“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ”

กรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสีย ความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติ ได้เองจะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น

  • เรียกไม่รู้สึกตัว
  • ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่
  • อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ
  • เหงื่อออกที่ใบหน้า
  • ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย

ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่ อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรพบแพทย์ประเมิน หาสาเหตุ

สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ

  • เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
  • เกิดจาก ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด เป็นต้น
  • เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน
  • เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย

เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง จะส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้

  • ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23%
  • พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3%
  • ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า

อาการวูบที่ควรพบแพทย์

  • วูบแล้วหมดสติ-ชัก
  • มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ หรือในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว

สำหรับสิ่งที่ควรต้องระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการ บาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา หรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จํานวนผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศมีแนวโน้มเพิ่่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งทําให้บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจ ชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมากขึ้น คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สาเหตุและอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารีที่นําเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทําให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแพร่กระจายไปที่แขน ลําคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการร่วมอื่น ดังกล่าวข้างต้น และหรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร่งด่วน เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที ปัจจัยเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจําเดือน ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากมีโรคประจำตัว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามกำลังของตนเอง หากออกกำลังกายแล้วมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ เหนื่อยมากจนพูดไม่ออก หายใจสั้นและถี่มาก เมื่อยหรือปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ควรหยุดออกกำลังกายและพบแพทย์ทันที จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

รักษาความดันไม่สม่ำเสมอมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่

รักษาความดันไม่สม่ำเสมอมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่

ความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นอาการที่ผนังหลอดเลือดอ่อนแอและถูกความดันเลือดดันออกทำให้เกิดการโป่งพอง มีสาเหตุได้จากทั้งความเสื่อมตามวัยของผู้สูงอายุ หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด หรือคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด หากใครที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรรีบพบแพทย์และรักษาโดยด่วน เพราะหลอดเลือดแดงใหญ่นั้นมีความสำคัญกับร่างกายมาก เปรียบเสมือนท่อประปาหลักที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และรวมไปถึงในช่องท้อง เช่น ตับ ไต และลำไส้ แน่นอนว่าถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างการที่เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และปริแตกอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ถึง 50-90% หลอดเลือดแดงใหญ่อยู่ตรงไหน...สำคัญยังไง? ลองนึกภาพหลอดเลือดแดงใหญ่เป็นท่อประปาหลักๆ ที่พาดยาวจากบนลงล่างในร่างกาย แตกแขนงออกมาหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา ตับ ไต สำไส้ ดังนั้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหลอดเลือดแดงใหญ่ แน่นอนว่าย่อมกระทบต่ออวัยวะส่วนต่างๆ และหากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองถึงขั้นปริแตกล่ะก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ไม่แสดงอาการเบื้องต้น อาจโป่งพองจนแตก...นี่คือสิ่งที่ต้องระวัง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นได้กับทุกตำแหน่งของหลอดเลือดแดงใหญ่ ในช่วงตั้งแต่ส่วนติดกับหัวใจลงมาถึงในช่องท้องที่แยกแขนงเป็นไปเลี้ยงขาสองข้าง ความอันตรายคือเป็นโรคที่อาจไม่มีอาการ แม้บางครั้งจะโป่งพองขนาดใหญ่มากแล้วเกิดแตก ทำให้เสียเลือดออกจากระบบไหลเวียนโลหิตและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น สาเหตุหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคนี้เกิดจากความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ และมักไม่ปรากฏอาการ จนกว่าหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งถึงขนาดที่ใกล้แตก อาการ เจ็บหรือปวด อาจเป็นที่หน้าอก กลางหลังหรือในช่องท้อง คลำได้เป็นก้อนที่เต้นตามชีพจรตรงแถวสะดือ ซึ่งแล้วแต่ตำแหน่งหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่ง หรือโป่งพองไปกดอวัยวะข้างเคียง เสียงแหบ ไอ ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย ถ้าเกิดในช่องท้องอาจกดหลอดเลือดดำทำให้ขาบวม “การรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ถ้ารักษาตอนที่แตกแล้ว อัตราตายจะสูงมาก จะได้ผลดีและปลอดภัยต้องรักษาก่อนมีอาการ” ดังนั้นผู้สูงวัยที่เข้าข่ายอาจมีความเสี่ยง ควรรีบเข้ารับการตรวจไว้แต่เนิ่นๆ ซึ่งการรักษาทำได้สองวิธีคือการผ่าตัดแบบเปิด ต้องเปิดแผลใหญ่ ฟื้นตัวช้า ขณะผ่าตัดก็จะเสียเลือด และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตถ้าเป็นการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนที่มีแขนงไปเลี้ยงสมอง แต่ในปัจจุบันยกเว้นหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนที่ติดกับหัวใจ เราสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ มีเพียงรอยผ่าตัดที่ขาหนีบความยาวประมาณ 1 นิ้ว แล้วสอดหลอดเลือดเทียมที่มีขดลวดที่ผนังให้ไปกางคร่อมตำแหน่งที่โป่งพอง เลือดจะไหลในเส้นเลือดเทียม ผนังส่วนโป่งพองก็จะไม่สัมผัสกับเลือด ไม่แตกและค่อย ๆ ยุบลงในที่สุด คนไข้สามารถลุกเดินได้เร็ว ฟื้นตัวเร็ว อยู่โรงพยาบาลสั้น กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็ว การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองด้วยการใช้ขดลวดและหลอดเลือดเทียมเป็นการรักษามาตรฐานของโรคนี้ อาจมีข้อยกเว้นในตำแหน่งโป่งพองที่รักษาไม่ได้ หรือคนไข้มีลักษณะทางกายวิภาคไม่เหมาะสม ซึ่งการรักษาต้องใช้แพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ดังนั้น ยิ่งตรวจพบเร็ว การรักษายิ่งได้ผลดี และปลอดภัย ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามปกติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพลดล อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยมีภาวะภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่สะดวก เป็นลม หมดสติ การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การซักประวัติอสุขภาพ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรือเอคโค(Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study) การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษาตามแนวทางของแพทย์ต่อไป การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน ในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ระดับน้ำตาล โปรตีน และเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะเป็นกลุ่มกันมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป อย่างนักกีฬาอัลตรามาราธอน วิ่งระยะไกล ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีตรวจความฟิตของร่างกายอย่าง VO2 max ที่ช่วยทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้แก่นักกีฬาทุกคน ความเสี่ยงของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในคนออกกำลังกาย อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจะเกิดน้อย แต่เราก็ต้องรู้ไว้ เพราะปัญหาสุขภาพไม่เลือกเวลาและไม่เลือกคน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหรือ Sudden Cardiac Arrest เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดได้ทั้งระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย โดยมักจะไม่มีสัญญาณบอกก่อน จึงเป็นภาวะที่น่ากลัวมาก ผู้ป่วยอาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ไม่มีแรง รู้สึกเหมือนจะวูบ ใจสั่นหรือหัวใจเต้นรัวนำมาก่อน หากพบอาการเหล่านี้ส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องปฐมพยาบาลด้วยการ CPR ผายปอดและปั๊มหัวใจ หรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบพกพา AED (เออีดี) เมื่อหัวใจหยุดเต้น ระบบหัวใจก็จะเริ่มล้มเหลว ความดันโลหิตก็จะตกลง เลือดก็จะไม่สูบฉีด เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะขาดเลือด ขาดออกซิเจน และขาดสารอาหาร ทำให้เซลล์ ไม่สามารถทำงานต่อได้ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์หยุดทำงานก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นล้มเหลว และหยุดทำงานไปตาม ๆ กัน พูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ถ้าหัวใจหยุดเต้น สมอง ปอด และระบบอื่นก็หยุดทำงานตามไปด้วยจนเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจหยุดเต้นจึงเป็นภาวะอันตรายที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วน สาเหตุของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ที่พบบ่อยคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดความผิดปกติจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้ครับ เพราะเดิมทีในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้ตามธรรมชาติเพื่อใช้สื่อสาร หรือสั่งการกันระหว่างเซลล์และระบบอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ ส่วนสาเหตุที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคือภาวะหัวใจขาดเลือดหรือ Heart Attack ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าหลังจากที่หัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติและทำให้หัวใจเต้นผิดไปจากเดิม อย่างหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นรัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหยุดเต้นได้ แต่นอกจากภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจและส่งผลต่อการเต้นของหัวใจจนทำให้เกิด “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ดังนี้ ● ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจ ● คนที่มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่ไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ● กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ● หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพหัวใจเหล่านี้แฝงอยู่ อาจถูกอาการนี้จู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวได้และต่อให้คุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงเล็ก ๆ น้อย ๆ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถือเป็นภัยเงียบที่คาดเดาและรับมือได้ยาก การตรวจสุขภาพหัวใจและการประเมินความพร้อมของร่างกายจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ นอกจากนี้ หากใครเคยมีอาการต่อไปนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ ● คนที่เหนื่อยง่ายผิดปกติในขณะที่ทำกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกาย ● มีหรือเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย ● เคยเป็นลมขณะออกกำลังกาย ● คนที่เคยมีญาติใกล้ชิด อย่างพ่อแม่หรือพี่น้องเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบขณะที่อายุ น้อยกว่า 60 ปีในผู้หญิง และ 45 ปีในผู้ชาย ● คนที่ออกกำลังกาย แต่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือพักผ่อนน้อยติดต่อกันนานก็อาจมี ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถลดความเสี่ยงได้ครับด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

คนบ้างาน-เครียด เสี่ยงหัวใจขาดเลือด

คนบ้างาน-เครียด เสี่ยงหัวใจขาดเลือด

ความเครียด นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลากหลายโรค หนึ่งในนั้นคือปัจจัยที่ทำให้กลุ่มวัยทำงานและวัยรุ่นมีอัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้น หนึ่งในนั้นคือโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งหัวใจขาดเลือด คือ ภาวะที่มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งพอหัวใจขาดเลือดมากๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะส่งผลให้ ‘กล้ามเนื้อหัวใจตาย’ เป็นเหตุให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว หรือที่เรียกว่า หัวใจวาย มี น้ำท่วมปอด จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด โดยสาเหตุสำคัญคืดภาวะ ‘หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน’ที่ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังหัวใจได้เพียงพอนั้นเอง ใครบ้างที่เสี่ยงหัวใจขาดเลือด? ผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ผู้ที่มีความเครียดสะสมเรื้อรัง ผู้ชายที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่อายุ 55 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สัญญาณเตือนหัวใจขาดเลือด ที่ต้องรีบพบแพทย์ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม รู้สึกอึดอัด หายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจไม่สะดวก ความเครียดสะสม ทำร้ายหลอดเลือดหัวใจ ภาวะเครียดสะสม ทำให้ร่างกายหลังฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำตาลและนำไขมันออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น ขณะเดียวกันยังหลั่งสารอะดรีนาลีน และคอร์ติซอลออกมา ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังเมื่อระบบต่างๆ ของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดพัก สุดท้ายก็เกิดสารพัดโรคตามมา และไม่ใช่แค่โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ยังรวมไปถึงโรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่นๆ ได้ด้วย หากเริ่มมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม อย่ารีรอ! ให้รีบพบแพทย์ หรือเรียกรถพยาบาลในทันทีเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่างๆ ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณซีกซ้าย อาจจะมีร้าวไปที่แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม ร่วมกับมีอาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล เป็นผลมาจากหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ อาการอย่างไรเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1–10 นาที รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร อย่างไรก็ดีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาและเกิดได้ทุกสถานที่ และทุกเวลา เช่น ขณะออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่ง นอนหลับพักผ่อน เกิดจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว จากการมีคราบไขมัน (Plaque) และเมื่อเกิดการปริแตกของผนังด้านในหลอดเลือดบริเวณนั้น ทำให้มีลิ่มเลือดมาจับตัวเป็นก้อน จนเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และถ้ามีการเต้นหัวใจผิดจังหวะของหัวใจห้องล่างชนิดร้ายแรง (VT/VF) ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแต่ยังรู้สึกตัวดีต้องรีบมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ซึ่งหน้าจะต้องมีความรู้เรื่องการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และรู้จักการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ภายหลังการรักษาผู้ป่วยต้องรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการมาพบแพทย์ตามนัด ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบว่าอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เวลาออกแรง เหนื่อยง่าย หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ขาบวมกดบุ๋มให้รีบมาพบแพทย์ทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ