ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer)

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งไม่สามารถบอกได้เลยว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นในตอนไหน ดังนั้นการรู้เท่าทันจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี

รู้จักภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) เป็นอาการแขนบวมที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเป็นด้วยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา อาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลังการรักษาไปแล้วหลายปี ซึ่งจะเกิดขึ้นกับแขนข้างเดียวกับที่เป็นมะเร็งเต้านม เกิดได้ตั้งแต่ปลายนิ้วมือไปจนถึงต้นแขน อาจเกิดขึ้นในบางบริเวณอย่างมือหรืออาจจะเกิดขึ้นทั้งแขนได้ หากบวมน้อยจะยังใช้งานแขนได้ปกติ แต่หากบวมมากอาจใช้งานแขนไม่ได้ ถ้ารีบรักษาทันทีจะช่วยให้อาการดีขึ้นและไม่บวมจนทำให้ใช้แขนไม่สะดวกได้

สาเหตุของโรค

สาเหตุของภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) ได้แก่

  1. ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกเพื่อรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกยิ่งมาก แขนยิ่งมีโอกาสบวมเพิ่มขึ้น และหากเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดเกิดพังผืดอาจส่งผลให้ท่อน้ำเหลืองเกิดพังผืด ทำให้ทางเดินน้ำเหลืองอุดตันส่งผลให้แขนบวมได้
  2. การฉายรังสีรักษาบริเวณรักแร้หรือเต้านม อาจทำให้เกิดพังผืดต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลืองหลังผ่าตัด ส่งผลให้ทางเดินน้ำเหลืองที่แขนอุดตัน แขนจึงบวมได้เช่นกัน ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้และฉายรังสีด้วย โอกาสแขนบวมจะยิ่งมากขึ้น
  3. แขนติดเชื้อ จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดและรังสีรักษา อาจทำให้เกิดการคั่งของน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อติดเชื้อและรักษาหายพังผืดในเนื้อเยื่อแขนจะเพิ่มขึ้น ทางเดินน้ำเหลืองจะอุดตันเพิ่มขึ้น
    ส่งผลให้แขนบวมมากขึ้น เมื่อติดเชื้อง่ายขึ้น ก็จะเป็น ๆ หาย ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ
  4. โรคมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือเหนือไหปลาร้า ทำให้อุดตันทางเดินน้ำเหลืองของแขน ส่งผลให้แขนบวมได้เช่นกัน

อาการบอกโรค

อาการภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ได้แก่

  • แขนบวม
  • ปวด ชา อ่อนแรง
  • แขนติด เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ
  • ผิวหนังหนา ไม่เรียบ
  • ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับแล้วรู้สึกคับ

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะประเมินหลังจากผ่าตัดมะเร็งเต้านมประมาณ 6 เดือน เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการในช่วงนี้ ซึ่งจะประเมินจากภาพถ่าย การวัดเส้นรอบวงแขนเหนือศอก การวัดปริมาตรแขน (Perometer) รวมถึงการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Lymphangiogram, Ultrasound, ICG lymphography, Lymphoscintigraphy, MRI, CT Scan เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

วิธีการรักษา

การรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer )ได้แก่

  1. ลดการบวม ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันและไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น อาทิ
    • ระวังอย่าให้แผลที่แขนติดเชื้อ ถ้าแผลเล็กต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนทายา ถ้าแผลใหญ่หรือแผลลึกต้องรีบพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ไม่ให้เป็นแผลหรือติดเชื้อง่าย
    • อย่าให้มือและแขนบาดเจ็บ ไม่เจาะเลือด ฉีดยา ฉีดวัคซีนแขนด้านที่ผ่าตัด ใส่ถุงมือยางเมื่อทำงานบ้าน
    • ไม่ควรบีบรัดแขนแน่น ไม่ใส่เสื้อคับหรือเครื่องประดับที่รัดแขนข้างที่ผ่าตัด
    • ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ไม่ยกของหนัก ไม่ออกกำลังที่ต้องใช้กำลังแขนหรือใช้แขนตลอดเวลา
    • ระวังการอาบน้ำร้อนเกินไปหรืออบตัวด้วยความร้อนมากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเหลืองคั่งมากขึ้น
    • หากนั่งนิ่งเป็นเวลานานควรยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ
    • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะเป็นต้นเหตุให้แขนบวม
    • ใส่ปลอกแขนรัดไล่น้ำเหลือง
    • นวดแขนไล่น้ำเหลือง
    • ใช้เลเซอร์กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลือง
    • หมั่นสังเกตแขนด้านที่ผ่าตัด หากบวมหรือผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ทันที
  2. การผ่าตัด เพื่อรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม ทำได้โดย
    • ผ่าตัดเชื่อมท่อน้ำเหลืองกับเส้นเลือดดำ เพื่อให้น้ำเหลืองสามารถกลับได้ทางเส้นเลือดดำแทน
    • ผ่าตัดปลูกถ่ายต่อมน้ำเหลือง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างทางเดินน้ำเหลืองขึ้นมาใหม่
    • ผ่าตัดเนื้อส่วนเกินหรือดูดไขมัน ในคนไข้ที่มีภาวะแขนบวมจนทำให้เกิดการสะสมของไขมันใต้ชั้นผิวหนังเพิ่มเติม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดได้สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้แขนบวมโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้และหากคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าเกิดภาวะแขนบวมควรมาตรวจพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาตั้งแต่มีอาการน้อยเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดนอกจากนั้นคนไข้ควรป้องกันไม่ให้แขนบวมมากขึ้นและไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแขนหากแขนบวมแดงร้อนปวดและมีไข้ต้องรีบพบแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย ผศ.พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง” “มะเร็งผิวหนัง” พบได้น้อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แสงแดดที่แรงมากในระดับอันตรายมากก็เป็นปัจจัยเสี่ยง และเนื่องในเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง จึงขอเชิญชวนชาวไทยทำความรู้จักกับมะเร็งชนิดนี้ เพื่อให้รู้ทันโรคและหาแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง โรคทางพันธุกรรมบางโรค คนผิวขาว หรือ ผิวเผือก สารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู แผลเรื้อรัง ภาวะภูมิต้านทานต่ำ การได้รังสีรักษา สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง ทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อรอยโรคที่สงสัยเพื่อตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และหลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการประเมินระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป การรักษามะเร็งผิวหนัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ทั้งนี้ ด้วยวิธีการรักษาทางมาตรฐานมักจะต้องทำการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก อาจจำเป็นต้องตัด ต่อมน้ำเหลืองในส่วนที่มะเร็งจะกระจายไป ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ยาเคมีบำบัด หรือ การให้รังสีรักษา ร่วมด้วย วิธีการป้องกันมะเร็งผิวหนัง หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เช่น ใส่แว่นกันแดด, ใช้ร่ม, สวมหมวก, สวมเสื้อแขนยาว ควรหมั่นสังเกตบนร่างกายตนเองเป็นประจำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หรือหากมีแผลเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป หากตรวจพบการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาโรคมะเร็งนั้นง่ายขึ้น เมื่อสงสัยว่าผิวหนังหรือไฝบนร่างกายของตนเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ามีความผิดปกติ ท่านควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง ท่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง มะเร็งนั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เคยได้ยินไหมคะที่คนดูแลสุขภาพดีแต่กลับเป็นมะเร็งแล้วนับภาษาอะไรกับคนที่ไม่ดูแลตัวเองหรือยังดูแลไม่เพียงพอ เช็ก 7 พฤติกรรมเสี่ยงที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เปอร์เซนต์ก่อโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น พฤติกรรมสูบบุหรี่ ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งที่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีเปอร์เซนต์ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ด้วย พฤติกรรมทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ทั้งการกินอาหารไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย ร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น นอกจากผลเสียทางด้านกายภาพแล้ว ยังส่งผลไปยังสุขภาพร่างกายอีกด้วย ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็งซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มักมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับบุหรี่ที่ทุกคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากๆ สามารถทำลายตับ และทำให้เกิดไขมันอุดตันในเลือดได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร พฤติกรรมทานอาหารไม่ถูกหลัก มากไปหรือน้อยไป ทำให้สารอาหารไม่สมดุล ก่อโรคต่างๆได้ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ และนอกจากโรคมะเร็งกระพาะอาหารแล้ว ยังเสี่ยงโรคอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ฯ การติดเชื้อ เมื่อเรารับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วภูมิคุ้มกันเราจะอ่อนแอ ทำให้เจ็บป่วยลงได้ ซึ่งเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้เซลล์เนื้อร้ายมีโอกาสเติบโต มีโอกาสชนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือที่เรียกว่าโรคแทรกซ้อน ไม่ออกกำลังกาย มีผลการวิจัยว่า การนั่งนานๆ ไม่ขยับกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายบ้าง ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ได้ เพราะส่วนหนึ่งมาจากการนั่งนานๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสายเพื่อเผาผลาญไขมันตามร่างกายเสียบ้าง บริเวณส่วนสะโพกและหน้าท้องของเราจะกลายเป็นจุดสะสมไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอัดตัน และมะเร็งลำไส้ได้ในที่สุด ทั้งนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วการตรวจร่างกายเป็นประจำถือ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อตรวจหารอยโรคต่างๆ เพราะหากเจอในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาหายขาดได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด เคมีบําบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมี โดยยาจะผ่านเข้าทางกระแสเลือดและไปทําลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ยาเคมีบําบัดสามารถให้โดยการฉีดเข้าทางร่างกาย เส้นเลือด หรือรับประทาน เคมีบําบัดช่วยขจัดหรือทําลายมะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือการกลับมาเป็นซ้ำ วัตถุประสงค์ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพื่อรักษาให้หายขาด (CURE) เป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาด เพื่อควบคุมโรค (CONTROL) สำหรับมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพื่อบรรเทาอาการ (PALLIATION) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์ร่างกายปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วด้วย เช่น ไขกระดูก, เซลล์เม็ดเลือด, ผม, เยื่อบุทางเดินอาหาร และเยื่อบุอวัยยะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดยาเคมีบำบัด ปริมาณยา วิธีการให้ยา และปัจจัยของตัวผู้ป่วยเองแต่ละคน แต่เมื่อหยุดการรักษาเซลล์เนื้อเยื่อเหล่านี้จะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้ การเตรียมตัวก่อนรับยาเคมีบําบัด เตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความวิตกกังวล แพทย์จะทําการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทํางานของหัวใจ เอกซเรย์ เป็นต้น ควรปัสสาวะหรืออุจจาระให้เรียบร้อยก่อนรับยา ไม่ควรกลั้นไว้ เพราะเป็นการเพิ่มภาวะเครียดและความไม่สุขสบาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมะเร็ง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง