มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่ง HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่เมื่อติดเเล้วมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปาดมดลูก ได้แก่ HPV 16 , 18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 52 , 56 โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่นับว่ามีความเสี่ยงสูงมากกว่าตัวอื่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

  1. ปัจจัยเสี่ยงทางเพศหญิง

    1. การมีคู่นอนหลายคน

    2. การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี

    3. การตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง

    4. มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น

    5. ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน

  2. ปัจจัยทางฝ่ายชาย

    1. ผู้ชายที่เป็นมะเร็งองคชาต

    2. ผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก

    3. ผู้ชายที่เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    4. ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

    5. ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน

  3. ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก

    1. การสูบบุหรี่

    2. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

อาการของมะเร็งปากมดลูก

  1. ตกเลือดทางช่องคลอด

    • เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน

    • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

    • มีน้ำออกปนเลือด

      ตกขาวปนเลือด

  1. อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลาม

    • ขาบวม

    • ปวดหลังรุนแรง

    • ปัสสาวะเป็นเลือด

    • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

Laser repair กระชับช่องคลอด

Laser repair กระชับช่องคลอด

“เปลี่ยนเรื่องใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก” คืนความสดใสให้น้องสาว ด้วยนวัตกรรมไร้ใบมีด Laser Repair เห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง #ในครั้งแรกที่ทำ Laser repair กระชับช่องคลอด เป็นการรักษาเพื่อกระตุ้นคอลลาเจน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ช่วยเพิ่มการหดกระชับของผิวช่องคลอดทั้งเยื่อบุทำให้แก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง ป้องกันปัญหาช่องคลอดหย่อนคล้อย เพิ่มความกระชับมีเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น พึงพอใจทางเพศมากขึ้น แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด เป็นการรักษาด้วย Laser ที่มีความหนาแน่นกว่าช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะที่มีปัญหากลับมาใช้งานได้ตามปกติ กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นลดปัญหาเข้าห้องน้ำบ่อย ลดอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม การเตรียมตัวก่อนการรักษา ควรรักษาก่อนมีประจำเดือน หรือหลังมีประจำเดือนวันสุดท้ายไปแล้ว 1 สัปดาห์ การรักษา จะรู้สึกอุ่นๆ หรือร้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด ผลการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความหย่อยคล้อยเดิมที่มีอยู่ ควรเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 4-6 สัปดาห์ จะรู้สึกช่องคลอดกระชับขึ้น ทั้งในเยื่อบุและผนังรอบนอก ผลที่เกิดขึ้นทันทีเกิดจากความร้อนของเลเซอร์ ส่วนคอลลาเจนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ และเห็นผลชัดเจนใน 2 สัปดาห์ ทำโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช สอบถามเพิ่มเติม หรือนัดหมาย โทร 039 319888 #ศูนย์สุขภาพสตรี #เลเซอร์กระชับช่องคลอด, #เลเซอร์รักษาปัสสาวะเล็ด

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่ "ซีสต์" มาจากภาษาอังกฤษว่า "cyst" มีความหมายว่า "ถุงน้ำ" ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่า "ซีสต์" เหมือนกันทั้งหมด โดยอวัยวะทุกอวัยวะภายในร่างกายของคนเรามีโอกาสจะเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ไขมัน กระดูก อวัยวะภายใน หรือ แม้กระทั่งสมองก็มีซีสต์เกิดขึ้นได้ ขณะที่ผู้หญิงก็จะมีความพิเศษมากกว่าผู้ชาย ตรงที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง โดยเฉพาะมีรังไข่ที่มีโอกาสเกิดซีสต์ขึ้นได้บ่อยๆ ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ โตแล้วยุบหายไปตามรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการตกไข่ตามปกติ ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่มี 3 ประเภท ฟังค์ชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst) ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อยๆ ยุบตัวไปเอง เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst) เนื้องอกรังไข่ชนิดที่มีของเหลวภายใน ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) หรือ ชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ก็ได้ โดยมากเนื้องอกแต่ละชนิดมักจะมีลักษณะเฉพาะที่พอจะบอกได้ว่าเป็นชนิดใด เช่น Dermoid Cyst (ถุงน้ำเดอร์มอยด์) ซึ่งภายในถุงน้ำมักจะมีน้ำ, ไขมัน เส้นผม กระดูกและฟัน เมื่อเอ็กซเรย์ดูหรือตรวจอัลตราซาวด์ ก็มักจะบอกได้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้ ส่วนเนื้องอกถุงน้ำชนิดที่เป็นมะเร็งบางชนิด จะมีการสร้างสารเคมีที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสูงมาก ๆ ในกระแสเลือดได้ เช่น CA 125 ก็สามารถบ่งบอกล่วงหน้าได้ว่าน่าจะเป็นมะเร็ง ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition) คือถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เมื่อมีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำนี้เรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ สีคล้ายช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) อาการซีสต์รังไข่ที่ควรสังเกต ส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการใด ๆ แต่โดยมากจะมาตรวจพบก็เมื่อคนไข้เข้ามาตรวจสุขภาพประจำปี หรือมาตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีอาการของโรคอื่นๆ แต่หากมีอาการ จะสามารถ สังเกตได้ ดังนี้ มีอาการปวดท้องน้อย และถ้าปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนก็อาจสงสัยว่าจะมีช็อกโกแลตซีสต์ บางรายอาจรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากซีสต์โตพอสมควรและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ บางรายแค่มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อย บางคนไม่มีอาการเลยแต่รู้สึกหรือเข้าใจไปว่ามีหน้าท้องโตเพราะอ้วนก็ได้ บางรายมีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน จากขั้วถุงน้ำรังไข่บิด หรือถุงน้ำรังไข่แตกก็ได้ บางคนอาจมีประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริบกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน ในกรณีร้ายแรงที่ถุงน้ำแตกออกและมีเส้นเลือดฉีกขาดอาจทำให้ตกเลือดในช่องท้องได้ ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายและมีโอกาสทำให้เสียชีวิต ทำให้เห็นได้ว่าโรคนี้แม้ไม่ใช่มะเร็งร้ายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณผู้หญิงควรให้ความสนใจหากมีอาการผิดปกติ ในข้อใดข้อหนึ่งดังที่ได้กล่าว ควรพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา ป้องกันการเกิดซีสต์ ได้หรือไม่ ? สาเหตุถุงน้ำรังไข่ที่ไม่ใช่ Functional Cyst ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดบางชนิดเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า ต้นเหตุของเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่เป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุของท่อนำไข่ ที่มีการกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ หลุดมาติดที่รังไข่ และเติบโตต่อไปเป็นมะเร็งรังไข่ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งถุงน้ำรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้ทำหมัน ดังนั้น เมื่อผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือไม่สามารถมีบุตรได้แล้ว ถ้ามีการรักษาใดๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดในช่องท้อง ก็มักจะตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออกด้วยเลย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ในอนาคตทั้งนี้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ที่ดีที่สุด ควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้ร่างกายของคุณผู้หญิงสร้างฮอร์โมนได้อย่างสมดุล ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เนื้องอกมดลูกมดลูกชนิดไม่ใช่เนื้อร้าย สามารถพบได้ในสตรีวัยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป โดยเนื้องอกแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาในการขยายขนาดที่แตกต่างกัน จึงอาจจะโตช้าหีือเร็วต่างกัน อาการ อาการมักเกิดขึ้นเมื่อก้อนเนื้องอกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมักมีเลือดออกมากหรือกะปริดกะปรอย และมักมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนร่วมด้วย หรือบางรายอาจปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีปัสสาวะบ่อย เจ็บขณะร่วมเพศ หากก้อนโตมาก ๆ อาจคลำเจอก้อนที่ท้องน้อย ภาวะแทรกซ้อน หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอยต่อเนื่องอาจทำให้เกิดภาวะซีดได้ หากมีเนื้องอกที่โตเร็วมากขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงแท้ง หรือคลอดยาก การรักษา หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด แต่กรณีก้อนเนื้อมีขนาดไม่ใหญ่และไม่กระทบชีวิตประจำวัน หรือไม่มีอาการที่ส่งผลแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แพทย์อาจให้ติดตามอาการเป็นระยะโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888