวัคซีน RSV

  • ห้ามฉีด Arexvy ให้ผู้ที่มีอาการแพ้สารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  • ควรระมัดระวังการฉีด Arexvy ในผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือผู้ที่มีความผิดปกติในการแข็งตัว ของเลือด เนื่องจากอาจทำให้มีเลือดออกหลังฉีด
  • ไม่แนะนำให้ฉีด Arexvy ในระหว่างตั้งครรภ์ และในสตรีที่ให้นมบุตร

สอบถามเพิ่มเติมคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ หรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ

ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ

ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ การตรวจเลือด สามารถวินิจฉัยโรคบางชนิดที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากการซักประวัติ หรือโรคที่ไม่มีอาการแสดงออกมา ผลการตรวจเลือดจึงต้องการความชัดเจนและถูกต้องที่สุด แต่สารอาหารและสารจากเครื่องดื่มต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไปนั้นย่อมเข้าสู่กระแสเลือด และอาจทำให้ผลเลือดมีความแปรปรวนจากความเป็นจริงได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการตรวจเลือดในการตรวจค่าบางอย่าง เพื่อให้ผลเลือดมีความแม่นยำที่สุด เตรียมตัวให้พร้อม...ก่อนตรวจเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด งดอาหาร เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่งทุกชนิด ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงก่อนการเจาะเลือด แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ ตรวจไขมันในเลือด ต้องงดอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่งทุกชนิด อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้เช่นกัน และการตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเจาะเลือด 3 วันด้ว ตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือด โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ แต่แพทย์อาจพิจารณาเป็นรายบุคคลว่าควรเตรียมตัวอย่างไร เนื่องจากผู้ที่ได้รับยาบางชนิดอยู่ก่อน อาจมีผลต่อค่า Serum Iron ที่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงได้ การตรวจการทำงานของไต (BUN, Creatinine) ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนตรวจ แต่ควรลดอาหารประเภทเนื้อแดงให้น้อยลง 2-3 วัน ก่อนตรวจ นอกจาก “การงดน้ำ งดอาหาร” แล้ว ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ควรเลี่ยงก่อนเข้ารับการตรวจเลือดด้วย เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง ออกกำลังกาย หากผู้เข้ารับการตรวจเลือด ทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามข้อข้างต้นนี้ ต้องแจ้งข้อมูลให้แพทย์ทราบตามจริง ซึ่งแพทย์อาจจะนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจใหม่ภายหลังเมื่อปฏิบัติตนอย่างถูกต้องก่อนเข้ารับการตรวจเลือดเพราะผลของการตรวจเลือด เป็นส่วนสำคัญที่สามารถนำมาประกอบคำวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรค หรือหาแนวทางการรักษาโรคได้ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของคนไข้เอง ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

อันตรายจากแคดเมียม

อันตรายจากแคดเมียม

แคดเมียมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านทางระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตจับกับโปรตีน albumin ถูกส่งไปที่ตับ ทำให้มีอาการอักเสบที่ตับ บางส่วนของแคดเมียมจะจับตัวกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่ง (metallothionein) เข้าไปสะสมในตับและไต และถูกขับออกทางปัสสาวะ โดยขบวนการขับแคดเมียมออกจากไตเกิดขึ้นช้ามาก ใช้เวลาถึงประมาณ 20 ปี ถึงสามารถขับแคดเมียมออกได้ครึ่งหนึ่งของแคดเมียมที่มีการสะสมอยู่ในไตออกได้ ทำให้มีอาการกรวยไตอักเสบ ผู้ที่ได้รับแคดเมียมเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด ไต ต่อมลูกหมาก และตับอ่อน มีรายงานผู้ป่วยที่กินข้าวที่เพาะปลูกจากแหล่งที่ดินมีการปนเปื้อนแคดเมียม จะมีอาการของโรคกระดูกพรุน และกระดูกมีการเจริญที่ผิดปกติ รวมถึงโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease) อีกด้วย แคดเมียมอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ผลเฉพาะที่ ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ถ้าสัมผัสนานๆ อาจทำให้ความรู้สึกในการรับกลิ่นเสียไป และเกิดคราบ หรือวงสีเหลืองที่คอฟันทีละน้อย หลังจากที่แคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนาน และคงอยู่ในตับและไต ผลต่อร่างกาย พิษเฉียบพลันส่วนใหญ่ เกิดจากการหายใจเอาฝุ่น หรือฟูมแคดเมียม ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อแคดเมียมถูกทำให้ร้อน โดยทั่วไป ระยะเวลาหลังจากสัมผัสสารจะยาวนาน 2-3 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ อาการเริ่มแรกจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยของทางเดินหายใจส่วนต้น อีก 2-3 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการไอ เจ็บปวดใน ทรวงอก เหงื่อออกและหนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการที่ คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมา 8-24 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสสารอย่างฉับพลัน อาจเห็นอาการระคายเคืองอย่างแรงที่ปอด เจ็บปวดในทรวงอก หายใจลำบาก ไอ และอ่อนเพลีย อาการหายใจลำบากจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมปอดตามมา อันตรายจากกรณีเช่นนี้ มีถึง 15% ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจมีฟองอากาศในเนื้อเยื่อ และเนื้อปอดปูดนูนออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรักษาให้หาย มีรายงานว่า พบพิษเรื้อรังเกิดขึ้น หลังจากสัมผัสฟูมแคดเมียมออกไซด์เป็นเวลานาน การรักษาเบื้องต้น หากร่างกายได้รับแคดเมียมจากการบริโภคอาหาร ให้ดื่มนมหรือบริโภคไข่ที่ตีแล้ว เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร หรืออาจทําให้ถ่ายท้องด้วย Fleet’s Phospho Soda (เจือจาง 1:4 ด้วยนํ้า) 30-60 มิลลิกรัม เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.thaihealth.or.th/?p=360223 โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมีบริการตรวจ ที่แผนก check up ทุกวันพุธ ตรวจด้วยการเก็บปัสสาวะ การเตรียมตัว (หลีกเลี่ยงอาหารทะเลอย่างน้อย 3 วัน ก่อนตรวจ) รู้ผลใน 7 วัน ราคาประมาณ 1,500 บาท (รวมค่าบริการและค่าแพทย์) ตรวจจากเลือด (หาสารแคดเมียม) ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร รู้ผลใน 5 วัน ราคาประมาณ 1,500 บาท (รวมค่าบริการและค่าแพทย์) หมายเหตุ วิธีการเลือกตรวจขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาตามความเสี่ยงที่สัมผัสสาร จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ก่อนตรวจทุกราย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูก

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูก

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดู “วัยหมดระดู” สตรีวัยหมดประจำเดือนเป็นจุดหนึ่งในช่วงชีวิตที่ต่อเนื่องของผู้หญิงและถือเป็นการสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะหมดประจำเดือนระหว่างอายุ 45 ถึง 55 ปี เฉลี่ยอยู่ที่อายุ 50ปีโดยเป็นส่วนหนึ่งของการสูงวัยทางชีวภาพ เกิดจากการสูญเสียการทำงานของรังไข่และมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงของวัยหมดระดู อาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปกติจะเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน จนถึงภาวะหลังหมดประจำเดือนอย่างถาวร อาจเป็นผลมาจากการผ่าตัดหรือหัตถการทางการแพทย์ โดยจะวินิจฉัยเมื่อขาดประจำเดือนไปนาน 1 ปี เป็นช่วงเวลาที่อาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ในช่วงวัยหมดระดู การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลต่อสุขภาพของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกและความเป็นอยู่ที่ดี บทความนี้เป็นแนวทางการจัดการเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการเหล่านี้ 1.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) : เป็นหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับระบบกระดูกที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดระดู โรคกระดูกพรุนมีลักษณะเฉพาะคือกระดูกมีความแข็งแกร่งลดลง มีความเปราะบาง เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกข้อมือ 2.การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความอ่อนแรง (Sarcopenia ) : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือนยังส่งผลให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่ลดลง ความมั่นคง และเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้มและกระดูกหักเพิ่มขึ้น การดูแลความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู วิธีการดูแลสุขภาพของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูมีดังนี้ การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักน้อย (Low-impact weight bearing exercise) เช่น การเดิน การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเต้นรำ อย่างน้อย 40 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกโดยตรง เป็นการกระตุ้นการสร้างและยับยั้งการสลายของกระดูก การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) ทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงของตัวเอง หรือใช้น้ำหนักถ่วง ที่น้อยกว่า 10 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด และแรงดึงของกล้ามเนื้อจะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกได้ ให้ผลดีต่อการรักษาความหนาแน่นของกระดูกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัว (Balance exercise) เช่นการรำมวยไทชิ (Tai chi) ร่วมกับการกำหนดการหายใจและการฝึกสมาธิ ในขณะฝึกมีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น เพิ่มทักษะการทรงตัว ความยืดหยุ่น ทักษะการเคลื่อนไหว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ทรงตัวได้ดีขึ้น ความเสี่ยงในการหกล้มจะลดลง โภชนาการที่เหมาะสม (Balanced diet) การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์สำหรับกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาหารที่มีแคลเซียม วิตามิน D โปรตีน และวิตามิน K อย่างเหมาะสม เป็นต้น ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับคือ 1000 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งได้จากสารอาหารหรือการเสริมแคลเซียม วิตามิน ดี ช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมผ่านทางลำไส้ ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงลดความเสี่ยงของการหกล้ม ในช่วงวัยหมดระดูร่างกายต้องการวิตามินดี ให้เพียงพอ 600-800 IUต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามินดี โดยรับวิตามินดีจากแสงแดด (ช่วงเวลา 9.00-15.00 น) เป็นเวลา 15-20 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ และอาหาร อาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่นปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ไข่แดง นม ตับ เห็ด หรือนมที่มีการเติมวิตามินดี รวมถึงการกินวิตามินดีเสริม แบ่งเป็น vitamin D2 ปริมาณ 20,000 IU ต่อสัปดาห์ หรือ vitamin D3 ปริมาณ 800-2000 IU ต่อวัน สารอาหารโปรตีน ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ 1-1.2 กรัม/กิโลกรัม/วัน ไม่มากกว่า 2 กรัม/กิโลกัม/วัน ซึ่งจะไม่รบกวนแคลเซียมเมแทบอลิซึมและความหนาแน่นของกระดูก เช่น ถ้าน้ำหนัก 50 กิโลกรัมให้รับประทานโปรตีน 50 กรัมต่อวัน เป็นต้น 5.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestylemodification) : ลดการดื่มสุรา หยุดสูบบุหรี่ ลดการดื่มชากาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดอาหารรสเค็ม และเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวระหว่างวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของกระดูก 6.การตรวจสุขภาพประจำปี (Regular health check up) : การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสุขภาพของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ และสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพกระดูกได้ในระยะเริ่มต้น การตรวจติดตามความหนาแน่นของกระดูกเป็นประจำ โดยการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) ด้วยวิธีมาตรฐานคือการตรวจด้วยเครื่องที่เรียกว่า DXA SCAN ผู้ที่ควรตรวจวัด BDMได้แก่ ➢ ผู้ชายอายุ 70ปีขึ้นไป ➢ ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ➢ ผู้หญิงที่หมดระดู ก่อนอายุ 45ปี ➢ มีภาวะเอสโตรเจนต่ำต่อเนื่องเกิน 1 ปีก่อนถึงวัยหมดระดู ➢ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้ยาต้านฮอร์โมน ➢ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้ยาต้านฮอร์โมน ➢ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ติตต่อกันเกิน 3 เดือน (prednisolone ≥ 5 mg/day) ➢ ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย ( BMI) น้อยกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ➢ ผู้ที่บิดามารดามีประวัติกระดูกสะโพกหัก ➢ ผู้ที่มีส่วนสูงลดลงอย่างน้อย 4 เซนติเมตร ➢ ผู้ที่เอกซเรย์พบกระดูกบางหรือกระดูกสันหลังหัก ➢ ผู้ที่กระดูกหักจากการกระแทกที่ไม่รุนแรง 7.การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Menopausal Hormone Therapy; MHT) : โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการวัยหมดประจำเดือนและแสดงให้เห็นประโยชน์ต่อสุขภาพในการป้องกันกระดูกหัก อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจใช้ MHT ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น และต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 8.ยารักษาโรคกระดูกพรุน : สำหรับคนที่มีภาวะกระดูกพรุนและมีความเสี่ยงสูงถึงสูงมากต่อกระดูกหัก อาจกำหนดให้ใช้ยากลุ่มต้านการสลายกระดูก เช่น Bisphosphonates, Denosumab, Raloxifen และ MHT เป็นต้น หรือยากลุ่มกระตุ้นการ 9.การป้องกันหกล้ม (Fall prevention) : การป้องกันการล้มเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายกว่าเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การทรงตัวลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และการมองเห็นเปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีป้องกันดังนี้ การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความสมดุล ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มได้ มักแนะนำให้ฝึกไทชิและโยคะ การปรับเปลี่ยนความปลอดภัยภายในบ้าน : การป้องกันอันตรายจากการสะดุดล้ม เช่น พรมที่หลวมหรือสายไฟ การติดตั้งราวจับในห้องน้ำและบันได และการปรับปรุงแสงสว่างให้เพียงพอทำให้สภาพแวดล้อมในบ้านปลอดภัยยิ่งขึ้น การปรับยารักษาโรคประจำตัว : ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือส่งผลต่อการทรงตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม การทบทวนยากับแพทย์ผู้รักษาและการปรับเปลี่ยนหากจำเป็นสามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ การตรวจสายตาเป็นประจำ : การมองเห็นที่ไม่ดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มได้ การตรวจสายตาเป็นประจำสามารถช่วยการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ รองเท้าที่เหมาะสม : การสวมรองเท้าที่พอดีและมีพื้นรองเท้าที่ไม่ลื่นไถลสามารถสร้างความมั่นคงและลดความเสี่ยงในการลื่นไถลได้ อุปกรณ์ช่วยเหลือ : การใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หากจำเป็น สามารถใช้เพื่อสร้างความมั่นคงในการเดินได้ ระบบตรวจจับการล้ม : สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะล้ม อุปกรณ์สวมใส่หรือระบบติดตามภายในบ้านสามารถแจ้งเตือนในกรณีที่ล้มได้ ช่วยให้สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที การศึกษาและการตระหนักรู้ : การให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการล้มและการจัดการที่ดีในการป้องกัน สามารถช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม สุขภาพของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อในวัยหมดระดูเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสม ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มและการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและสามารถลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก การรักษาด้วยฮอร์โมนและยารักษาโรคกระดูกพรุนสามารถรักษาได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลโดย พญ.แก้วตา เรืองรัตนภูมิ

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย!

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย!

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย! SPOT-MAS (Multi-Cancer Screening) ตรวจคัดกรองมะเร็งระยะเริ่มต้นเจาะเลือดครั้งเดียว ตรวจหา #มะเร็ง ได้ 5 ชนิด #มะเร็งเต้านม #มะเร็งปอด #มะเร็งตับ #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #มะเร็งกระเพาะอาหาร ราคาโปรโมชัน 15,000 บาท (จากปกติ 16,500 บาท) เริ่ม 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 67 กดซื้อออนไลน์ง่าย ๆ คลิกเลย ซื้อโปรแกรม https://bangkokhospitalchanthaburi.com/shop/107 #ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

SPOT-MAS การตรวจหาเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มแรก

SPOT-MAS การตรวจหาเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มแรก

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ป่วยมะเร็งใหม่กว่า 1.7 ล้านคนต่อปี โดยกว่าร้อยละ 70 ตรวจพบมะเร็งในระยะที่รักษายาก การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตถึง 90-95% ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกคาดว่าอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งจะสูงขึ้นเป็น 45% ในปี 2573 ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงและผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน เนื่องจากการตรวจพบในระยะหลังทำให้การรักษาเป็นเรื่องที่ยากขึ้นและส่งผลกระทบทางการเงินต่อผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก SPOT-MAS เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นที่ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ การตรวจหาการกลายพันธุ์จะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย การตรวจคัดกรองด้วย SPOT-MAS สามารถตรวจหาสารพันธุกรรมจากเซลล์มะเร็งที่ถูกปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือด (Circulating Tumor DNA: ctDNA) โดยใช้เทคโนโลยี Next-generation sequencing ที่สามารถตรวจหาเซลล์มะเร็งหลายชนิดได้ในครั้งเดียว เพียงเจาะเลือดครั้งเดียว ซึ่งเป็นการพัฒนาที่สำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SPOT-MAS สามารถตรวจหามะเร็งระยะแรกเริ่มได้ 5 ชนิด: มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจเหล่านี้สามารถทำได้จากการเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว ซึ่งช่วยลดความเครียดและความยุ่งยากในการเตรียมตัวสำหรับการตรวจ การตรวจ SPOT-MAS มีข้อดีหลายประการ: เป็นวิธีที่ง่ายและไม่เจ็บตัวมาก เนื่องจากเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อเยื่อหรือรุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย มีความแม่นยำสูงถึง 95.9% ผู้เข้ารับการตรวจสามารถทราบผลภายใน 30 วัน ใครควรตรวจ SPOT-MAS?: SPOT-MAS สามารถคัดกรองได้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยเป็นมะเร็งหรือไม่มีอาการต้องสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเป็นช่วงอายุที่ WHO แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำปี แม้ไม่มีอาการใด ๆ เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์ระยะเริ่มต้น เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงมะเร็งชนิดต่าง ๆ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่สัมผัสสารก่อมะเร็งหรืออยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง อาทิ ฝุ่น PM2.5 ผู้ที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป สัญญาณและอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็ง: ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ไม่ควรเข้ารับการตรวจ SPOT-MAS: น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วอย่างน้อย 6 กิโลกรัมใน 6 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาเป็นเวลานาน และปวดบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล มีอาการไอต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล มีเลือดออกผิดปกติหรือมีของเหลวออกมาจากหัวนม การทำงานของลำไส้มีความผิดปกติเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ขึ้นไป เช่น ท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น การตรวจหาสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งอาจไม่สามารถบอกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะเกิดโรคมะเร็งกับผู้เข้ารับการตรวจหรือไม่ แต่สามารถระบุระดับความเสี่ยงได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอนาคตได้. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบบี เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ก่อโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัตับอักเสบบีนี้ ซึ่งจะฉีดทั้งหมด 4 ครั้ง ในทารกที่ฉีดตั้งแรกเกิด และในวัยอื่นๆโดยทั่วไปฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ดังนี้ เริ่มฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเข็มแรก เมื่อพบแพทย์ตรวจแล้วว่าไม่มีภูมิคุ้มกันและแพทย์พิจารณาแล้วว่าควรได้รับวัคซีนนี้ วัคซีนเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน วัคซีนเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน กลุ่มที่แนะนำให้ได้รับวัคซีนไวรัสอับอักเสบบี ทารกแรกเกิดทุกราย ทุคนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ผู้ดูแลหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในโรงพยาบาล ผู้ที่ได้รับการฟอกไต ผู้ที่ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ กลุ่มรักร่วมเพศ ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ผู้ที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี การตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี * เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 10 ปี) ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน * เด็กโต (อายุ 10 ปีขึ้นไป) และผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาแล้ว ซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันโรคแล้วตาม ธรรมชาติหรือเป็นพาหะ ซึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโดยไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจเลือดประกอบกับการพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่ วัคซีนนี้จะป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้หลังฉีด 10 วัน อาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี อาจมีอาการปวด บวม หรือมีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่มราว 3-4 ชั่วโมงหลังฉีด และเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888