“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก แต่ปัจจุบันยุคสมัยให้ความสำคัญและยอมรับค่านิยมเรื่องการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง หรือ LGBTQ+ ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีข้ามเพศขึ้น

แม้ส่วนใหญ่สาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปาดมดลูกจะมาจาก “เชื้อไวรัส HPV” แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงนั้นก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น อาจเกิดจากการฉีกขาดของช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมไปถึงการไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณช่องคลอดและอวัยวะเพศของสามี

“ชายแปลงเป็นหญิง” เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกด้วยหรือไม่ ?

แน่นอนว่าการผ่าตัดแปลงเพศจากชายกลายเป็นหญิงนั้น คือ การที่ศัลยแพทย์ทำการตัดแต่งระบบสืบพันธ์ภายในของผู้ชายให้มีเหมือนกับผู้หญิง เพียงแต่!!! เป็นการใช้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อหรือตัดต่อจากของเดิม เช่น การสร้างช่องคลอดเทียม โดยการตัดต่อท่อปัสสาวะเพศชาย หรือ ตกแต่งแคมเลียนแบบอวัยวะเพศหญิงจากหนังหุ้มลูกอัณฑะ เป็นต้น

ทางการแพทย์แล้วยังไม่มีการพบว่า เมื่อผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้วจะก่อให้เกิด “โรคมะเร็งปากมดลูก” ในอนาคต ในทางกลับกัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามเพศสภาพเดิมมากกว่า เนื่องจากในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น มีเพียงการตัดลูกอัณฑะออกแต่ยังเหลือต่อมลูกหมาก ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หรือแม้แต่ในผู้หญิงที่แปลงเพศเป็นชาย ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ได้เหมือนกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง

การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง

การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีภูมิใจเสนอเทคโนโลยีการผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษาโรคทางนรีเวช ตั้งแต่กระบวนการตรวจพบปัญหาจนถึงการรักษา เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการอย่างมีคุณภาพแก่ผู้ป่วยของเรา การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้องคืออะไร? การผ่าตัดผ่านกล้อง หรือที่รู้จักกันในชื่อ Laparoscopic Surgery เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้กล้องขนาดเล็กและเครื่องมือพิเศษช่วยในการผ่าตัดโดยไม่ต้องกรีดเปิดแผลกว้างแบบการผ่าตัดดั้งเดิม ซึ่งกล้องจะมีกำลังขยายที่สูงทำให้แพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งหลังผ่าตัดจะมีแผลขนาดเล็กที่ทิ้งรอยน้อยกว่าการผ่าตัดทั่วไป ทำไมการผ่าตัดผ่านกล้องถึงน่าสนใจ? แผลขนาดเล็ก: การผ่าตัดผ่านกล้องจะทำให้ได้แผลที่มีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ฟื้นตัวเร็ว: เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยมักจะรู้สึกดีขึ้นและฟื้นตัวได้เร็วกว่ามาก สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ: แผลขนาดเล็กทำให้โอกาสในการติดเชื้อลดลง เจ็บน้อยลง: การใช้กล้องและเครื่องมือพิเศษทำให้เกิดแผลเล็กๆ เจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดซึ่งมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ผลลัพธ์ที่ดีกว่า: กล้องกำลังขยายสูงให้การมองเห็นที่ชัดเจนและแม่นยำขณะทำผ่าตัดส่งผลแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช (Laparoscopic Gynecologic Surgery) สามารถวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติต่าง ๆ ได้ดังนี้ เนื้องอกในมดลูก (Uterine Fibroids): เนื้องอกที่เกิดในผนังของมดลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือเลือดออกผิดปกติ ซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cysts): ซีสต์หรือถุงน้ำที่เกิดในรังไข่ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่ร้ายแรง ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis): โรคที่เกิดจากการมีเนื้อเยื่อคล้ายเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตนอกมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องและปัญหาการเจริญพันธุ์ ปัญหาเกี่ยวกับท่อนำไข่ (Fallopian Tube Issues): การอุดตันหรือการบาดเจ็บที่ท่อนำไข่ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ โรคพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Adhesions): พังผืดที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการผ่าตัดก่อนหน้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและปัญหาการตั้งครรภ์ การตกเลือดผิดปกติ (Abnormal Uterine Bleeding): อาการเลือดออกผิดปกติที่อาจเกิดจากปัญหาหลายประการ เช่น เนื้องอกในมดลูกหรือการเจ็บป่วยทางนรีเวชอื่นๆ การรักษาภาวะมดลูกหย่อน (Uterine Prolapse): ภาวะที่มดลูกเคลื่อนที่ลงมาจากตำแหน่งปกติ ซึ่งอาจต้องการการรักษาเพื่อฟื้นฟูการทำงานของมดลูก การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Diagnostic Laparoscopy): ใช้เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่ชัดเจนหรือเพื่อประเมินปัญหาทางนรีเวชที่ไม่สามารถระบุได้ด้วยการตรวจแบบอื่น การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวชมีข้อดีในการลดขนาดของแผลและลดระยะเวลาการพักฟื้น ดังนั้นจึงมักเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการให้ร่างกายฟื้นฟูอย่างรวดเร็วและมีผลข้างเคียงหลังผ่าตัดน้อย หากพบมีอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคที่กล่าวมาข้างต้น การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ใครบ้างที่เหมาะกับการผ่าตัดผ่านกล้อง? การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้องเหมาะสำหรับการรักษาหลายกรณี เช่น การรักษาเนื้องอกในมดลูก, การรักษานิ่วในถุงน้ำดี, และการรักษาปัญหาทางนรีเวชอื่นๆ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีเรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง หากท่านการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง หรือปรึกษาเกี่ยวกับความต้องการด้านการรักษากรุณาติดต่อเราเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 039-319888

ภาวะประจำเดือนไม่มา

ภาวะประจำเดือนไม่มา

ภาวะประจำเดือนขาด ภาวะประจำเดือนขาด (Secondary amenorrhea)เป็นภาวะที่สตรีรายนั้นเคยมีประจำเดือนมาประจำแล้วไม่มา หรือขาดหายไป เป็นภาวะที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น การตั้งครรภ์ ฉีดยาคุมกำเนิด หลังคลอดบุตรหรือขณะให้นมบุตร และความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น สาเหตุที่พบได้น้อย เช่น เนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไตหรือรังไข่ โรคชีแฮน การผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น อาการ ผู้ที่มีภาวะประจำเดือนขาด บางกลุ่มมักไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ ส่วนกลุ่มที่มีอาการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุของการขาดประจำเดือน ได้แก่ การตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการแพ้ท้องตามมาได้ เนื้องอกรังไข่ ต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง อาจมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง มีหนวดหรือขนขึ้นผิดปกติ น้ำนมออกโดยไม่สัมพันธ์กับช่วงการให้นมบุตร เป็นต้น โรคชีเเฮน อาจอ่อนเพลีย เฉื่อยชา เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนเพชรร่วง ความเครียดทางจิตใจ หรือซึมเศร้า มักมีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง การรักษา แพทย์จะเป็นผู้ตรวจประเมินอาการหรือส่งตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

วิธีกิน“ยาคุมฉุกเฉิน”ที่ผู้หญิงต้องรู้ ให้ปลอดภัยลดโอกาสเป็นมะเร็ง ปัจจุบันยาคุมกำเนิด มีหลากหลายยี่ห้อ และเป็นที่นิยมมากกว่าการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นเพราะทั้งหาซื้อง่ายและมีหลายราคา สามาถเลือกได้ตามความต้องการของคุณผู้หญิง และนอกจากยาคุมแบบแผงแล้ว ยังมี “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่ไว้ใช้ยามฉุกเฉินตามชื่อและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่การกินบ่อยไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะอาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าเดิม เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จำหน่ายลักษณะเป็นกล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 กรัม ตามหลักของกรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วอัตราย อาจจะยังไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ากินแบบถูกต้อง คือการกินเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งควรกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใช่กินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาว กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินจะมีหน้าที่รบกวนกระบวนการตกไข่และการเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้การฝังตัวของไข่ทำได้ยาก หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนช่วย “ลดโอกาส” ในการตั้งครรภ์ลงจากเดิมเท่านั้น แล้วแน่นอนว่าการที่ฮอร์โมนถูกกระตุ้นแบบฉับพลันย่อมส่งผลข้างเคียงหลังการกินยาคุมฉุกเฉินมักจะพบว่าคุณผู้หญิงมักมีอาการค้างเคียง อาทิ อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการปกติ ไม่อันตราย แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันหรือเกินสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 ผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินจะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8 หรือกล่าวได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินสามารถลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น ทั้งนี้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว และเมื่อกินบ่อยครั้งหรือกินติดต่อกันนานๆ ยังส่งผลให้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น รวมถึงปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้ช่วยให้แท้ง? หนึ่งความเชื่อหนาหูที่ว่า กินยาคุมฉุกเฉินช่วยให้แท้งนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นตัวช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของไข่และอสุจิ ดังนั้น หากไข่ที่ผสมอสุจิได้ทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์แล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินก็เท่ากับสูญเปล่า ทั้งนี้ ยาคุมฉุกเฉินถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกข่มขืน หรือเกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ดังนั้น หากคู่สามีภรรยาคู่ไหนต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า ที่สำคัญไม่การใช้ยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะเป็นแบบแผงหรือยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเหมาะสม ที่สำคัญควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่สูงขึ้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เนื้องอกมดลูกมดลูกชนิดไม่ใช่เนื้อร้าย สามารถพบได้ในสตรีวัยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป โดยเนื้องอกแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาในการขยายขนาดที่แตกต่างกัน จึงอาจจะโตช้าหีือเร็วต่างกัน อาการ อาการมักเกิดขึ้นเมื่อก้อนเนื้องอกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมักมีเลือดออกมากหรือกะปริดกะปรอย และมักมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนร่วมด้วย หรือบางรายอาจปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีปัสสาวะบ่อย เจ็บขณะร่วมเพศ หากก้อนโตมาก ๆ อาจคลำเจอก้อนที่ท้องน้อย ภาวะแทรกซ้อน หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอยต่อเนื่องอาจทำให้เกิดภาวะซีดได้ หากมีเนื้องอกที่โตเร็วมากขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงแท้ง หรือคลอดยาก การรักษา หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด แต่กรณีก้อนเนื้อมีขนาดไม่ใหญ่และไม่กระทบชีวิตประจำวัน หรือไม่มีอาการที่ส่งผลแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แพทย์อาจให้ติดตามอาการเป็นระยะโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก ปัญหามีบุตรยากยังคงเป็นปัญหาชีวิตคู่ที่มีมาทุกยุคสมัย โดยมีสาเหตุได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะพบค่อนข้างมากกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความผิดปกติของรังไข่ อย่างช็อกโกแลตซีสต์ โรคถุงน้ำรังไข่ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก ซึ่งปัญหาการมีบุตรยากจึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 – 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้ 20 – 30% องค์ประกอบในการมีบุตรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไข่ หากรังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพส่งผลให้มีบุตรยาก สเปิร์ม หากสเปิร์มมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ มดลูก หากพบความผิดปกติของมดลูก มีเนื้องอกมดลูกย่อมส่งผลให้มีบุตรยาก ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว โดยเฉพาะในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยที่รังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต จะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน ใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก สาเหตุการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ในปัจจุบันทางการแพทย์เชื่อว่า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ไหลย้อนตามเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง และไปก่อตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในช่องท้องโรคช็อกโกแลตซีสต์ จะขึ้นกับตำแหน่งที่เซลล์ไปเจริญเติบโตอยู่ โดยสามารถแยกพิจารณาตามตำแหน่งที่โรคไปเจริญเติบโตอยู่ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน รังไข่ มดลูก ท่อรังไข่ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ อาการโรค ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติจนต้องใช้ยารักษา และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจมาเป็นลิ่มๆ ถ้ารุนแรงจะเกิดภาะซีดได้ ปวดในช่องท้อง ท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน มักจะรุนแรงขึ้นขณะที่มีประจำเดือน หรือช่วงก่อน/หลังมีประจำเดือน ในรายที่ช็อกโกแลตซีสต์เกาะที่รังไข่ อาจจะพบว่ามีก้อนในช่องท้องจากถุงน้ำรังไข่ที่โตขึ้น โดยอาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ในรายที่เป็นโรคระยะรุนแรงจะมีพังผืดเกิดขึ้นจำนวนมาก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไป จากเซลล์เหล่านี้ ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกหรือพังผืดไปเกาะที่ลำไส้ใหญ่ชนิดรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาให้เป็นรูขนาดเล็กๆ จากนั้นจึงทำการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัดรักษาสามารถสอดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้องอกมดลูกออกมาได้โดยไม่มีแผลผ่าตัดเลย เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาหลังผ่าตัดเสร็จจะไม่ปวดแผล อาจมีอาการเพียงรู้สึกหน่วงๆ คล้ายขณะมีประจำเดือนเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดในตอนเช้า สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ