มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็งตับ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่ต้องผ่าตัดผ่านเทคนิค TACE (Trans Arterial Chemo Embolization) ซึ่งเป็นวิธีการส่งยาเคมีบำบัดโดยตรงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังก้อนมะเร็งตับ พร้อมอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนเนื้อ เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ ลดภาวะแทรกซ้อน และฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติในระยะเวลาอันสั้น ความพร้อมและศักยภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ในการใช้เทคโนโลยีทางรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology: IR) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการรักษา ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาและอนุสาขา Sub-Board of Vascular and Interventional Radiology โรงพยาบาลพร้อมด้วยเครื่องมือวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยที่สุด อาทิ: • เอกซเรย์ (X-ray) • คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการรักษาอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยในทุกขั้นตอน พร้อมด้วยทีมแพทย์และบุคลากรที่ใส่ใจในทุกความต้องการของผู้ป่วย เราพร้อมให้การดูแลด้วยมาตรฐานระดับสูงสุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719
มะเร็งตับ (Liver cancer) มะเร็งตับ นับเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง สาเหตุของมะเร็งตับ มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โรคไขมันพอกตับในผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคตับคั่งน้ำดี โรคตับอักเสบจากระบบภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง อาการมะเร็งตับ ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่มีอาการ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเลือกโปรแกรมที่ตรวจความผิดปกติของตับอย่างครอบคลุมจึงมีความสำคัญมาก เพราะอาการของโรคมะเร็งตับมักแสดงในระยะที่ลุกลามแล้ว และอาการของมะเร็งตับที่พบบ่อย มีดังนี้ ปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีภาวะท้องมาน ขาบวม ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ตาเหลือง ตัวเหลือง การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ การซักประวัติตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein) การตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น การอัลตราซาวด์(Ultrasound) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การเจาะตับเพื่อตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งตับ มะเร็งตับลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆในร่ากาย ตับวาย ทำให้ตับเสียหน้าทีการทำงาน อาจถึงขั้นเสียขีวิตได้ การรักษาโรคมะเร็งตับ การวางแผนเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันออกไปตามการพิจารณาของแพทย์ โดยวิธี การรักษาหลักๆมีดังนี้ การผ่าตัด รังสีรักษา การให้เคมีบำบัด การปลูกถ่ายตับ การป้องกันโรคมะเร็งตับ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่มีควันบุหรี่ ป้องกันตัวเองด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และซี ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนอย่างเพียงพอ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์
ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง และเพราะการออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจงนี้เองจึงทำให้ผลข้างเคียง โดยรวมของยามุ่งเป้าน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ทั้งนี้ในมะเร็งแต่ละชนิดอาจจะมียามุ่งเป้าที่แตกต่างกัน และไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดที่สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้ สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ยามุ่งเป้าคืออะไร ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ การใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือเข้าไปทำลายโปรตีนที่เป็นเป้ามายภายในเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้สามารถยับยั้งการแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การใช้ยามุ่งเป้าเพื่อรักษามะเร็ง แพทย์เฉพาะทางมะเร็งจะตรวจการกลายพันธุ์และโปรตีนในชิ้นเนื้อมะเร็ง หรือในเลือด ของผู้ป่วย เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยรายนั้น ๆ ผลข้างเคียงที่พบได้จากยามุ่งเป้า เมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้ามีผลข้างเคียงต่ำกว่า แต่หลังการรักษาด้วยยามุ่งเป้าก็อาจพบอาการข้างเคียงได้เช่นกัน อาทิ ผิวแห้ง ผื่นผิวหนังลักษณะคล้ายสิว คัน จมูกเล็บอักเสบ ท้องเสีย เยื่อบุปากอักเสบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งอย่างใกล้ชิด ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย นพ.จิตรการ มิติสุบิน
7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง มะเร็งนั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เคยได้ยินไหมคะที่คนดูแลสุขภาพดีแต่กลับเป็นมะเร็งแล้วนับภาษาอะไรกับคนที่ไม่ดูแลตัวเองหรือยังดูแลไม่เพียงพอ เช็ก 7 พฤติกรรมเสี่ยงที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เปอร์เซนต์ก่อโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น พฤติกรรมสูบบุหรี่ ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งที่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีเปอร์เซนต์ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ด้วย พฤติกรรมทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ทั้งการกินอาหารไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย ร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น นอกจากผลเสียทางด้านกายภาพแล้ว ยังส่งผลไปยังสุขภาพร่างกายอีกด้วย ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็งซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มักมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับบุหรี่ที่ทุกคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากๆ สามารถทำลายตับ และทำให้เกิดไขมันอุดตันในเลือดได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร พฤติกรรมทานอาหารไม่ถูกหลัก มากไปหรือน้อยไป ทำให้สารอาหารไม่สมดุล ก่อโรคต่างๆได้ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ และนอกจากโรคมะเร็งกระพาะอาหารแล้ว ยังเสี่ยงโรคอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ฯ การติดเชื้อ เมื่อเรารับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วภูมิคุ้มกันเราจะอ่อนแอ ทำให้เจ็บป่วยลงได้ ซึ่งเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้เซลล์เนื้อร้ายมีโอกาสเติบโต มีโอกาสชนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือที่เรียกว่าโรคแทรกซ้อน ไม่ออกกำลังกาย มีผลการวิจัยว่า การนั่งนานๆ ไม่ขยับกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายบ้าง ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ได้ เพราะส่วนหนึ่งมาจากการนั่งนานๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสายเพื่อเผาผลาญไขมันตามร่างกายเสียบ้าง บริเวณส่วนสะโพกและหน้าท้องของเราจะกลายเป็นจุดสะสมไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอัดตัน และมะเร็งลำไส้ได้ในที่สุด ทั้งนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วการตรวจร่างกายเป็นประจำถือ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อตรวจหารอยโรคต่างๆ เพราะหากเจอในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาหายขาดได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ
บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง