ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)

ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)

ต่อมลูกหมากโต เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่พบได้ในชายที่อายุ 45 ปีขึ้นไป อาจโตขึ้นไม่มากก็น้อย โดยไม่แสดงอาการใด ๆ เมื่ออายุมากขึ้นผู้ชายบางรายอาจเริ่มมีอาการจากต่อมลูกหมากโตและแข็งกดท่อปัสสาวะได้ หากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่แข็งแรงพอ จะบีบต้านแรงกดของต่อมลูกหมาก จึงทำให้เกิดมีอาการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ

อาการ

  • ปัสสาวะพุ่งไม่แรง ปัสสาวะลำบากนานแรมปี ต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น บางรายอาจถึงขั้นปัสสาวะไม่ออก
  • ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง (ตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นถ่ายบ่อย) แต่ละครั้งออกทีละน้อย
  • บางครั้งอาจถ่ายออกเป็นเลือด
  • อาจมีอาการขัดเบาจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคแทรกซ้อนที่พบได้หลังเป็นต่อมลูกหมากโต

การรักษา

  • หากถ่ายปัสสาวะไม่ออกอาจต้องมีการสวนระบายปัสสาวะเป็นครั้งคราว
  • หากเป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้หายขาดได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone) สาเหตุการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ คือ ขาดสารฟอตเฟสซึ่งมีมากในอาหารประเภทโปรตีน ร่วมกับกินผักที่มีสารออกซาเลตสูง และดื่มน้ำน้อย ทำให้มีการสะสมของสารแคลเซียมออกซาเลตในกระเพาะปัสสาวะจนกลายเป็นนิ่วในที่สุด นอกจากนี้ยังพบร่วมกับการอุดตันของท่อปัสสาวะ , ต่อมลูกหมากโต , กระเพาะปัสสาวะหย่อน , กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานเนื่องจากเป็นอัมพาต อาการ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะสะดุด ปวดเบ่งคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด จากก้อนนิ่วอุดกั้นท่อปัสสาวะ บางรายปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว เม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขาวเหมือนผงแป้งปนมากับปัสสาวะ ปวดท้องน้อยมากปัสสาวะไม่ออก มีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ จากก้อนนิ่วตกลงไปอุดตันท่อปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน การเป็นนิ่วกระเพาะปัสสาวะ มักทำให้มีอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และไตวายได้ การรักษา หากสงสัยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาโดยแพทย์และเครื่องมือเฉพาะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช็กอาการ วิธีรักษา ก่อนไร้อารมณ์ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศภาวะที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่เมื่อเริ่มมีความผิดปกติและส่งผลกระทบกับชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง รู้ทันปัญหาคุณผู้ชาย อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวและ/หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จจนเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำหรืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะทราบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุใด จะให้การรักษาได้อย่างไร จะต้องเข้าใจกลไกการแข็งตัวขององคชาตก่อน การแข็งตัวขององคชาตมีด้วยกัน 3 กลไก ได้แก่ การแข็งตัวเวลานอนหลับ (Nocturnal Erection) เวลานอนหลับองคชาตจะมีการแข็งตัวคืนละประมาณ 4 – 6 ครั้ง ครั้งละ 15 – 30 นาที การแข็งตัวจากจิตใจ (Psychogenic Erection) เมื่อมีความต้องการทางเพศจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้น คำสั่งจะส่งจากสมองมายังแกนสมองส่วนที่เรียกว่า พาราเวนทริคูลาร์นิวเคลียสที่อยู่บริเวณไฮโปทาลามัส จากนั้นคำสั่งจะผ่านไขสันหลังลงมายังศูนย์กลางการแข็งตัวขององคชาตบริเวณไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและผ่านเส้นประสาทคาร์เวอนัส (Cavernous Nerve) ที่มากระตุ้นให้เส้นเลือดในองคชาตมีการขยายตัว เลือดเข้ามาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้องคชาตแข็งตัว การแข็งตัวจากรีเฟล็กซ์ (Reflexogenic Erection) เมื่อมีการกระตุ้นหรือสัมผัสบริเวณองคชาตก็จะมีสัญญาณผ่านจากเส้นประสาทที่องคชาต (Dorsal Nerve) ไปยังศูนย์กลางการแข็งตัวที่ไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและส่งสัญญาณกลับมายังองคชาต (Cavernous Nerve) สาเหตุบอกโรค ความผิดปกติที่กลไกใด ๆ ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ อันได้แก่ ความล้มเหลวในการเริ่มต้น (Failure to Initiate) อันมีสาเหตุจากปัญหาทางจิตใจ เนื้อเยื่อประสาท และฮอร์โมน ความล้มเหลวในการแข็งตัว (Failure to Fill) เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดแดง ความล้มเหลวในการคงการแข็งตัวไว้ (Failure to Store) จากความผิดปกติของเส้นเลือดดำ ทำให้เกิด Venous Leakage จากการศึกษาพบว่า สาเหตุด้านร่างกาย (Organic) สาเหตุด้านจิตใจ (Psychogenic) และทั้งสองสาเหตุร่วมกัน (Mixed ED) คิดเป็นร้อยละ 70, 11 และ 18 ตามลำดับ 1.ปัจจัยสมรรถภาพทางเพศหย่อนจากร่างกาย โรคเรื้อรังทางระบบหลอดเลือดและประสาท เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โรคระบบต่อมไร้ท่อ ที่สำคัญคือ โรคเบาหวาน โรคเกิดจากการผ่าตัด หรือภยันตรายต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือกระเพาะปัสสาวะ โรคของไขสันหลัง 2.ปัจจัยสมรรถภาพทางเพศหย่อนจากจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า 3.สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : คุณผู้ชายหลายๆ ท่านอาจจะชอบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสร้างบรรยากาศ หรือเพื่อทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ แต่อาจทำให้คุณทำกิจกรรมทางเพศได้ยากขึ้น เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจรบกวนการแข็งตัวของอวัยวะเพศชั่วคราว ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง : การทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเล่นกีฬากลางแจ้งอยู่เสมอ อาจทำให้อ่อนล้า อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางคืนได้ สูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่จะไปยับยั้งการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดเสียหาย หรือจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่นำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ติดเกม นั่งอยู่แต่หน้าจอเป็นเวลานาน : ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง ไร้ความสดชื่น หมดความกระปรี้กระเปร่า เหนื่อยล้า ง่วงง่าย จึงไม่แปลกที่นำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การนอนไม่สมบูรณ์ : อาจเกิดจากปัญหาการนอน รวมไปถึงการใช้ชีวิตแบบไม่หลับไม่นอน ออกเที่ยว ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ : หนุ่มท่านใดที่นิยมรับประทานอาหารขยะเพราะขี้เกียจหาอะไรทาน ง่ายสุดคือสั่งอาหารขยะส่งตรงถึงหน้าบ้าน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาหารเหล่านี้มีปริมาณไขมันที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันอุดตันจนหลอดเลือดตีบ ทำให้ไม่สามารถลำเลียงเลือดแดงไปเลี้ยงน้องชายคุณได้ รักษาหรือป้องกันอย่างไรดี? ก่อนอื่นคุณผู้ชายต้องหันมาดูแลทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจของตนเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สงบ ลดความเครียด ควบคุมอาหาร รวมถึงละ เลิก สาเหตุที่ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศดังที่กล่าวมา แต่หากปฏิบัติแล้วผลลัพธ์ที่ออกมากยังไม่เป็นที่พอใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แนวทางการรักษา ในปัจจุบันมีการรักษาหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของแต่ละบุคคล ดังนี้ รักษาด้วยยารับประทาน ฉีดยา และการให้ฮอร์โมนทดแทน สามารถรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ โดยทำให้เลือดไหลเวียนเข้าไปสู่อวัยวะเพศชายในระหว่างมีการกระตุ้นทางเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ ยาเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดการแข็งตัวในช่วงที่ไม่ได้มีการกระตุ้นทางเพศ แต่ต้องได้รับตามแพทย์สั่งเท่านั้น พร้อมได้รับคำแนะนำ เทคนิควิธีการฉีดยาที่ถูกต้อง การใช้กระบอกสูญญากาศ เพื่อช่วยให้เกิดการแข็งตัว หลักการทำงานของเครื่องคืออากาศจะถูกปั๊มออกจากท่อพลาสติกที่นำไปสวมไว้ที่อวัยวะเพศชาย ภายในเวลา 2-3 นาทีหลังทำการปั๊ม เลือดจะถูกดึงให้เข้าไปที่เนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวแล้ว เครื่องมือนี้จะถูกนำออกไป และต้องใช้ยางรัดที่โคนอวัยวะเพศ เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ร่างกาย วิธีนี้ไม่เจ็บตัว และไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้ยา การผ่าตัด มีทั้งผ่าตัดแก้ไขเส้นเลือดแดงหรือดำที่มีปัญหา และการผ่าตัดใส่แกนอวัยวะเพศเทียม ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone) ก้อนนิ่วขนาดเล็กในไตที่ตกผ่านมาในท่อไต เป็นเหตุให้ท่อไตเกิดการบีบรัดตัว เพื่อขับก้อนนิ่วออกมา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง เรียกว่า นิ่วในท่อไต อาการ ปวดท้องรุนแรง โดยปวดบิดเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณท้องน้อยข้างหนึ่งข้างใดเพียงข้างเดียว อาการปวดท้องมักร้าวไปหลัง และต้นขาด้านใน บางรายปวดจนดิ้นไปมา หรือใช้มือกดบริเวณที่ปวดไว้ ซึ่งจะรู้สึกดีขึ้น ปวดมากจนเหงื่อออก ตัวเย็น ในสั่นหวิว คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการขัดเบา ปัสสาวะมักจะใสปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ หากนิ่วก้อนใหญ่หลุดออกเองไม่ได้ ทิ้งไว้อาจทำให้มีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้ การรักษา หากสงสัยควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือส่องตรวจพิเศษต่าง ๆ ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วหรือกรอนิ่วในท่อไต:URS URS เป็นการรักษานิ่วแบบไร้แผล ซึ่งเหมาะกับการรักษานิ่วในท่อไต ข้อดีของการทำ URS ไร้บาดแผล ใช้เวลาในการทำหัตถการประมาณ 15- 30 นาที ฟื้นตัวเร็ว นอนโรงพยาบาลเพียง 1-3 วัน หัตถการนี้ถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีเลือดออก บาดเจ็บกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ การเตรียมตัวก่อนทำ URS งดน้ำงดอาหารก่อนทำหัตถการ 6-8 ชั่วโมง หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หากมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ สิ่งที่พบหลังทำ URS จะมีสายสวนปัสสาวะคาอยู่ที่ท่อปัสสาวะ ปัสสาวะที่ออกมาจะมีเลือดปนและจะค่อยๆจางลงจนเป็นสีปัสสาวะปกติ การปฏิบัติตัวหลังทำ URS ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000-3,000 มิลลิลิตร รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มโอกาสการเป็นนิ่วซ้ำ เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักกินยอด ถั่ว ชา ช็อกโกแลตเป็นต้น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone) นิ่วในไต( Renal stone) ทำให้มีอาการปวดเอว ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด หอบ เหนื่อย มีไข้ มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ ปวดเวลาปัสสาวะ และปัสสาวะน้อยลง สาเหตุของการเกิดนิ่ว สาเหตุความผิดปกติภายในตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ กรรมพันธุ์ อายุและเพศ ความผิดปกติด้านโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ภาวะอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ สาเหตุร่วมที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ฤดูกาล ปริมาณการดื่มน้ำ โภชนาการและอาชีพ การวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ การรักษา Renal Stone(นิ่วในไต) ESWL (Extracorporeal shock wave Lithotripsy) การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยอาศัยคลื่นเสียงไปกระแทกเม็ดนิ่วให้แตกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วไหลหลุดผ่านท่อไตมาที่กระเพาะปัสสาวะ และ ปัสสาวะหลุดออกมาเองได้ PCNL (Percutaneous Nephroletuotrispy) การเจาะนิ่วผ่านด้านหลัง โดยสอดกล้องผ่านทางด้านหลัง จะมีแผลเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปทำลายเม็ดนิ่วแล้วคีบออกมาผ่านกล้อง การผ่าตัดแบบเปิด ปัจจุบันมีที่ใช้น้อย ยกเว้นในรายนิ่วมีขนาดใหญ่มาก ๆ การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน (รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากแพทย์พยาบาล โดยตรงสำหรับการรักษาแต่ละชนิด) ในกรณีที่ทำผ่าตัด ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาด ควรระมัดระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จนครบ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง การออกกำลังกายทำได้แต่ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานหนักในระยะ 8 – 12 สัปดาห์แรก มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติก่อนวันนัด สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แผลอักเสบ มีไข้ ปัสสาวะปนเลือด ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น การป้องกัน ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อให้น้ำปัสสาวะเจือจาง ป้องกันการเกิดผลึกและตกตะกอนสาร ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมและไม่ควรรับประทานอาหารอย่างเดิมซ้ำกันนานๆ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด เพราะการมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่นานๆ จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น เดินหรือวิ่งเพื่อป้องกันการค้างของน้ำปัสสาวะ หรือถ้ามีนิ่วก้อนเล็กๆ ก้อนนิ่วจะได้หลุดออกมา กับน้ำปัสสาวะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture) ท่อปัสสาวะตีบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ การติดเชื้อหนองใน หนองในเทียม ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้ท่อปัสสาวะมีการอักเสบจนเกิดเป็นแผลเป็น จนทำให้ท่อปัสสาวะตีบ อาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก หรืออกทีละน้อย ออกเป็นหยด ๆ ในผู้ชายอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อหลั่งน้ำอสุจิขณะร่วมเพศ บางรายพบว่าองคชาตมีการบิดเบี้ยวขณะกำลังแข็งตัว การรักษา รักษาโดยใช้เครื่องมือถ่างขยายท่อปัสสาวะ รักษาด้วยการผ่าตัด ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888