ติดเชื้อ HPV

ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็งปากมดลูก? เช็กความเสี่ยงและวิธีป้องกัน

เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่กว่า 150 สายพันธุ์ สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเอชพีวีคือติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย

ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็ง ? เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • HPV ชนิดก่อมะเร็ง :มี 14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้ายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33
  • HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง : ไม่ได้ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV 6 และ 11

ส่วนใหญ่แล้วหากเรามีร่างกายและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงการได้รับเชื้อ HPV อาจจะหายไปเองในระยะเวลา 2 ปี แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง ก็จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ติดเชื้ออย่างเดียวแต่เลี่ยงบุหรี่ได้ เชื้อจะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี

ตรวจหาเชื้อ HPV รู้ก่อนรักษาก่อน ?
ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง เป็นการตรวจแบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอ เป็นเทคนิคขั้นสูงแบบ Real-time PCR เป็นการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ความพิเศษของการตรวจนี้คือสามารถตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus Virus) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 14 สายพันธุ์สำคัญที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากถึง 74% ในผู้หญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และ 70% ในผู้หญิงทั่วโลก การตรวจพบได้เร็วจะช่วยให้ทราบความเป็นไปของสุขภาพร่างกายตัวเอง เพื่อวางแผนการดูแลและมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกแพทย์จะติดตามบ่อยครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป เพื่อให้แน่ใจว่าหากตรวจพบเชื้เอ HPV แล้วไม่มีการพัฒนาของโรคเป็นมะเร็ง

ติดเชื้อ HPV แล้วต้องทำอย่างไร ?

หากสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง เช่น มีตุ่ม เกิดในบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจในแน่ชัด พร้อมวางแผนการรักษา ซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อ HPV ได้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้นแพทย์จะทำการรักษาหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยขึ้นหากคุณหมอวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ HPV ชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือ ตรวจคัดกรองจากเซลล์พบว่ามีรอยโรคระยะก่อนมะเร็งที่ปากมดลูก โดยที่ปากมดลูกมองด้วยตาเปล่ายังไม่เห็นรอยโรค จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการตรวจด้วยกล้องขยายปากมดลูกทางช่องคลอด (Colposcopy) เป็นเครื่องมือที่ให้ภาพขยายของปากมดลูก โดยจะตรวจดูปากมดลูกอย่างละเอียดและเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อบริเวณที่ผิดปกติมาวิเคราะห์ จากนั้นอาจทำการรักษาด้วยวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้การรักษา HPV

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ?

  • ผู้หญิงที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย
  • คลอดบุตรหลายคน
  • มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย
  • มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

ป้องกันและลดความเสี่ยงได้

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก 3 ปี และตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุก 5 ปี
  • หากมีอาการผิดปกติทางนรีเวช ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการตรวจหรือปรึกษากับสูตินรีแพทย์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี

เกณฑ์ในการฉีดวัคซีนจะแบ่งตามช่วงอายุ โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน ได้มากกว่า 90%

  • อายุ 9 – 14 ปี ฉีดจำนวน 2 เข็ม
  • สำหรับอายุ 15 ปี ขึ้นไป ฉีดจำนวน 3 เข็ม

เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ควรฉีดวัคซีนในช่วงเด็ก หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากได้รับเชื้อมาแล้วจะไม่สามารถป้องกันจากเชื้อนั้นได้เรียกได้ว่า “โรคมะเร็งปากมดลูก” เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงได้ หากต้องการมีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขอนามัย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมถึงสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอและเข้ามามาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายใน และตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง

ช็อกโกแลตซีสต์เกิดที่ไหนได้บ้าง? ช็อกโกแลตซีสต์ ความผิดปกติที่ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงและไม่ได้เกิดได้แค่รังไข่อย่างเดียวเท่านั้น มดลูกมีเยื่อบุโพรงมดลูกที่บุภายใน ทำหน้าที่สร้างประจำเดือน ซึ่งสามารถหลุดร่อนได้ ดังนั้นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จึงหมายถึง ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงอาจไปเติบโตตามอวัยวะต่างๆ ทั้งเยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่ การทำหน้าที่ของเยื่อบุโพรงมดลูกในการสร้างประจำเดือนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เลือดสีแดงคล้ำหรือข้นคล้ายช็อกโกแลตไปปรากฏในอวัยวะต่างๆ บริเวณที่มักพบเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่ หรือที่เรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกและประจำเดือนไหลย้อนกลับไปสะสมในรังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต ซึ่งถุงน้ำจะใหญ่ขึ้นๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน จะใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อยๆ กล้ามเนื้อมดลูก เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้เกิดพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคที่เกิดจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ซึ่งมี 2 แบบคือ ชนิดที่อยู่เฉพาะที่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกและชนิดที่กระจายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกทั่วไป สาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ส่วนใหญ่เกิดจากการไหลย้อนกลับของประจำเดือนเข้าไปในอุ้งเชิงกรานผ่านท่อนำไข่และฝังตัวในโพรงมดลูกหรือฝังตามอวัยวะต่างๆ บริเวณที่พบบ่อยคืออุ้งเชิงกราน รังไข่ ท่อนำไข่ ผนังอุ้งเชิงกราน ผิวมดลูก ปากมดลูก นอกจากนี้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อาทิ ผนังลำไส้ เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ผู้หญิงหลายคนที่อยากมีบุตรแล้วตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ยังคงสามารถตั้งครรภ์ได้ตามวิธีธรรมชาติ และอาการของช็อกโกแลตซีสต์จะดีขึ้นด้วย เนื่องจากในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศจะลดลงช่วง 9 เดือนของการตั้งครรภ์ รวมถึงหลังคลอดบุตร 3-6 เดือน ทำให้ไม่มีประจำเดือน ถุงน้ำช็อกโกแลตซีสต์ไม่ถูกเติมด้วยประจำเดือน ค่อยๆ ฝ่อหายไปเองได้ แต่อย่างไรก็ตามช็อกโกแลตซีสต์ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนและปัจจัยต่างๆ ทั้งนี้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน หากมารดาเคยเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่บุตรสาวจะเป็นโรคเดียวกันได้ 3-7 เท่า เพราะฉะนั้นควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอทุกปีและหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบสูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว วิธีการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน ประกอบด้วย การใช้ยา ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดประจำเดือนและปวดท้องน้อย ฮอร์โมนบำบัด มีทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และห่วงฮอร์โมนที่ใส่ในโพรงมดลูก เพื่อลดการมีเลือดประจำเดือนมากหรือปวดประจำเดือน ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์หากใช้ยาในการรักษา ผ่าตัด โดยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) ช่วยให้เจ็บน้อย แผลเล็ก โอกาสเกิดพังผืดหลังผ่าตัดลดลง และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้องแบบแผลเล็กกว่าหรือเท่ากับ 6 เซนติเมตร (Minilaparotomy Myomectomy) และการผ่าตัดเนื้องอกผ่านผนังหน้าท้อง (Abdominal Myomectomy) ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis/PID) และ มดลูกอักเสบ(Endometritis) ปีกมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของท่อรังไข่รวมทั้งรังไข่และเนื้อเยื่อโดยรอบที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผ่านเข้าทางช่องคลอดผ่านเข้าไปในมดลูกและลุกลามไปถึงท่อรังไข่ เกิดปีกมดลูกอักเสบ ดังนั้น ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis)จึงมักเกิดร่วมกับมดลูกอักเสบ(Endometritis) อาการ ปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้ หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีปัสสาวะขัด ตกขาวเป็นหนองมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง ปวดหน่วงท้องน้อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจปวดหลัง ปวดประจำเดือน หรือถึงขั้นเป็นหมัน มดลูกอักเสบ ไข้สูง หนาวสั่น กดเจ็บรุนแรงกลางท้องน้อย มีตกขาวเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฝีในรังไข่ ตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ติดเชื้อในหระแสเลือด การรักษา การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา แต่กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีที่รังไข่ แพทย์อาจพิจารณารักาาด้วยการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพบาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์" แจกฟรี! โปรแกรมเลเซอร์สุดพิเศษจากโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #กดแชร์ก่อนเลยยยย ฟรี 3 ท่าน! “รีวิวหลังรีแพร์น้องสาว” คืนความมั่นใจและสุขภาพที่ดี ด้วยเลเซอร์กระชับช่องคลอด #แบบไม่ต้องผ่าตัด ฟรีอีก 3 ท่าน! รีวิวเลเซอร์รักษารอยแผล รอยท้องแตกลาย และแผลผ่าตัดหลังคลอด ท่านละ 3 ครั้ง #รีวิวหลังเห็นผลชัดเจน ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี มั่นใจในคุณภาพและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ #รีวิวเลเซอร์ #กระชับช่องคลอด #รักษารอยแผลผ่าตัด #สุขภาพสตรี #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #คุณสมบัติผู้สมัคร คุณแม่หลังคลอด รู้สึกไม่กระชับ ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดแห้ง ผู้ที่มีช่องคลอดหลวมแต่ไม่อยากพักฟื้น ไม่อยากผ่าตัด ผู้ที่มีความรู้สึกเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาท้องลาย หลังคลอด สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 สะดวกรีวิวหลังรับบริการ ผู้ที่สนใจแชร์โพสต์นี้ เป็นสาธารณะ พร้อมลงทะเบียน โปรแกรมที่สนใจ.. เคสรีวิวเลเซอร์กระชับช่องคลอด (ฟรี 1 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1ru2AOlfs4uoiPVaS.../viewform... เคสรีวิวเลเซอร์รักษารอยแผลผ่าตัดหลังคลอด (ฟรี 3 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1KE0Sex8C80zzrjnuc0p2KVg.../edit เปิดลงทะเบียนวันที่ 8 - 25 ตุลาคม 2567 นัดคัดเลือกวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2567 ประกาศผล 30 ตุลาคม 2567 สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 #เลเซอร์รีแพร์ #ศูนย์สุขภาพสตรี

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก การตรวจภายในเปรียบเสมือนการตรวจเช็คสุขภาพของอวัยวะภายในของสตรี นอกจากนี้ยังสามารถบอกได้ว่ามีความผิดปกติใดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน รวมทั้งการตรวจภายในยังสามารถตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากในสตรีไทย ได้ในขั้นตอนเดียวกันนี้ได้ด้วย

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก ปัญหามีบุตรยากยังคงเป็นปัญหาชีวิตคู่ที่มีมาทุกยุคสมัย โดยมีสาเหตุได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะพบค่อนข้างมากกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความผิดปกติของรังไข่ อย่างช็อกโกแลตซีสต์ โรคถุงน้ำรังไข่ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก ซึ่งปัญหาการมีบุตรยากจึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 – 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้ 20 – 30% องค์ประกอบในการมีบุตรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไข่ หากรังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพส่งผลให้มีบุตรยาก สเปิร์ม หากสเปิร์มมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ มดลูก หากพบความผิดปกติของมดลูก มีเนื้องอกมดลูกย่อมส่งผลให้มีบุตรยาก ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว โดยเฉพาะในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยที่รังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต จะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน ใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก สาเหตุการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ในปัจจุบันทางการแพทย์เชื่อว่า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ไหลย้อนตามเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง และไปก่อตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในช่องท้องโรคช็อกโกแลตซีสต์ จะขึ้นกับตำแหน่งที่เซลล์ไปเจริญเติบโตอยู่ โดยสามารถแยกพิจารณาตามตำแหน่งที่โรคไปเจริญเติบโตอยู่ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน รังไข่ มดลูก ท่อรังไข่ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ อาการโรค ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติจนต้องใช้ยารักษา และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจมาเป็นลิ่มๆ ถ้ารุนแรงจะเกิดภาะซีดได้ ปวดในช่องท้อง ท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน มักจะรุนแรงขึ้นขณะที่มีประจำเดือน หรือช่วงก่อน/หลังมีประจำเดือน ในรายที่ช็อกโกแลตซีสต์เกาะที่รังไข่ อาจจะพบว่ามีก้อนในช่องท้องจากถุงน้ำรังไข่ที่โตขึ้น โดยอาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ในรายที่เป็นโรคระยะรุนแรงจะมีพังผืดเกิดขึ้นจำนวนมาก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไป จากเซลล์เหล่านี้ ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกหรือพังผืดไปเกาะที่ลำไส้ใหญ่ชนิดรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาให้เป็นรูขนาดเล็กๆ จากนั้นจึงทำการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัดรักษาสามารถสอดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้องอกมดลูกออกมาได้โดยไม่มีแผลผ่าตัดเลย เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาหลังผ่าตัดเสร็จจะไม่ปวดแผล อาจมีอาการเพียงรู้สึกหน่วงๆ คล้ายขณะมีประจำเดือนเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดในตอนเช้า สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ