เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์

  • บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด
  • แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้
  • ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง
  • มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1%

ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์

  • ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต
  • ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง การรักษามะเร็ง มีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา ส่งผลให้มักมีอาการอักเสบ หรือการสูญเสียเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เพราะถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้า และการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิผลดีเท่าที่ควร อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งจนครบได้ อาหารที่ควรกิน ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 -2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารที่มีลักษณะ ดังนี้ สุก สะอาด มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน) โดยให้เน้นโปรตีนจากพืชและสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ผัก ผลไม้ ที่ปลอกและล้างสะอาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารหมักดอง อาหารไม่สด อาหารไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก อาหารรมควัน แฮม ของปิ้งย่าง งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบาง หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น องุ่น ชมพู่ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่ ทำอย่างไรเมื่อเจอผลข้างเคียงการรักษาที่ทำให้กินไม่ลง เบื่ออาหาร เลือกกินอาหารที่พอกินได้ กลิ่นและรสไม่จัด โดยอาจแบ่งออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อต่อวัน หรือกินขนมเสริมที่กินได้ง่ายๆ เช่น ไอศกรีม ขนมต่างๆ อาหารทางการแพทย์ หรือ นม คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ดร้อน และเลือกกินอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนมปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ควรจิบน้ำสะอาดๆ หรือเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ การรับรสเปลี่ยน กลั้วปากน้ำสะอาด ก่อนกินอาหาร และให้ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว โดยอาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมินต์ไว้ช่วยกระตุ้นการรับรสก็ได้ ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก กินอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว กินอาหารเย็น ไม่ร้อนจัดจนเกินไป และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่มีกรด เช่น มะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม นอกจากนี้ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร ท้องเสีย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง งดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น และงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เนย ถั่ว ผักดิบ เม็ดเลือดขาวต่ำ การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และระวังผักผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก มีรอยช้ำ มีเชื้อรา รวมถึงควรงดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ น้ำหนักลด กินอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลาย ๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากน้ำหนักลดลงมาก อาจต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องผูก แนะนำให้กินอาหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง และดื่มน้ำสะอาด 8 -10 แก้วต่อวัน กินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ มีหลายคนเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมะเร็งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ ที่จริงแล้วควรกินเนื้อสัตว์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยในการซ่อมแซมร่างกายระหว่างการรักษา และบำรุงเม็ดเลือดขาวได้ ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางอาหารเพิ่มเติม ไม่กินเนื้อติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยากกินมังสวิรัติ แนะนำว่า ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นมเพิ่มเติม จริงไหมกินเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว การกินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าว มีสาร Phytoestrogen ในปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ สุดท้ายนี้หากปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหารแล้ว อย่าลืมเช็กน้ำหนักตัวกันด้วย เพราะน้ำหนักตัวที่คงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรามาได้ถูกทางแล้ว! หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้นจึงควรกินอาหารอย่างเพียงพอ หรือกินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis/PID) และ มดลูกอักเสบ(Endometritis) ปีกมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของท่อรังไข่รวมทั้งรังไข่และเนื้อเยื่อโดยรอบที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผ่านเข้าทางช่องคลอดผ่านเข้าไปในมดลูกและลุกลามไปถึงท่อรังไข่ เกิดปีกมดลูกอักเสบ ดังนั้น ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis)จึงมักเกิดร่วมกับมดลูกอักเสบ(Endometritis) อาการ ปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้ หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีปัสสาวะขัด ตกขาวเป็นหนองมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง ปวดหน่วงท้องน้อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจปวดหลัง ปวดประจำเดือน หรือถึงขั้นเป็นหมัน มดลูกอักเสบ ไข้สูง หนาวสั่น กดเจ็บรุนแรงกลางท้องน้อย มีตกขาวเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฝีในรังไข่ ตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ติดเชื้อในหระแสเลือด การรักษา การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา แต่กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีที่รังไข่ แพทย์อาจพิจารณารักาาด้วยการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพบาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ติดเชื้อ HPV

ติดเชื้อ HPV

ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็งปากมดลูก? เช็กความเสี่ยงและวิธีป้องกัน เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อเอชพีวี แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่กว่า 150 สายพันธุ์ สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเอชพีวีคือติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน และสามารถแพร่ผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หากมีการสัมผัสผิวหนังหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย ติดเชื้อ HPV ไม่เท่ากับเป็นมะเร็ง ? เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ HPV ชนิดก่อมะเร็ง :มี 14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้ายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33 HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง : ไม่ได้ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV 6 และ 11 ส่วนใหญ่แล้วหากเรามีร่างกายและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงการได้รับเชื้อ HPV อาจจะหายไปเองในระยะเวลา 2 ปี แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง ก็จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ติดเชื้ออย่างเดียวแต่เลี่ยงบุหรี่ได้ เชื้อจะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี ตรวจหาเชื้อ HPV รู้ก่อนรักษาก่อน ? ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง เป็นการตรวจแบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอ เป็นเทคนิคขั้นสูงแบบ Real-time PCR เป็นการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ความพิเศษของการตรวจนี้คือสามารถตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus Virus) กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 14 สายพันธุ์สำคัญที่สุดคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากถึง 74% ในผู้หญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และ 70% ในผู้หญิงทั่วโลก การตรวจพบได้เร็วจะช่วยให้ทราบความเป็นไปของสุขภาพร่างกายตัวเอง เพื่อวางแผนการดูแลและมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกแพทย์จะติดตามบ่อยครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป เพื่อให้แน่ใจว่าหากตรวจพบเชื้เอ HPV แล้วไม่มีการพัฒนาของโรคเป็นมะเร็ง ติดเชื้อ HPV แล้วต้องทำอย่างไร ? หากสังเกตเห็นความผิดปกติของตนเอง เช่น มีตุ่ม เกิดในบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจในแน่ชัด พร้อมวางแผนการรักษา ซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อ HPV ได้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้นแพทย์จะทำการรักษาหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยขึ้นหากคุณหมอวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ HPV ชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือ ตรวจคัดกรองจากเซลล์พบว่ามีรอยโรคระยะก่อนมะเร็งที่ปากมดลูก โดยที่ปากมดลูกมองด้วยตาเปล่ายังไม่เห็นรอยโรค จะได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการตรวจด้วยกล้องขยายปากมดลูกทางช่องคลอด (Colposcopy) เป็นเครื่องมือที่ให้ภาพขยายของปากมดลูก โดยจะตรวจดูปากมดลูกอย่างละเอียดและเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อบริเวณที่ผิดปกติมาวิเคราะห์ จากนั้นอาจทำการรักษาด้วยวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้การรักษา HPV ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก ? ผู้หญิงที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย คลอดบุตรหลายคน มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก ป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก 3 ปี และตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุก 5 ปี หากมีอาการผิดปกติทางนรีเวช ไม่ควรนิ่งนอนใจปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการตรวจหรือปรึกษากับสูตินรีแพทย์ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี เกณฑ์ในการฉีดวัคซีนจะแบ่งตามช่วงอายุ โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน ได้มากกว่า 90% อายุ 9 – 14 ปี ฉีดจำนวน 2 เข็ม สำหรับอายุ 15 ปี ขึ้นไป ฉีดจำนวน 3 เข็ม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ควรฉีดวัคซีนในช่วงเด็ก หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพราะหากได้รับเชื้อมาแล้วจะไม่สามารถป้องกันจากเชื้อนั้นได้เรียกได้ว่า “โรคมะเร็งปากมดลูก” เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงได้ หากต้องการมีสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขอนามัย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมถึงสำรวจตัวเองอย่างสม่ำเสมอและเข้ามามาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายใน และตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ คือ แทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือถุงที่มีเลือดคั่ง และไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็น เพราะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเพศหญิง ตราบใดที่ยังมีประจำเดือน ซึ่ง โรคนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมานให้สาวๆ ที่เป็นโรคนี้ได้ไม่น้อย อาการที่เสี่ยงเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ปวดท้องมากผิดปกติเวลามีประจำเดือน และปวดมากขึ้นๆ ทุกเดือน โดยอาจจะปวดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกรานและตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ รวมถึงการปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือนานกว่า 7 วัน และการมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ ประจำเดือนมาถี่ หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้นกว่าปกติ คือมีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ อาจเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ และไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดในช่วงมีประจำเดือน ถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุง ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง ปวดไมเกรนบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงก่อน และระหว่างมีประจำเดือน บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย แต่คลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้างเนื่องจากถุงน้ำโตขึ้นจนมีขนาดใหญ่และอยู่ในระยะที่เป็นอันตราย บางรายตรวจพบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากเนื่องจากท่อนำไข่ตีบตัน ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งผลพวงที่มีสาเหตุมาจากช็อกโกแลตซีสต์ เพราะเมื่อเยื่อบุนี้ไปเกาะอยู่บนรังไข่ ทำให้รังไข่มีพื้นในการผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยช็อกโกแลตซีสต์ไข่ที่ผลิตได้ก็ด้อยคุณภาพ และยังทำให้ท่อรังไข่คดงอ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันแล้วจึงผ่านมาฝังตัวได้อย่างไม่สมบูรณ์ หากพบว่าเป็นก็จะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด ในส่วนของการรักษา ในรายที่อาการรุนแรงไม่มาก แพทย์อาจให้สังเกตและติดตามอาการเป็นระยะ ในรายที่มีอาการพอสมควรแพทย์อาจรักษาโดยใช้ยา หรือหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้อง ผ่าตัด ช็อกโกแลตซีส ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันนี้แพทย์ก็จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นวิธีมาตรฐานในการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องนี้เป็นวิธีที่ทันสมัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS อันเป็นเทคนิคในการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว ซึ่งไม่น่ากลัวแต่อย่างใด จากที่คุณหมอให้ความรู้เรามาทั้งหมดนี้ก็จะพบว่า โรคช็อกโกแลตซีสต์ ก็ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวมาก หากคุณสาวๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองแล้วรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามก็น่าจะเป็นการดีที่สุด ก่อนที่โรคภัยจะมาคุกคามชีวิตและลุกลามจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา สอบถามเพิ่มเติมติดต่อศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319877

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด ในช่องคลอดของสตรีจะมีเชื้อแบคทีเรียที่คอยปกป้องช่องคลอดจากเชื้อราที่เป็นอันตราย โดยจะสร้างกรดมาควบคุมไม่ให้เชื้อราเจริญได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่ช่องคลอดมีภาวะไม่สมดุล หรือมีปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียเหล่านี้ถูกทำลาย ช่องคลอดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อนี้และมีอาการแสดงขึ้น เช่น คนในช่องคลอด หรือรอบ ๆ ปากช่องคลอด มีตกขาวคล้ายแป้งเปียกหรือคราบนม อาจมีความรู้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีผื่นแดงที่ช่องคลอดหรือขาหนีบ การรักษา เมื่อเเพทย์ตรวจจนได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อราที่ช่องคลอด แพทย์มักจะพิจารณารักาาด้วยยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม การป้องกัน ดูแลจุดซ่อนเล้นให้สะอาด ไม่อับชื้น สวมกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้น ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด กรณีมีความจำเป็นควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลทำลายแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ตกขาว

ตกขาว

ตกขาว(ปกติ) ตกขาวปกติมักมีลักษณะเป็นมูกใสหรือคล้ายเเป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่คัน โดยทั่วไปแล้ว สตรีอาจมีการตกขาวบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงของการตกไข่ ช่วงของการตั้งครรภ์ หรือช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็อาจจะยิ่งทำให้มีการตกขาวได้ชัดเจนขึ้น หากตกขาวมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นก็ไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรักษาแต่อย่างใด เว้นแต่การตกขาวนั้นเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ มีสีที่เปลี่ยนแปลง มีกลิ่น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888