ท้องเสีย (Diarrhea / Gastroenteritis)

ท้องเสีย (Diarrhea / Gastroenteritis)

ท้องเสีย หรือที่หลายท่านเรียก ท้องร่วง ท้องเดิน นั้น หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวมากกว่าวัลละ 3 ครั้ง แต่หากมีมูกหรือมีมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าเป็นท้องเสีย

ท้องเสียมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้

  1. การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

  2. สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร

  3. สารเคมี เช่น สารตะกั่ว สารหนู ไนเทรต ยาฆ่าแมลง

  4. ยา เช่น ยาถ่าย , แอมพิซิลิน , เตตราซัยคลีน พีเอเอส

  5. พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ , กลอย

ภาวะแทรกซ้อนสำคัญเมื่อท้องเสีย

ภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อก , ภาวะเลือดเป็นกรด , ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ , ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ เป็นอันตรายถึงตายได้

การรักษา

  1. ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว น้ำหวาน

  2. ให้น้ำเกลือ เพื่อเพิ่มสารน้ำในร่างกาย ป้องกันภาวะขาดสารน้ำ

  3. ให้ยารักษาอาการท้องเสีย ซึ่งจะใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากอาจเกิดโทษได้ จึงจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการให้ยาเท่านั้น

  4. ให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ

การป้องกัน

  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

  • รับประทานอาหารสุก สะอาด และดื่มน้ำที่สะอาดเสมอ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 ระยะ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”ระยะไหนหายขาดได้

4 ระยะ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”ระยะไหนหายขาดได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถควบคุมได้ กลายเป็นก้อนหรือเนื้องอก ระยะแรกอาจเป็นเพียงแค่ติ่งเนื้องอกเล็ก ๆ เรียกว่าโพลิป (Polyp) แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาหรือตัดทิ้ง อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ที่สามารถลุกลามทะลุผนังลำไส้จนแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อีกทั้งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมส่งต่อของยีนต์มะเร็ง และพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต กลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงคือชอบกินอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม อาหารแปรรูป ไขมันสูง ไม่ชอบกินผัก ผลไม้ที่มีไฟเบอร์ หรือแม้กระทั้งการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ปล่อยให้ตัวเองท้องผูกบ่อยครั้งก็จัดก็นับเป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักไม่มีอาการแต่หากมีอาการ 8 ข้อต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะหลังแล้วแม้อายุจะยังไม่ถึง 50 ปีก็ตาม อาการนำ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะแรกมักไม่มีอาการมักตรวจพบโดยบังเอิญ ท้องผูกสลับท้องเสีย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรืออาจมีอาการท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือดสด หรือมี เลือดปนมากับอุจจาระ อุจจาระสีดำ หรือสีดำแดง อุจจาระลำเล็กลง ถ่ายไม่สุด ปวดลงทวาร อ่อนเพลียจากภาวะโลหิตจาง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย หรือคลำได้ก้อนบริเวณหน้าท้อง มะเร็งลำไส้ แบ่งได้เป็น 5 ระยะ ระยะที่ 0 เซลล์มะเร็งที่เป็นเพียงติ่งเนื้อ ตรวจพบได้จากการส่องกล้อง (Colonoscopy) และสามารถตัดออกขณะส่องได้ทันที ตั้งแต่ก่อนการเป็นมะเร็งหรือเกือบเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้มีโอกาสหายขาดถึง 100% ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งระยะเติบโตขึ้น และยังอยู่ในผนังลำไส้ เริ่มฝังในชั้นผนังของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยยังไม่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงหรือต่อมน้ำเหลือง ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ Curative resection เป็นการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ นำส่วนที่ดีมาต่อกัน ทั้งยังเป็นเทคนิคที่ใช้ผ่าตัดในมะเร็งทวารหนักร่วมด้วยได้ ระยะที่ 2 เกิดการลุกลามออกนอกผนังลำไส้ใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง แต่ยังไม่กระจายถึงต่อมน้ำเหลือง สามารถใช้การผ่าตัดแบบหวังหาย (Curative resection) เป็นการรักษาหลักเช่นเดียวกับระยะที่ 1 ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่น รักษาโดยการผ่าตัดแบบหวังหาย (Curative resection) ร่วมกับเคมีบำบัดหลังผ่าตัด ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ, ปอด หากก้อนมะเร็งที่ลุกลามไปที่ตับหรือปอดสามารถตัดออกได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักออก พร้อมผ่าตัดมะเร็งที่ลุกลามออกด้วย แล้วให้ยาเคมีบำบัดต่อไป การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การซักประวัติ การตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจทางทวารหนัก การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก ทั้งนี้ เมื่อพบความผิดปกติ จะทำการตรวจอย่างละเอียดโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ซึ่งเป็นการส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด รวมถึงสามารถตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุด ผู้ป่วยที่รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ทั้งจุดเดิมของโรคและบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนอื่นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องใส่ใจรับการตรวจติดตามโรคเป็นระยะๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งหลังการรักษานั้น แพทย์จะมีการติดตามผลเป็นระยะ โดยในช่วง 2 ปีแรก แพทย์จะนัดติดตามอาการทุก 3 - 6 เดือน และในช่วง 3-5 ปีหลัง แพทย์จะนัดติดตามอาการทุก 6 เดือน ในการนัดแต่ละครั้งแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย นอกจากนั้น การจำกัดการบริโภคเนื้อแดง และอาหารไขมันสูง เพิ่มเกราะป้องกันให้ตัวเองโดยการบริโภค ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ป่วยควรลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

5 เทคนิคลดความเสี่ยง "มะเร็งลำไส้" ตามงานวิจัย

5 เทคนิคลดความเสี่ยง "มะเร็งลำไส้" ตามงานวิจัย

5 เทคนิคลดความเสี่ยง "มะเร็งลำไส้" ตามงานวิจัย เพิ่มความสมดุลร่างกาย มะเร็งลำไส้ ถูกคาดการณ์ว่าเกิดจากพฤติกรรมการกินแบบผิด ๆ วันนี้เราพามารู้จักเทคนิคกินแบบไหนให้ห่างไกลมะเร็ง! มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งร้ายที่พบได้เป็นอันดับต้นๆ ในไทย เชื่อกันว่ามีปัจจัยหลักๆ ของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน อาทิ ชอบกินอาหารปิ้งๆย่างๆไหม้เกรียม อาหารไขมันสูงแปรรูป โซเดียมสูง การไม่ชอบทานผักผลไม้ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด ซึ่งมีอาหารและวิธีการกินบางอย่างที่ทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้ 5 เทคนิคการกินช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ เน้นไฟเบอร์สูง แน่นอนว่า ไฟเบอร์หรือใยอาหาร ขึ้นชื่อเรื่องมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า..การทานใยอาหารเพิ่มขึ้น 10 กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยอาหารไฟเบอร์สูงที่ควรทาน ได้แก่ ธัญพืช ผักตระกูลกะหล่ำ หรือผักโขม เป็นต้น เพิ่มแคลเซียมในแต่ละวัน มีการศึกษาเปรียบเทียบการทานแคลเซียมจากนมในแต่ละวัน โดยพบว่ากลุ่มที่ทานแคลเซียมจากนมสูงที่สุด สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 20 %เลยทีเดียว เลือกทานปลาแทนเนื้อแดง ไขมันสูงจากเนื้อแดงจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่สำหรับมะเร็งลำไส้ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจน อาจเกิดจากปัจจัยอื่นร่วม เช่น วิธีการปรุงที่มักใช้อุณหภูมิสูง แต่เพื่อลดความเสี่ยงควรหันมาทานไขมัน omega-3 จากเนื้อปลาแทนจะดีกว่า อีกทั้งปลายังไขมันต่ำช่วยในการลดน้ำหนักได้ดีอีกด้วย ทานอาหารอุดมด้วยแมกนีเซียม มีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแมกนีเซียมกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมีรายงานชิ้นหนึ่งกล่าวว่า การทานแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น 100 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ถึงร้อยละ 12 ซึ่งเท่ากับการทานปลา 4 ออนซ์ ถั่วลิสง 2 ออนซ์ หรือผักโขมปรุงสุกประมาณ 1/2 ถ้วย ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ จากการวิจัยชี้ชัดได้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน และผู้หญิงไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตามควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง และหากมีสัญญาณเตือนอย่างเช่นท้องสียท้องผูกบ่อยจนเป็นเรื่องปกติ น้ำหนักลดลงแม้กินอาหารเยอะขึ้นหรือเท่าเดิม ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพราะถ้าหากพบโรคหรือรอยโรคเร็วก็มีโอกาสหายขาดได้อย่างแน่นอนค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปิ้งย่าง เสี่ยงมะเร็งลำไส้-มะเร็งกระเพาะอาหาร

ปิ้งย่าง เสี่ยงมะเร็งลำไส้-มะเร็งกระเพาะอาหาร

ปิ้งย่าง เสี่ยงมะเร็งลำไส้-มะเร็งกระเพาะอาหาร ปิ้งย่าง อาหารสุดแสนอร่อยมื้อพิเศษที่หลายคนกิน 6 วันต่อสัปดาห์ เพราะความลงตัวของเนื้อ ผักและเครื่องเคียง แต่รู้หรือไม่ ขณะที่กินปิ้งย่าง คุณเองก็กำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นกัน โดยเฉพาะ“มะเร็งทางเดินอาหาร” อย่าง มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แล้วปัจจัยนี้มีผลต่อความเสี่ยงโรคมะเร็งได้อย่างไร? อาหารสัมผัสความร้อนยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงมะเร็ง มีการศึกษาพบว่าอาหารที่ถูกปรุงสุกโดยให้ความร้อนสัมผัสโดยตรงกับอาหาร ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่า PAH ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นเมื่อไขมันในเนื้อสัตว์หยดลงไปโดนถ่านมันในเนื้อสัตว์หยดลงไปโดนถ่าน แล้วเกิดควันที่เป็นสารก่อมะเร็งลอยกลับมาเกาะอยู่บนเนื้อสัตว์ หากทานเข้าไปมากๆ หรือทานบ่อยๆ ก็จะสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสารชนิดนี้คือสารชนิดเดียวกันกับที่พบในควันท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันบุหรี่ นั่นเอง เนื้อวัว เนื้อหมู ไขมันยิ่งสูง ก็ยิ่งเสี่ยง เชื่อว่าหลายคนมีเป้าหมายหลักในการไปกินปิ้งย่างนั้น ก็คือ เนื้อหมู เนื้อวัวสไลด์ แบบไขมันฉ่ำละลายในปาก หรือแม้แต่มันหมูที่ถูกประกบด้วยหนังหมูย่างกรุบกรอบ ความอร่อยจนยากจะห้ามใจเหล่านี้นี่แหละที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคมะเร็ง เนื่องจากไขมันในสัตว์เนื้อแดงจะเป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการก่อตัวของมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ รสชาติเข้มข้น ที่มาของ“โซเดียมสูง” เนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมักด้วยเครื่องปรุงมาอย่างเข้มข้นถึงรสชาติ นอกจากความอร่อยแล้ว...ก็คงหนีไม่พ้นปริมาณโซเดียมที่ค่อนข้างสูง โดยอาจมาจากซอสปรุงรส หรือผงชูรส รวมไปถึง “น้ำจิ้ม” ที่เรียกได้ว่ามีโซเดียมสูงไม่แพ้กัน ซึ่งปริมาณโซเดียมที่สะสมอยู่ในร่างกายไม่เพียงแค่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตอย่างที่หลายคนรู้กันดี แต่ยังเสี่ยงโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้เหมือนกัน กินปลา(ย่าง)...ก็เจอสารก่อมะเร็งได้ ถึงการกินเนื้อแดงที่มีไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงมะเร็ง ก็ไม่ได้หมายความว่าการกินปลาทะเลย่างจะไม่เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง เพราะในปลาทะเลย่าง หรือปลาหมึกย่าง จะมีสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า “สารไนโตรซามีน” แฝงตัวอยู่ รวมไปถึง “เบคอน” เมนูสุดโปรดของใครหลายคน หรือแฮม ไส้กรอก อาหารเหล่านี้ล้วนมีสารก่อมะเร็ง ที่มีชื่อว่า สารไนเตรต เจือปนอยู่ด้วย “การกิน” จะเป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่หากกินแบบให้โทษต่อร่างกายก็อาจนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานในอนาคต ทางที่ดี! ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินอาหารปิ้งย่างบ่อยครั้งเกินไป และปรับวิธีการกินเพื่อลดความเสี่ยง เช่น เลือกใช้เตาแบบไร้ควันแทน ทานผักควบคู่กับเนื้อสัตว์ ตัดส่วนที่เป็นไขมันสัตว์ออกไป รวมไปถึงการเลือกร้านที่สะอาดถูกสุขอนามัย กินผักให้มากกว่าเนื้อสัตว์ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกันค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

กระเพาะอักเสบ (Gastritis)

กระเพาะอักเสบ (Gastritis)

กระเพาะอักเสบ (Gastritis) กระเพาะอักเสบ หมายถึงการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง กระเพาะอักเสบเฉียบพลัน (Acute gastritis) มักมีอาการเกิดขึ้นรวดเร็วและหายได้รวดเร็ว สาเหตุมีได้หลายอย่าง เช่น การกินยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด หรือเกิดจากพิษของเชื้อโรค๖อาหารเป็นพิษ) โรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด ตับอักเสบ) หรือแพ้ยาแพ้อาหาร เป็นต้น โรคนี้เกิดในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ใช้ยาแอสไพริน หรือยาชุดแก้ปวดข้อปวดหลังเป็นประจำ ส่วนมากจะไม่มีอาการรุนแรง ส่วนน้อยที่อาจมีเลือกออกในกระเพาะ (อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ) ซึ่งอาจรุนแรงจนช็อกได้ กระเพาะอักเสบเรื้อรัง (Chronic gastritis) มักมีอาการเรื้อรัง สาเหตุมีได้หลายอย่าง เช่น เกิดจากการดื่มสุรา การรับประทานยาแก้ปวด แอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อ หรือเกิดจากน้ำดีขย้อนจากลำไส้เล็กเข้าไปในกระเพาะอาหาร เป็นต้น บางรายเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม หรือความเครียดทางจิตใจ บางรายอาจมีความสัมพันธ์กับมะเร็งของกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในรายที่เป็นกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังชนิดที่เยื่อบุกระเพาะมีลักษณะบางลง (Atrophic gastritis) ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยชนิดนี้อาจทำให้เกิดมะเร็งของกระเพาะอาหารตามมาภายหลังได้ อาการ กระเพาะอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เสียดแน่นตรงลิ้นปี่ บางรายอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน เป็นไข้ ปวดศีรษะคล้ายอาหารเป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดจากพิษของเชื้อโรค ในรายที่เป็นรุนแรง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสุราหรือยาแก้ปวด) อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสดหรือสีดำออกมากจนซีด หรือช็อก (เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันตก) ในเวลารวดเร็ว กระเพาะอักเสบเรื้อรัง ส่วนมากจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ในรายที่มีอาการปรากฏ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เสียดแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว หรือมีอาการปวดแสบท้องเวลาหิวหรืออิ่มจัด คล้ายอาการของโรคกระเพาะ บางรายอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำและอาจมีอาการซีดร่วมด้วย การรักษา กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน ถ้าอาการไม่รุนแรง ให้งดน้ำงดอาหารจนอาการดีขึ้น ระหว่างนี้อาจให้น้ำเกลือ เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานอหารพวกน้ำ ๆ ก่อนแล้วค่อยให้อาหารเหลวที่ย่อยง่าย แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดกรด ยากล่อมประสาท และยาตามอาการ เช่น ยาแก้อาเจียน ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ควรงดสุรา และยาแก้ปวด ส่วนมากมักจะหายได้ภายใน 1-7 วัน ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือช็อก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ควรให้น้ำเกลือไประหว่างทางด้วย อาจต้องให้เลือดและทำการล้างกระเพาะด้วยน้ำเย็น โดยใส่ท่อผ่านทางจมูกเข้าไปในกระเพาะ ในรายที่เป็นรุนแรง เลือดออกไม่หยุด อาจต้องผ่าตัด กระเพาะอักเสบเรื้อรัง ให้ยาลดกรด ยากล่อมประสาท แนะนำงดสุรา ยาแก้ปวด แอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ บุหรี่ กาแฟ อาหารรสจัด หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว แพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณาให้เลือด หากพบในอายุน้อยกว่า 50 ปี หรือมีอาการน้ำหนักลด ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลอาจต้องเอ็กซเรย์ ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ (Endoscope) ตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยสาเหตุให้แน่ชัด ถ้ากระเพาะอักเสบเรื้อรัง ก็ให้การรักษาตามอาการ ข้อแนะนำ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการดืมสุรา หลีกเลี่ยงรับประทานยาแอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อเป็นประจำ (หากต้องใช้ยาเหล่านี้ จำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์) กระเพาะอักเสบเรื้อรังอาจมีอาการคล้ายโรคกระเพาะจนแยกจากลักษณะอาการไม่ได้ อาจต้องวินิจฉัยจากเอ็กซเรย์ (กลืนแป้งแบเรียม) หรือไม่ส่องกล้องตรวจกระเพาะลำไส้ โรคกระเพาะจะต้องตรวจพบแผล ถ้าไม่พบมักจะเป็นกระเพาะอักเสบเรื้อรัง ในรายที่กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การกินยาอาจเพียงช่วยบรรเทาอาการได้ชั่วคราวไม่หายขาด ควรแนะนำให้ออกกำลังกาย (เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน) เป็นประจำ และหาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

“มะเร็งลำไส้” ทำไมชายวัย 50+ ควรคัดกรอง

“มะเร็งลำไส้” ทำไมชายวัย 50+ ควรคัดกรอง

“มะเร็งลำไส้” ชายวัย 50+ ควรคัดกรอง-ปัจจัยอะไรทำให้ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น เพราะผู้ชายตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่อายุน้อย จึงไม่ควรมองข้ามการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ภัยร้ายที่มาจากพฤติกรรม มะเร็งลำไส้ คือ ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ มักเกิดขึ้นจากติ่งเนื้อที่อยู่ที่ลำไส้ใหญ่มาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งหากติ่งเนื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด เพราะสาเหตุสำคัญของโรคนี้ มักสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิด ๆ อาทิ การเลือกกินอาหารที่ปิ้งย่างที่มักมีสารก่อมะเร็ง การกินอาหารแปรรูปบางอย่างมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง และเมื่อมีปัญหาระบบขับถ่ายแต่ไม่ยอมไปพบแพทย์เพื่อรักษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อาทิ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะเพศชายเนื่องจาก เป็นช่วงวัยที่ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลง กว่าที่อาหารที่เข้าไปจะผ่านระบบย่อย และเดินทางมาถึงทวารหนักก็ต้องใช้เวลามากกว่าคนในวัยอื่นๆ พันธุกรรม การเลือกทานอาหารประเภทไขมันสูง ไม่มีใยอาหาร หรือทานผักผลไม้น้อย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เป็นประจำ การไม่ออกกำลังกาย และมีภาวะโรคอ้วน พฤติกรรมการขับถ่ายและอาการผิดปกติที่ไม่ควรปล่อยผ่าน ขับถ่ายบ่อยครั้งขึ้น หรือท้องผูกมากขึ้น ขับถ่ายไม่สุด หรือปวดเบ่ง ท้องเสียสลับกับท้องผูก มีเลือดสดๆ หรือเลือดแดงคลํ้าปนออกมากับอุจจาระ อุจจาระมีลักษณะก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นลีบแบน มีท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด มีลมในลำไส้มาก นํ้าหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย จนกระทบต่อการใช้ชีวิต ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธี โดยวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัดที่สุด คือ “การตรวจเลือดที่มองไม่เห็นในอุจจาระ” หรือที่เรียกว่า “Fecal Occult Blood Test” ซึ่งสามารถทำได้โดย การเก็บตัวอย่างของอุจจาระไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากเป็นผลบวก แสดงว่าอาจมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระ ซึ่งควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ร่วมกับเทคนิคการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา เช่น การสวนแป้ง และการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Visual Colonoscopy) อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจคัดกรองที่เป็นที่ยอมรับที่สุดในปัจจุบัน คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้นอกจากจะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำที่สุดแล้ว ยังสามารถทำการรักษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย กระบวนการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวนก้อนมะเร็ง และระยะของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เช่น การผ่าตัด การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การฉายรังสี (radiotherapy) ซึ่งการผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญที่สุด ส่วนการฉายแสงหรือการฉายรังสี มักจะรักษากับคนไข้ที่เป็นก้อนมะเร็งที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะผ่าตัดได้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาทีขึ้นไป เลือกทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยในขับถ่าย ดื่มน้ำให้มาก และอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือทานอาหารมากเกินไป งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ไม่ใช่แค่วัย 50+ ขึ้นที่ต้องใส่ใจเรื่องดังกล่าว หากอายุน้อยแต่มีพฤติกรรมเสี่ยงและมีอาการต้องสงสัยควรเข้ารับการคัดกรองด้วย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย โอกาสในการรักษาหายก็จะลดน้อยลง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ท้องผูกเป็นปกติ 1ใน 5 สัญญาณเสี่ยง“มะเร็งลำไส้”

ท้องผูกเป็นปกติ 1ใน 5 สัญญาณเสี่ยง“มะเร็งลำไส้”

ท้องผูกเป็นปกติ 1ใน 5 สัญญาณเสี่ยง“มะเร็งลำไส้”ที่ไม่ควรมองข้าม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตอันดับ 3 ภัยเงียบที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันซึ่งสัญญาณของโรคมักเป็นอาการเล็กๆน้อยๆ จนผู้ป่วยส่วยใหญ่ไม่ทันได้สังเกตรู้ตัวอีกทีก็ป่วยโรคร้ายซะแล้ว แต่หากลองลองสังเกตดีๆ จะมีสัญญาณเตือนส่งมาเป็นระยะ อะไรคือสัญญาณเตือนที่พึงระวังมะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ แน่นอนว่าเหมือนมะเร็งทุกชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่เกิดจากเป็นความผิดปกติของเซลล์ ที่ก่อตัวเป็นมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ มีความยาวเฉลี่ย 150 - 180 เซนติเมตร เกิดได้ตั้งแต่ส่วนต้นที่ติดกับลำไส้เล็ก ส่วนกลางลำไส้ ไปจนถึงส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ เช่น มีติ่งเนื้อเล็กๆ เกิดขึ้นภายในลำไส้ นั้นหมายความว่าหากตรวจพบติ่งเนื้อเร็วก็สามารถรักษาหายได้ทันท่วงที 5 สัญญาณผิดปกติ ควรคำนึงถึง“มะเร็งลำไส้ใหญ่” คนในครอบครัวมีประวัติมะเร็งลำไส้ หากเป็นเช่นนั้นเราก็อาจมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้มากกว่าคนปกติ 2 ใน 3 แต่ก็ไม่เสมอไปทั้งหมด เราสามารถเลี่ยงได้ด้วยการดูแลควบคุมตัวเองอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามทานอาหารที่ช่วยระบบย่อยและขับถ่าย ไม่ปล่อยให้ท้องผูกเป็นระยะเวลานานๆ เลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด หรือมีไขมันสูง และควรหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี พร้อมตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง คนที่ท้องผูกเป็นปกติ อีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของคนที่เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายๆ คนคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะแค่ท้องผูกเอง หากนานๆ เป็นทีก็คงไม่เป็นอะไร แต่คนที่มีอาการท้องผูกติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ก็แปลว่าระบบขับถ่ายไม่ดี แสดงว่าอาจมีความผิดปกติบางอย่างขึ้นที่บริเวณลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน ถ้าลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและดื่มน้ำให้มากขึ้นแล้ว แต่ยังท้องผูกต่อเนื่อง หรืออาการไม่ดีขึ้นเลย ก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปะปน เป็นหนึ่งเหตุผลที่ควรใส่ใจเวลาขับถ่ายก็ต้องหมั่นคอยสังเกต เพราะจะช่วยให้เราทราบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ หากใครที่ขับถ่ายแล้วมีมูกเลือดปนออกมาด้วยบ่อย ๆ แสดงว่าเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว และลองสังเกตต่อไปหากอุจจาระมีขนาดเล็กผิดปกติ ก็ควรปรึกษาและบอกอาการที่เกิดขึ้นกับแพทย์ เพื่อช่วยค้นหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป น้ำหนักลดลงทั้งที่กินอาหารเท่าเดิม หนึ่งอาการที่แสดงออกมาทางร่างกาย แต่หลายคนอาจจะคิดว่าโชคดีเหลือเกินที่กินเท่าเดิมแต่น้ำหนักกลับลดลง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำถ้าร่างกายปกติดี หากช่วงนั้นเรารับประทานอาหารเท่าเดิม ไม่ได้ออกกำลังกายอะไรเป็นพิเศษ แต่น้ำหนักกลับลดฮวบฮาบ หรือลดลงผิดปกติ ก็เป็นอาการอย่างหนึ่งที่บอกถึงความผิดปกติของร่างกาย ที่เราควรรีบพบแพทย์เป็นการด่วน ระบบขับถ่ายผิดปกติ เดี๋ยวท้องผูก เดี๋ยวท้องเสีย อีกหนึ่งอาการที่สังเกตได้ของคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งมักจะมีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูกแบบที่เป็นเรื้อรังไม่หายขาดสักที หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เลือกกินแต่อาหารปรุงสุกใหม่แล้วยังท้องเสีย แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบขับถ่ายอย่างแน่นอน จะเห็นได้ว่าสัญญาณเหล่านี้ไม่ควรมองข้ามและควรรู้เอาไว้ เพราะหากรู้ทันไม่ใช่แค่มะเร็งลำไส้ แต่ยังหลายรวมถึงโรคภัยอื่นๆด้วยที่สำคัญการป้องกันที่ดีที่สุดคือการกินอาหารอย่างถูกหลักอนามัย ลดอาหารลดจัด แปรรูป ปิ้งย่าง เพิ่มไฟเบอร์ผักใบเขียวเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย แน่นอนว่าสุขภาพกายคุณจะดีวันดีคืน ห่างไกลโรคภัยแน่นอนค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ