รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง

การรักษามะเร็ง มีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา ส่งผลให้มักมีอาการอักเสบ หรือการสูญเสียเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เพราะถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้า และการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิผลดีเท่าที่ควร อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งจนครบได้

อาหารที่ควรกิน

ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 -2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารที่มีลักษณะ ดังนี้

  • สุก สะอาด มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน) โดยให้เน้นโปรตีนจากพืชและสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย
  • ผัก ผลไม้ ที่ปลอกและล้างสะอาด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารหมักดอง
  • อาหารไม่สด
  • อาหารไม่สะอาด
  • อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน
  • อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก อาหารรมควัน แฮม ของปิ้งย่าง
  • งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบาง หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น องุ่น ชมพู่
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์
  • ห้ามสูบบุหรี่

ทำอย่างไรเมื่อเจอผลข้างเคียงการรักษาที่ทำให้กินไม่ลง

  • เบื่ออาหาร เลือกกินอาหารที่พอกินได้ กลิ่นและรสไม่จัด โดยอาจแบ่งออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อต่อวัน หรือกินขนมเสริมที่กินได้ง่ายๆ เช่น ไอศกรีม ขนมต่างๆ อาหารทางการแพทย์ หรือ นม
  • คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ดร้อน และเลือกกินอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนมปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ควรจิบน้ำสะอาดๆ หรือเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้
  • การรับรสเปลี่ยน กลั้วปากน้ำสะอาด ก่อนกินอาหาร และให้ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว โดยอาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมินต์ไว้ช่วยกระตุ้นการรับรสก็ได้
  • ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก กินอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว กินอาหารเย็น ไม่ร้อนจัดจนเกินไป และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่มีกรด เช่น มะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม นอกจากนี้ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร
  • ท้องเสีย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง งดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น และงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เนย ถั่ว ผักดิบ
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และระวังผักผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก มีรอยช้ำ มีเชื้อรา รวมถึงควรงดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ
  • น้ำหนักลด กินอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลาย ๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากน้ำหนักลดลงมาก อาจต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  • ท้องผูก แนะนำให้กินอาหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง และดื่มน้ำสะอาด 8 -10 แก้วต่อวัน

กินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่

มีหลายคนเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมะเร็งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ

ที่จริงแล้วควรกินเนื้อสัตว์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยในการซ่อมแซมร่างกายระหว่างการรักษา และบำรุงเม็ดเลือดขาวได้

ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางอาหารเพิ่มเติม ไม่กินเนื้อติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล

แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยากกินมังสวิรัติ แนะนำว่า ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นมเพิ่มเติม

จริงไหมกินเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว

การกินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าว มีสาร Phytoestrogen ในปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้

สุดท้ายนี้หากปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหารแล้ว อย่าลืมเช็กน้ำหนักตัวกันด้วย เพราะน้ำหนักตัวที่คงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรามาได้ถูกทางแล้ว! หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้นจึงควรกินอาหารอย่างเพียงพอ หรือกินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดเชื้อ HPV

ติดเชื้อ HPV

ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็งปากมดลูก? เช็กความเสี่ยงและวิธีป้องกัน เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่กว่า 150 สายพันธุ์ สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเอชพีวีคือติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็ง ? เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ HPV ชนิดก่อมะเร็ง :มี 14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้ายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33 HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง : ไม่ได้ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV 6 และ 11 ส่วนใหญ่แล้วหากเรามีร่างกายและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงการได้รับเชื้อ HPV อาจจะหายไปเองในระยะเวลา 2 ปี แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง ก็จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ติดเชื้ออย่างเดียวแต่เลี่ยงบุหรี่ได้ เชื้อจะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี ตรวจหาเชื้อ HPV รู้ก่อนรักษาก่อน ? ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง เป็นการตรวจแบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอ เป็นเทคนิคขั้นสูงแบบ Real-time PCR เป็นการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ความพิเศษของการตรวจนี้คือสามารถตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus Virus) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 14 สายพันธุ์สำคัญที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากถึง 74% ในผู้หญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และ 70% ในผู้หญิงทั่วโลก การตรวจพบได้เร็วจะช่วยให้ทราบความเป็นไปของสุขภาพร่างกายตัวเอง เพื่อวางแผนการดูแลและมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกแพทย์จะติดตามบ่อยครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป เพื่อให้แน่ใจว่าหากตรวจพบเชื้เอ HPV แล้วไม่มีการพัฒนาของโรคเป็นมะเร็ง ติดเชื้อ HPV แล้วต้องทำอย่างไร ? หากสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง เช่น มีตุ่ม เกิดในบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจในแน่ชัด พร้อมวางแผนการรักษา ซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อ HPV ได้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้นแพทย์จะทำการรักษาหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยขึ้นหากคุณหมอวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ HPV ชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือ ตรวจคัดกรองจากเซลล์พบว่ามีรอยโรคระยะก่อนมะเร็งที่ปากมดลูก โดยที่ปากมดลูกมองด้วยตาเปล่ายังไม่เห็นรอยโรค จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการตรวจด้วยกล้องขยายปากมดลูกทางช่องคลอด (Colposcopy) เป็นเครื่องมือที่ให้ภาพขยายของปากมดลูก โดยจะตรวจดูปากมดลูกอย่างละเอียดและเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อบริเวณที่ผิดปกติมาวิเคราะห์ จากนั้นอาจทำการรักษาด้วยวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้การรักษา HPV ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ? ผู้หญิงที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย คลอดบุตรหลายคน มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก ป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก 3 ปี และตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุก 5 ปี หากมีอาการผิดปกติทางนรีเวช ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการตรวจหรือปรึกษากับสูตินรีแพทย์ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี เกณฑ์ในการฉีดวัคซีนจะแบ่งตามช่วงอายุ โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน ได้มากกว่า 90% อายุ 9 – 14 ปี ฉีดจำนวน 2 เข็ม สำหรับอายุ 15 ปี ขึ้นไป ฉีดจำนวน 3 เข็ม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ควรฉีดวัคซีนในช่วงเด็ก หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากได้รับเชื้อมาแล้วจะไม่สามารถป้องกันจากเชื้อนั้นได้เรียกได้ว่า “โรคมะเร็งปากมดลูก” เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงได้ หากต้องการมีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขอนามัย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมถึงสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอและเข้ามามาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายใน และตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในช่วงอายุ 45 ถึง 55 ปี สิ่งที่สตรีทุกคนเริ่มกังวลคือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน หรือ วัยทอง (menopause) หมายถึง การหมดประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากสิ้นสุดการทำงานของรังไข่ เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสตรีทุกคน โดยทั่วไปวินิจฉัยวัยทอง เมื่อมีการขาดประจำเดือนอย่างน้อย 12 เดือน เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายจะลดระดับลงอย่างมาก ร่วมกับปัจจัยด้านอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้สตรีวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ และพบว่ามีอุบัติการณ์และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น 1.อาการ ผลที่เกิดจากรังไข่หยุดทำงานในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดอาการและการเปลี่ยนแปลงในสตรีวัยนี้หลายอย่างได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน หงุดหงิด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ใจสั่น หลงลืม น้ำหนักเพิ่ม ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน หมายถึง ความรู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณส่วนบนของร่างกายเช่น ใบหน้า คอ หน้าอก โดยแต่ละครั้งอาการจะคงอยู่นานไม่เกิน 3-4 นาที แล้วอาการดีขึ้น อาการมักจะเป็นมากเวลากลางคืน อาจมีความรู้สึกร้อนวูบวาบจนกระทั่งมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน อาการร้อนวูบวาบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 20-50 อาการมักจะดีขึ้นหลังจากหมดประจำเดือน 2 ปีขึ้นไป เกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเพศหญิงลงจากเดิมที่เคยมีระดับสูง อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เยื่อบุช่องคลอดและท่อปัสสาวะเป็นเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบต่อการขาดฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง ทำให้มีอาการต่างๆดังนี้ - ช่องคลอดแห้ง มีอาการคัน ระคายเคือง หรือปวดแสบร้อนที่บริเวณอวัยวะเพศและช่องคลอด - ความรู้สึกทางเพศลดลง สารคัดหลั่งลดลงระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ ทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ - ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้บ่อย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง การขาดฮอร์โมนเพศหญิงเป็นปัจจัยเร่งในอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบผิวหนังทั้งการแบ่งเซลล์ช้าลง ความเสื่อมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และคอลลาเจน ทำให้ผิวหนังบาง และขาดความยืดหยุ่น เกิดมีอาการผิวแห้ง คัน แพ้ง่าย และหย่อนคล้อย โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงตีบแข็ง ฮอร์โมนที่ลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันต่างๆในร่างกาย ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงตีบแข็งมากขึ้น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเป็นปัจจัยเร่งในอายุที่มากขึ้น ภาวะกระดูกพรุนเป็นเหมือนภัยเงียบ โดยร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบหลังมีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ภาวะซึมเศร้าและนอนไม่หลับ พบภาวะซึมเศร้าและมีอาการกังวลได้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การสูญเสียความสวยงามทางร่างกาย ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน มีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หรือหลงลืมได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขาดหรือการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมด้วย 2. แนวทางการดูแลสุขภาพ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการที่สัมพันธ์กับภาวะหมดประจำเดือน และ โรคอันเกิดจากความเสื่อมถอยตามอายุ ปัญหาสุขภาพดังกล่าวมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การดูแลสุขภาพของสตรีในวัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สตรีสามารถดำรงคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพให้นานที่สุด โดยใช้หลักการเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอันเกิดจากความเสื่อมถอยตามอายุ 2.1 การตรวจร่างกายและการตรวจสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อคัดกรองโรคที่พบได้บ่อยในวัยหมดประจำเดือน และตรวจหาข้อบ่งชี้/ข้อบ่งห้ามในการที่จะต้องรักษาผลกระทบต่างๆของวัยหมดประจำเดือน ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจเต้านม และตรวจภายใน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจทางห้องปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ตรวจเลือดเพื่อนับเม็ดเลือด, ตรวจน้ำตาลหลังอดอาหารเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน, ตรวจการทำงานของไตและตับ, ตรวจระดับไขมันในเลือด, ตรวจเอกซเรย์ปอด, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจปัสสาวะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจความหนาแน่นของกระดูก (BMD) แนะนำให้ตรวจในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีเป็นต้นไป หรือในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่อายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก รับประทานยาบางชนิดที่ทำให้มวลกระดูกลดลง ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammogram) ตั้งแต่อายุ 40 ปี ทุก 1-2 ปี โดยเฉพาะในรายที่อยู่ในระหว่างให้ฮอร์โมนบำบัด ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก 5 ปี (ขึ้นกับวิธีตรวจ) โดยทั่วไปจะหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อสตรีอายุมากกว่า 65 ปีหรือถูกตัดมดลูกออกไปแล้วร่วมกับมีประวัติการตรวจคัดกรองก่อนหน้าที่เพียงพอและผลปกติ ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ แนะนำตรวจคัดกรองอายุ 45-75 ปี วิธีตรวจมีหลายแบบ ได้แก่ ตรวจเม็ดเลือดแดงในอุจจาระปีละครั้ง หรือตรวจ fecal immunochemical test (FIT test) ปีละครั้ง หรือตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (computerized tomography colonoscopy) ทุก 5 ปี หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก 10 ปี สตรีวัยหมดประจำเดือนควรรับการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี, วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ, วัคซีนป้องกันงูสวัด และวัคซีนป้องกัน covid-19 2.2 อาหาร อาหารเสริม และวิตามิน สตรีวัยหมดประจำเดือนควรงดแอลกอฮอล์รวมทั้งบุหรี่ ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล โดยเปลี่ยนมารับประทานคาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชประเภท whole-grain ผัก และผลไม้ ซึ่งมีเส้นใยอาหารอยู่มาก ลดอาหารไขมันประเภทไขมันทรานส์ เช่น มาการีน ครีมเทียม เนยเทียม เนยขาว ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิเพื่อลดความเสี่ยงของโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด สตรีที่มีอาการร้อนวูบวาบรุนแรง ควรลดอาหารที่มีเครื่องเทศเผ็ดร้อนและคาเฟอีน แคลเซียม (calcium) เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก โดยพบว่า ร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายสะสมในกระดูก มีเพียงร้อยละ 1 ของแคลเซียมในร่างกายถูกนำไปใช้ในการทำงานในกระบวนการต่างๆของร่างกาย หากระดับแคลเซียมในส่วนนี้ลดลง จะกระตุ้นการสลายแคลเซียมจากกระดูกเพื่อนำมาใช้งานดังกล่าว จึงจำเป็นต้องรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ โดยปริมาณธาตุแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งได้มาจากนม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต ปลาที่กินพร้อมกระดูกได้ ผักใบเขียว เช่น คะน้า บลอกโคลี ใบชะพลู ผักกะเฉด เต้าหู้ ถั่วขาว ข้าวโอ๊ต น้ำส้ม งา วิตามินดี (vitamin D) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อการควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากลำไส้เล็ก และเพิ่มการดูดกลับแคลเซียมทางท่อไต วิตามินดีแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ วิตามินดี 2 พบได้เฉพาะในพืชและยีสต์ และวิตามินดี 3 พบได้เฉพาะในสัตว์ สามารถสังเคราะห์ได้ที่เซลล์ผิวหนังของมนุษย์ ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายได้รับร้อยละ 80-90 มาจากการสังเคราะห์ที่เซลล์ผิวหนัง และส่วนน้อยได้มาจากอาหาร แมกนีเซียม (magnesium) เป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย ร้อยละ 50 ของแมกนีเซียมในร่างกายสะสมอยู่ที่กระดูก ในผู้ใหญ่ควรจะต้องได้รับแมกนีเซียมวันละ 600 มิลลิกรัม จึงจะสามารถรักษาระดับแมกนีเซียมในกระดูให้คงที่ได้ ผู้ที่ขาดแมกนีเซียมจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมเพียงพอ วิตามินอี (vitamin E) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ และช่วยลดระดับไขมันในเลือด การรับประทานวิตามินอีวันละ 100-400 ยูนิตสากล เป็นเวลานานสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับประทานวันละ 400-1,200 ยูนิตสากล อาจจะลดอาการร้อนวูบวาบเหงื่อออกมาก ใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่ามีการทำการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก สมุนไพรตัวนี้มีการใช้ในประเทศจีนมาราว 5,000 ปี ประเทศในแถบตะวันตกเพิ่งจะมีการนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2523 พบว่ามีผลดีต่อระบบประสาทคือโดยทำให้มีเลือดมาเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น ยับยั้ง ช่วยทำให้มีความจำดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความจำเสื่อม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าอีกด้วย 2.3 กิจกรรมและการออกกำลังกายในสตรีวัยหมดประจำเดือน กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำงานบ้าน เลี้ยงสัตว์ รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ทำครัว ฯลฯ ล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจ โดยทางกายจะได้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อไม่ยึดติด และกระดูกไม่บางลง ส่วนทางใจจะได้ความเพลิดเพลินกับกิจกรรม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ใจสบาย มีความสุข แม้ว่าการทำกิจกรรมต่างๆจะได้ประโยชน์ไม่มากเท่ากับการออกกำลังกาย แต่ก็ดีกว่าการนั่งๆนอนๆ การคงมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและภาวะกระดูกหัก เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง ผู้สูงอายุควรมีการทำกิจกรรมระดับปานกลางนานอย่างน้อยวันละ 30 นาทีในเกือบทุกวัน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีการลดลงของจำนวนและความแข็งแรงกล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกหักเพิ่มมากขึ้น การแนะนำท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันมีหลักการคือ รักษาความโค้งเว้าตามปกติของแกนกระดูกสันหลังในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง ท่าก้ม รวมถึงท่าทางในการยกสิ่งของหรือการเอื้อมหยิบของในที่สูง ท่ายืนหรือเดิน ควรอยู่ในท่าหลังตรง เก็บคาง ไม่ยืนห่อไหล่สองข้าง ท่านี้นอกจากดูดีแล้ว ยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่าและไหล่ ท่าที่ไม่เหมาะสมคือ การยืนในท่าโค้งมาหน้า เนื่องจากเพิ่มแรงกดทางด้านหน้าต่อกระดูกสันหลัง และเป็นเหตุให้เกิดการยุบตัวของกระดูกหลังง่ายขึ้น ท่านั่ง ควรนั่งในท่าหลังตรง นั่งพิงพนัก เท้าไม่ลอยจากพื้น ไม่นั่งเอนหรือโน้มตัวมาด้านหน้า ให้มีการขยับปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ้างเป็นพักๆ แต่ยังคงรักษาแนวโค้งเว้าของหลังไว้ตลอดเวลา ท่านอน ควรนอนในท่านอนหงาย มีหมอนรองใต้ข้อเข่าเพื่อให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอเล็กน้อย หรือนอนตะแคงมือกอดหมอนข้าง งอข้อเข่าและข้อสะโพกเล็กน้อย ท่านอนทั้งสองท่านี้จะช่วยรักษาแนวกระดูกสันหลังได้ดี นอกจากนี้ควรเลือกที่นอนที่แน่น ไม่ยวบ ไม่ทำให้ตัวจมลง ที่นอนที่นิ่มเกินไปจะทำให้แนวกระดูกหลังโค้งงอ ทำให้ปวดหลัง การก้มยกของที่มีน้ำหนัก ควรอยู่ในท่าย่อเข่าและหลังตรง การยกในท่าที่ถูกต้องจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อขาช่วยยกและรักษากระดูกหลังไว้ อีกทั้งลดความเสี่ยงที่จะเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อน การหิ้วของ ควรแบ่งน้ำหนักสองข้างพอๆกัน มิฉะนั้นแนวกระดูกหลังจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป และกล้ามเนื้อเสียสมดุล ทำให้เกิดอาการปวดได้ง่าย การเอื้อมหยิบของจากที่สูง ควรมีม้าเตี้ยรองเพื่อลดการแอ่นของหลังที่มากไป การออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ และเสริมสร้างมวลกระดูก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุน้อยส่งผลดีมากกว่าเริ่มออกกำลังเมื่ออายุมาก อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายในสตรีวัยหมดประจำเดือนก็ยังสามารถเพิ่มความคล่องตัวโดยรวม และลดการสลายกระดูก นอกจากประโยชน์โดยตรงต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว การออกกำลังกายยังมีผลดีต่อการทำงานของหัวใจและปอด กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย และสมดุลของสารสื่อประสาทต่างๆในสมอง ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพหลายประการของสตรีวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงหรือความรุนแรงที่ลดลง ได้แก่ ภาวะกระดูกหักที่สัมพันธ์กับความเปราะบางของกระดูก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และอาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือน การออกกำลังกายมีอยู่หลายประเภท ประเภทที่เหมาะกับสตรีวัยหมดประจำเดือนมีดังนี้ 1.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นการบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวข้อทุกข้อสามารถกระทำได้ในทุกทิศทาง เป็นสิ่งสำคัญในการคงท่าทางที่เหมาะสมและทำให้เกิดความกระฉับกระเฉงและคล่องตัวในกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังประเภทนี้เช่นการเล่นโยคะและรำมวยจีน 2.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยสตรีวัยหมดประจำเดือนเน้นที่กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญต่อการทรงตัว กล้ามเนื้อขามีส่วนสำคัญในการยืนหรือเดิน กล้ามเนื้อขาที่อ่อนแรงทำให้การยืนหรือเดินไม่มีประสิทธิภาพและยังเป็นสาเหตุของการหกล้ม ส่วนกล้ามเนื้อหลังมีความสำคัญเนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นกระดูกที่มีภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักได้บ่อย การบริหารกล้ามเนื้อหลังสามารถลดการเกิดกระดูกสันหลังส่วนนอกยุบและลดอัตราหลังค่อมในผู้ที่มีกระดูกพรุนหรือในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายประเภทนี้เป็นการออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักเป็นแรงต้าน โดยใช้น้ำหนักของตัวเองหรือน้ำหนักตัวเองร่วมกับแรงต้านภายนอก เช่น การสควอท หรือการใช้เครื่องเล่นเวทต่างๆ 3.การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก สามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูก ตัวอย่างการออกกำลังกายประเภทนี้ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน เป็นต้น แนะนำให้มีระยะเวลาและความถี่เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคทั่วไป การออกกำลังกายประเภทนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อกระดูกแล้วยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เกิดความสบายและคลายเครียดได้ การป้องกันการหกล้ม เนื่องจากการหกล้มในวัยหมดประจำเดือน มีความเสี่ยงต่อการกระดูกหัก พบว่าบางรายไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง ต้องมีคนดูแลตลอดเวลา การป้องการหกล้มได้แก่ การปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย, การดูแลสายตา, การออกกำลังกายเพื่อสร้างสมดุลร่างกาย การปรับยาที่ส่งผลต่อการทรงตัว เช่น ยานอนหลับ 3. การรักษา ในปัจจุบันไม่แนะนำการใช้ฮอร์โมนบำบัดในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ไม่มีอาการ หรือให้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือภาวะสมองเสื่อม การใช้ฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับการพิจารณาจากแพทย์โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมสำหรับสตรีแต่ละบุคคล จากอาการที่พบ อายุ ระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน โรคประจำตัว ข้อบ่งชี้และข้อบ่งห้ามของฮอร์โมนบำบัด เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเกิดโทษน้อยที่สุด ข้อบ่งชี้ในการให้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบ ที่มีอาการระดับปานกลางขึ้นไป เพื่อรักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีวัยหมดประจำเดือน เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักระดับสูงขึ้นไป เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำก่อนกำหนด ได้แก่ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ, รังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด หรือถูกตัดรังไข่สองข้างก่อนวัยหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ข้อบ่งห้ามในการให้ฮอร์โมนบำบัด เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมที่ให้ผลบวกต่อตัวรับเอสโตรเจนหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มีประวัติเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด หรือกำลังเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด โรคตับเรื้อรัง โรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี บทสรุป การหมดประจำเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายไม่ใช่ “โรค” ไม่มีความจำเป็นต้องมีการรักษาในสตรีวัยหมดประจำเดือนทุกราย การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและปรับตัวในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสม จะช่วยป้องกันหรือชะลอปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้มีอายุขัยยืนยาว และ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อมูลโดย แพทย์หญิงน้ำมณี มณีนิล

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด ในช่องคลอดของสตรีจะมีเชื้อแบคทีเรียที่คอยปกป้องช่องคลอดจากเชื้อราที่เป็นอันตราย โดยจะสร้างกรดมาควบคุมไม่ให้เชื้อราเจริญได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่ช่องคลอดมีภาวะไม่สมดุล หรือมีปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียเหล่านี้ถูกทำลาย ช่องคลอดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อนี้และมีอาการแสดงขึ้น เช่น คนในช่องคลอด หรือรอบ ๆ ปากช่องคลอด มีตกขาวคล้ายแป้งเปียกหรือคราบนม อาจมีความรู้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีผื่นแดงที่ช่องคลอดหรือขาหนีบ การรักษา เมื่อเเพทย์ตรวจจนได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อราที่ช่องคลอด แพทย์มักจะพิจารณารักาาด้วยยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม การป้องกัน ดูแลจุดซ่อนเล้นให้สะอาด ไม่อับชื้น สวมกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้น ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด กรณีมีความจำเป็นควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลทำลายแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง? ช็อกโกแลตซีสต์ ความผิดปกติที่ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงและไม่ได้เกิดได้แค่รังไข่อย่างเดียวเท่านั้น มดลูกมีเยื่อบุโพรงมดลูกที่บุภายใน ทำหน้าที่สร้างประจำเดือน ซึ่งสามารถหลุดร่อนได้ ดังนั้นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จึงหมายถึง ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงอาจไปเติบโตตามอวัยวะต่างๆ ทั้งเยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่ การทำหน้าที่ของเยื่อบุโพรงมดลูกในการสร้างประจำเดือนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เลือดสีแดงคล้ำหรือข้นคล้ายช็อกโกแลตไปปรากฏในอวัยวะต่างๆ บริเวณที่มักพบเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่ หรือที่เรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกและประจำเดือนไหลย้อนกลับไปสะสมในรังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต ซึ่งถุงน้ำจะใหญ่ขึ้นๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน จะใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อยๆ กล้ามเนื้อมดลูก เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้เกิดพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคที่เกิดจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ซึ่งมี 2 แบบคือ ชนิดที่อยู่เฉพาะที่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกและชนิดที่กระจายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกทั่วไป สาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ส่วนใหญ่เกิดจากการไหลย้อนกลับของประจำเดือนเข้าไปในอุ้งเชิงกรานผ่านท่อนำไข่และฝังตัวในโพรงมดลูกหรือฝังตามอวัยวะต่างๆ บริเวณที่พบบ่อยคืออุ้งเชิงกราน รังไข่ ท่อนำไข่ ผนังอุ้งเชิงกราน ผิวมดลูก ปากมดลูก นอกจากนี้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อาทิ ผนังลำไส้ เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ผู้หญิงหลายคนที่อยากมีบุตรแล้วตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ยังคงสามารถตั้งครรภ์ได้ตามวิธีธรรมชาติ และอาการของช็อกโกแลตซีสต์จะดีขึ้นด้วย เนื่องจากในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศจะลดลงช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์ รวมถึงหลังคลอดบุตร 3-6 เดือน ทำให้ไม่มีประจำเดือน ถุงน้ำช็อกโกแลตซีสต์ไม่ถูกเติมด้วยประจำเดือน ค่อยๆ ฝ่อหายไปเองได้ แต่อย่างไรก็ตามช็อกโกแลตซีสต์ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนและปัจจัยต่างๆ ทั้งนี้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน หากมารดาเคยเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่บุตรสาวจะเป็นโรคเดียวกันได้ 3-7 เท่า เพราะฉะนั้นควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอทุกปีและหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบสูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว วิธีการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน ประกอบด้วย การใช้ยา ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดประจำเดือนและปวดท้องน้อย ฮอร์โมนบำบัด มีทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และห่วงฮอร์โมนที่ใส่ในโพรงมดลูก เพื่อลดการมีเลือดประจำเดือนมากหรือปวดประจำเดือน ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์หากใช้ยาในการรักษา ผ่าตัด โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) ช่วยให้เจ็บน้อย แผลเล็ก โอกาสเกิดพังผืดหลังผ่าตัดลดลง และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้องแบบแผลเล็กกว่าหรือเท่ากับ 6 เซนติเมตร (Minilaparotomy Myomectomy) และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้อง (Abdominal Myomectomy) ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen) ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent) ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้ ทั้งการกินในรูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และ การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง วางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ? ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้ ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่ ทั้งนี้ควรศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิก สุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ที่สำคัญควรตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย ที่สำคัญควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ