เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย
    • การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen)
    • ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent)
  • ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen)
    ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้ ทั้งการกินในรูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และ การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง

วางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ?

  • ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้
  • ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
  • ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่

ทั้งนี้ควรศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิก สุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ที่สำคัญควรตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย ที่สำคัญควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก ปัญหามีบุตรยากยังคงเป็นปัญหาชีวิตคู่ที่มีมาทุกยุคสมัย โดยมีสาเหตุได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะพบค่อนข้างมากกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความผิดปกติของรังไข่ อย่างช็อกโกแลตซีสต์ โรคถุงน้ำรังไข่ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก ซึ่งปัญหาการมีบุตรยากจึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 – 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้ 20 – 30% องค์ประกอบในการมีบุตรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไข่ หากรังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพส่งผลให้มีบุตรยาก สเปิร์ม หากสเปิร์มมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ มดลูก หากพบความผิดปกติของมดลูก มีเนื้องอกมดลูกย่อมส่งผลให้มีบุตรยาก ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว โดยเฉพาะในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยที่รังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต จะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน ใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก สาเหตุการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ในปัจจุบันทางการแพทย์เชื่อว่า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ไหลย้อนตามเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง และไปก่อตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในช่องท้องโรคช็อกโกแลตซีสต์ จะขึ้นกับตำแหน่งที่เซลล์ไปเจริญเติบโตอยู่ โดยสามารถแยกพิจารณาตามตำแหน่งที่โรคไปเจริญเติบโตอยู่ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน รังไข่ มดลูก ท่อรังไข่ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ อาการโรค ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติจนต้องใช้ยารักษา และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจมาเป็นลิ่มๆ ถ้ารุนแรงจะเกิดภาะซีดได้ ปวดในช่องท้อง ท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน มักจะรุนแรงขึ้นขณะที่มีประจำเดือน หรือช่วงก่อน/หลังมีประจำเดือน ในรายที่ช็อกโกแลตซีสต์เกาะที่รังไข่ อาจจะพบว่ามีก้อนในช่องท้องจากถุงน้ำรังไข่ที่โตขึ้น โดยอาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ในรายที่เป็นโรคระยะรุนแรงจะมีพังผืดเกิดขึ้นจำนวนมาก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไป จากเซลล์เหล่านี้ ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกหรือพังผืดไปเกาะที่ลำไส้ใหญ่ชนิดรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาให้เป็นรูขนาดเล็กๆ จากนั้นจึงทำการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัดรักษาสามารถสอดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้องอกมดลูกออกมาได้โดยไม่มีแผลผ่าตัดเลย เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาหลังผ่าตัดเสร็จจะไม่ปวดแผล อาจมีอาการเพียงรู้สึกหน่วงๆ คล้ายขณะมีประจำเดือนเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดในตอนเช้า สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง การรักษามะเร็ง มีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา ส่งผลให้มักมีอาการอักเสบ หรือการสูญเสียเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เพราะถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้า และการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิผลดีเท่าที่ควร อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งจนครบได้ อาหารที่ควรกิน ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 -2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารที่มีลักษณะ ดังนี้ สุก สะอาด มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน) โดยให้เน้นโปรตีนจากพืชและสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ผัก ผลไม้ ที่ปลอกและล้างสะอาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารหมักดอง อาหารไม่สด อาหารไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก อาหารรมควัน แฮม ของปิ้งย่าง งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบาง หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น องุ่น ชมพู่ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่ ทำอย่างไรเมื่อเจอผลข้างเคียงการรักษาที่ทำให้กินไม่ลง เบื่ออาหาร เลือกกินอาหารที่พอกินได้ กลิ่นและรสไม่จัด โดยอาจแบ่งออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อต่อวัน หรือกินขนมเสริมที่กินได้ง่ายๆ เช่น ไอศกรีม ขนมต่างๆ อาหารทางการแพทย์ หรือ นม คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ดร้อน และเลือกกินอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนมปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ควรจิบน้ำสะอาดๆ หรือเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ การรับรสเปลี่ยน กลั้วปากน้ำสะอาด ก่อนกินอาหาร และให้ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว โดยอาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมินต์ไว้ช่วยกระตุ้นการรับรสก็ได้ ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก กินอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว กินอาหารเย็น ไม่ร้อนจัดจนเกินไป และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่มีกรด เช่น มะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม นอกจากนี้ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร ท้องเสีย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง งดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น และงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เนย ถั่ว ผักดิบ เม็ดเลือดขาวต่ำ การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และระวังผักผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก มีรอยช้ำ มีเชื้อรา รวมถึงควรงดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ น้ำหนักลด กินอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลาย ๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากน้ำหนักลดลงมาก อาจต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องผูก แนะนำให้กินอาหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง และดื่มน้ำสะอาด 8 -10 แก้วต่อวัน กินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ มีหลายคนเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมะเร็งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ ที่จริงแล้วควรกินเนื้อสัตว์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยในการซ่อมแซมร่างกายระหว่างการรักษา และบำรุงเม็ดเลือดขาวได้ ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางอาหารเพิ่มเติม ไม่กินเนื้อติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยากกินมังสวิรัติ แนะนำว่า ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นมเพิ่มเติม จริงไหมกินเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว การกินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าว มีสาร Phytoestrogen ในปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ สุดท้ายนี้หากปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหารแล้ว อย่าลืมเช็กน้ำหนักตัวกันด้วย เพราะน้ำหนักตัวที่คงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรามาได้ถูกทางแล้ว! หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้นจึงควรกินอาหารอย่างเพียงพอ หรือกินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เลเซอร์ รีเเพร์

เลเซอร์ รีเเพร์

💕👩🏻ฟื้นฟูความมั่นใจให้คุณผู้หญิง ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ปัญหาช่องคลอดที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดหลวม อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม และอวัยวะเพศคล้ำ หย่อนคล้อย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณขาดความมั่นใจในชีวิตประจำวัน 👩🏻เลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น เทคโนโลยีเลเซอร์ 360 องศาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาภายในให้คุณผู้หญิงโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องผ่าตัด แสงเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างและจัดเรียงเส้นคอลลาเจนในบริเวณผนังช่องคลอด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และปรับสมดุล ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้น ลดอาการปัสสาวะเล็ด อีกทั้งยังสามารถทำให้ผิวภายนอกอวัยวะเพศกลับมาขาวกระจ่างใสได้ภายใน 1 สัปดาห์ ขั้นตอนการรักษาง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานและเห็นผลทันทีหลังจากการทำครั้งแรก ควรทำต่อเนื่องเพียง 3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 1-2 เดือน ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้เวลาในขั้นตอนนี้ เตรียมพร้อมสำหรับการทำเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น : - ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับบริการ - ควรทำหลังจากมีรอบเดือน - หากมีประวัติเป็นเริมหรือใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า เปลี่ยนปัญหาที่คุณกังวลให้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ฟื้นฟูความมั่นใจ และพร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจอีกครั้งกับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช็กตารางออกตรวจแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก

ใครที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก การตรวจภายในเปรียบเสมือนการตรวจเช็คสุขภาพของอวัยวะภายในของสตรี นอกจากนี้ยังสามารถบอกได้ว่ามีความผิดปกติใดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน รวมทั้งการตรวจภายในยังสามารถตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากในสตรีไทย ได้ในขั้นตอนเดียวกันนี้ได้ด้วย

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ คือ แทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือถุงที่มีเลือดคั่ง และไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็น เพราะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเพศหญิง ตราบใดที่ยังมีประจำเดือน ซึ่ง โรคนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมานให้สาวๆ ที่เป็นโรคนี้ได้ไม่น้อย อาการที่เสี่ยงเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ปวดท้องมากผิดปกติเวลามีประจำเดือน และปวดมากขึ้นๆ ทุกเดือน โดยอาจจะปวดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกรานและตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ รวมถึงการปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือนานกว่า 7 วัน และการมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ ประจำเดือนมาถี่ หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้นกว่าปกติ คือมีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ อาจเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ และไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดในช่วงมีประจำเดือน ถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุง ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง ปวดไมเกรนบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงก่อน และระหว่างมีประจำเดือน บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย แต่คลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้างเนื่องจากถุงน้ำโตขึ้นจนมีขนาดใหญ่และอยู่ในระยะที่เป็นอันตราย บางรายตรวจพบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากเนื่องจากท่อนำไข่ตีบตัน ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งผลพวงที่มีสาเหตุมาจากช็อกโกแลตซีสต์ เพราะเมื่อเยื่อบุนี้ไปเกาะอยู่บนรังไข่ ทำให้รังไข่มีพื้นในการผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยช็อกโกแลตซีสต์ไข่ที่ผลิตได้ก็ด้อยคุณภาพ และยังทำให้ท่อรังไข่คดงอ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันแล้วจึงผ่านมาฝังตัวได้อย่างไม่สมบูรณ์ หากพบว่าเป็นก็จะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด ในส่วนของการรักษา ในรายที่อาการรุนแรงไม่มาก แพทย์อาจให้สังเกตและติดตามอาการเป็นระยะ ในรายที่มีอาการพอสมควรแพทย์อาจรักษาโดยใช้ยา หรือหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้อง ผ่าตัด ช็อกโกแลตซีส ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันนี้แพทย์ก็จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นวิธีมาตรฐานในการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องนี้เป็นวิธีที่ทันสมัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS อันเป็นเทคนิคในการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว ซึ่งไม่น่ากลัวแต่อย่างใด จากที่คุณหมอให้ความรู้เรามาทั้งหมดนี้ก็จะพบว่า โรคช็อกโกแลตซีสต์ ก็ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวมาก หากคุณสาวๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองแล้วรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามก็น่าจะเป็นการดีที่สุด ก่อนที่โรคภัยจะมาคุกคามชีวิตและลุกลามจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา สอบถามเพิ่มเติมติดต่อศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319877

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด