ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวจึงมีผลต่อเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย อาจส่งผลต่อผู้ป่วยอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการหลักๆของภาวะหัวใจล้มเหลว

  • เหนื่อย
  • อ่อนเพลีย
  • บวม


ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือด และตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย การรักษานอกจากจะมุ่งเน้นการชะลอการดำเนินโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
  2. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินต้องให้การรักษาทันที่ มักพบในผู้ป่วยที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษามุ่งเน้นการรักษาภาวะฉุกเฉินเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด และการหายใจเป็นหลัก


ภาวะแทรกซ้อนของจากภาวะหัวใจล้มเหลว


การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว

  • ซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์
  • การตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างในร่างกาย (NT-ProBNP)
  • ตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography)

นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาตรวจหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มเติม เช่น การฉีดสีสวนหัวใจเพื่อหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขโรคต้นเหตุได้อย่างทันท่วงที

ผู้ที่มีความปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว


การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

  • การหาโรคที่เป็นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และรักษาแก้ไขที่โรคต้นเหตุร่วมกับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
  • รักษาด้วยยาเพื่อชะลอการดำเนินโรคและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ
  • ควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่ม และอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม และการปรับยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม

การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  • ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • หากมีโรคประจำตัว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
  • จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ


สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณซีกซ้าย อาจจะมีร้าวไปที่แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม ร่วมกับมีอาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล เป็นผลมาจากหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ อาการอย่างไรเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1–10 นาที รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร อย่างไรก็ดีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาและเกิดได้ทุกสถานที่ และทุกเวลา เช่น ขณะออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่ง นอนหลับพักผ่อน เกิดจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว จากการมีคราบไขมัน (Plaque) และเมื่อเกิดการปริแตกของผนังด้านในหลอดเลือดบริเวณนั้น ทำให้มีลิ่มเลือดมาจับตัวเป็นก้อน จนเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และถ้ามีการเต้นหัวใจผิดจังหวะของหัวใจห้องล่างชนิดร้ายแรง (VT/VF) ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแต่ยังรู้สึกตัวดีต้องรีบมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ซึ่งหน้าจะต้องมีความรู้เรื่องการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และรู้จักการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ภายหลังการรักษาผู้ป่วยต้องรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการมาพบแพทย์ตามนัด ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบว่าอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เวลาออกแรง เหนื่อยง่าย หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ขาบวมกดบุ๋มให้รีบมาพบแพทย์ทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ” กรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสีย ความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติ ได้เองจะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น เรียกไม่รู้สึกตัว ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่ อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ เหงื่อออกที่ใบหน้า ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่ อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรพบแพทย์ประเมิน หาสาเหตุ สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ เกิดจาก ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด เป็นต้น เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง จะส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้ ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23% พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3% ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า อาการวูบที่ควรพบแพทย์ วูบแล้วหมดสติ-ชัก มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดปกติ หรือในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว สำหรับสิ่งที่ควรต้องระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการ บาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา หรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ Coronary Calcium Scan (CAC) ภาวะหลอดเลือดแดงของหัวใจแข็ง การตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary Artery Calcium Scan หรือ CAC) เป็นการตรวจหาหลักฐานของภาวะหลอดเลือดแดงของหัวใจแข็ง (Atherosclerosis of Coronary Artery) การที่หลอดเลือดแดงแข็งเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังร่วมกับภาวะหลอดเลือดแดงเสื่อมที่เป็นมาระยะเวลานานพอสมควรประมาณ 2 – 5 ปี สาเหตุจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง บุหรี่ โรคอ้วนลงพุง หรือกรรมพันธุ์ ทำให้หลอดเลือดแข็งขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง และสุดท้ายเป็นแคลเซียมไปเกาะที่หลอดเลือด ทำให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป รวมทั้งมีการตีบของหลอดเลือด การพัฒนาของหลอดเลือดจนกลายเป็นคราบหินปูนเกาะตามหลอดเลือด การบ่งบอกได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดแข็งนั้นสามารถประเมินและวินิจฉัยได้โดยการส่งตรวจ Computerized Coronary Calcium Scan ซึ่งจะสามารถบอกได้ในผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังเท่านั้น ในคนที่เป็นแบบเฉียบพลันอาจจะไม่สามารถบอกได้ เนื่องจากเป็นรอยโรคใหม่ จุดสังเกตแคลเซียมหรือหินปูน สำหรับพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจที่มีแคลเซียมหรือหินปูน เริ่มต้นจาก ลักษณะของแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจเริ่มตั้งแต่เป็นจุด (Fine Speckles) กลุ่มของจุดที่กระจาย (Fragmented) เล็ก ๆ (0.5 – 15.0 µm) เป็นรอยโรคที่เกิดใหม่มีความเสี่ยงต่อ Heart Attack หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหรือตัน เมื่อแคลเซียมเพิ่มมากขึ้นเป็นเส้นตามแนวหลอดเลือด (Diffuse Calcification) เมื่อแคลเซียมเพิ่มมากขึ้นเป็นปื้นหรือแผ่นของแคลเซียม (Sheet of Calcification) ที่ขนาดมากกว่า 3 มิลลิเมตร ซึ่งหมายถึงการเป็นเรื้อรังมานาน โดยสรุปการบอกแคลเซียมหรือคราบหินปูนที่เกิดขึ้นเป็นของใหม่ที่เพิ่งเกิด หรือเป็นของเก่าพอมีลักษณะที่บอกได้ จากลักษณะเริ่มเป็นจุด เส้น ๆ กลายเป็นหนา และกลายเป็นแผ่นหนาขึ้น การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยคราบหินปูนในผนังเส้นเลือดหัวใจที่หนาตัว (CAC) ทำให้หลอดเลือดแดงหัวใจตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก การทำ Coronary Calcium Scan เป็นวิธีการตรวจเบื้องต้นที่ง่าย ไม่ต้องฉีดสี ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10 – 15 นาที มีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอนาคตที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยประเมินร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น รวมทั้งอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยมาประกอบในการวางแนวทางการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป ผู้ที่ควรตรวจ Coronary Calcium Scan ข้อบ่งชี้ในการทำ Coronary Calcium Scan ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือวัยหมดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง ไขมันในเส้นเลือดสูง สูบบุหรี่ เทคนิคการทำ Coronary Calcium Scan การตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary Artery Calcium Scan หรือ CAC) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์พิเศษที่เรียกว่า Multidetector Row หรือ Multislice Computerized Tomography (CT) ซึ่งสแกนภาพหลายภาพของคราบหินปูนที่สะสมอยู่ที่เส้นเลือด การทดสอบการถ่ายภาพจะดูที่ระดับของคราบหินปูนที่สะสมอยู่ คราบหินปูนประกอบด้วยไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่น ๆ ในเลือด ซึ่งจะค่อย ๆ พัฒนาเกาะเพิ่มขึ้นกลายเป็นแผ่นหนาใหญ่ขึ้น จนทำให้เห็นคราบหินปูนที่ชัดเจนขึ้น Coronary Calcium Scan กับความเสี่ยง การสแกนหัวใจใช้เทคโนโลยี X – Ray ซึ่งมีปริมาณรังสีค่อนข้างน้อย (ประมาณ 1 Millisievert) เวลาที่ใช้ในการตรวจเพียง 10 – 15 นาทีเท่านั้น การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่กระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น ได้แก่ งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่าง ๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก ขั้นตอนระหว่างทำ Coronary Calcium Scan แพทย์จะตรวจ / บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) ซึ่งจะบันทึกการเต้นของหัวใจในระหว่างการทำ Coronary Calcium Scan ท่านอนจะต้องนอนหงายและต้องกลั้นหายใจนิ่งเพื่อให้ภาพมีความชัดเจน โดยผู้ป่วยอาจจะต้องกลั้นหายใจประมาณ 2 – 10 วินาที ในช่วงที่ถ่ายภาพ กรณีที่อัตราการเต้นของหัวใจผู้ป่วยเต้นเร็วมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อให้หัวใจเต้นในเกณฑ์ปกติ ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที การปฏิบัติตัวหลังทำ Coronary Calcium Scan ไม่มีข้อควรระวังเป็นพิเศษหลังทำ Coronary Calcium Scan สามารถขับรถกลับบ้านได้และทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ การแปลผล Coronary Calcium Scan การแปลผลปริมาณหินปูนมีความสัมพันธ์กับโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบหรืออุดตัน โดยใช้การแปลผลจากคะแนน Agatston Score คะแนน 0 หมายความว่า ไม่มีแคลเซียมที่หลอดเลือดแดงหัวใจ แสดงว่าโอกาสต่ำในการเกิด Heart Attack หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหรือตันในอนาคตน้อย คะแนน 1 – 100 หมายความว่า มีแคลเซียมที่หลอดเลือดแดงหัวใจน้อย มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิด Heart Attack หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหรือตัน ดูแลเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย คะแนน 101 ถึง 400 หมายความว่า มีแคลเซียมที่หลอดเลือดแดงหัวใจระดับปานกลาง มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงที่จะเป็นในการเกิด Heart Attack หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหรือตัน ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อพิจารณาในการตรวจรักษา คะแนนตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หลอดเลือดแดงหัวใจอาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแอบแฝงอยู่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบสูงมาก รวมทั้ง Heart Attack หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหรือตัน แม้ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อพิจารณาในการตรวจรักษาเพิ่มเติม CAC Score 10 – Year Mortality Risk Guidance Reassure 0 Very Low (<1%) Reassure; maintenance of healthy diet and lifestyle. 1 – 100 Low (<10%) Maintenance of healthy diet and lifestyle 101 – 400 Moderate (10–20%) Aspirin recommended Statins considered reasonable 101-400 & >75th centile Moderately High (15-20%) Reclassify as high risk Aspirin recommended Statins considered reasonable >400 High (>20%) Aspirin recommended Statin recommended, to achieve target LDL <2.0 mmol/L Consider functional assessment. * Suggested management based on CAC results for asymptomatic patients Source: 2017 CSANZ Calcium Score Position Statement ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์ bangkokhearthospital

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น โรคหัวใจ (Heart Disease) หลายคนคงนึกว่าเหมารวมเพียงแต่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคหัวใจ จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นรายต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้อีกมากมาย อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น รู้หรือไม่ ? ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ในอดีตโรคหลอดเลือดหัวใจมักเกิดในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันเราพบว่าหนุ่มสาววัยทำงานนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย อยู่ในภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ยิ่งหากใครที่สายปาร์ตี้ด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้นไปอีก ส่วนปัจจัยที่นอกเหนือจากพฤติกรรมก็มีอยู่บ้าง เช่น โรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม สัญญาณเตือน “โรคหัวใจ” เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เดินเร็วๆ หรือออกกําลังกาย หายใจเข้าลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย ตอนใช้แรงมากๆ หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืนขณะพักผ่อน เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางอก เจ็บหน้าอกด้านซ้ายบริเวณหัวใจหรือทั้ง 2 ข้างจนไม่สามารถนอนราบได้ตามปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจและอึดอัดตรงหน้าอก หายใจหอบ จนบางครั้งต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ หากมีอาการดังกล่าวแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ? อาศัยการซักประวัติ สอบถามอาการและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่น่าสงสัย ตรวจร่างกายในทุกระบบที่เกี่ยวข้อง ฟังการเต้นของหัวใจ ตรวจระดับไขมันและหินปูนในหลอดเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กมาติดตามที่หน้าอก แขนและขา โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะแสดงออกมาเป็นกราฟ ซึ่งแพทย์จะอ่านผลและวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คือการให้ผู้เข้ารับการตรวจเดินหรือวิ่งบนสายพานเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ผลจะแสดงออกมาเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมทดสอบด้วยการวิ่งบนสายพาน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาด้านการเดิน เป็นการตรวจเพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การเคลื่อนที่และการบีบตัว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหัวใจได้เกือบทุกประเภท ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Coronary Artery) เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจ หากตรวจแล้วพบข้อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัดที่สุดว่ามีการตีบหรือใกล้ตันในจุดใด คือ การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ ที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ นั่นเอง ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลต่อสุขภาพหัวใจโดยตรง ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้ เลือกกินอย่างเหมาะสม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็มจนเกินไป กินผัก ผลไม้ที่มีกากใยให้มากขึ้น โดยเลือกชนิดที่น้ำตาลไม่สูง ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ช่วยลดไขมันเลว (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ในหลอดเลือด ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นปัจจัยสำคัญในเกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ทำจิตใจให้แจ่มใส หากรู้ตัวว่ามีความเครียดควรรีบหาวิธีกำจัดอย่างเหมาะสม พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เลือกตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมตามช่วงวัยและความเสี่ยง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จํานวนผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศมีแนวโน้มเพิ่่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งทําให้บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจ ชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมากขึ้น คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สาเหตุและอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารีที่นําเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทําให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแพร่กระจายไปที่แขน ลําคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการร่วมอื่น ดังกล่าวข้างต้น และหรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร่งด่วน เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที ปัจจัยเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจําเดือน ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากมีโรคประจำตัว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามกำลังของตนเอง หากออกกำลังกายแล้วมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ เหนื่อยมากจนพูดไม่ออก หายใจสั้นและถี่มาก เมื่อยหรือปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ควรหยุดออกกำลังกายและพบแพทย์ทันที จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามปกติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพลดล อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยมีภาวะภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่สะดวก เป็นลม หมดสติ การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การซักประวัติอสุขภาพ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรือเอคโค(Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study) การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษาตามแนวทางของแพทย์ต่อไป การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888