มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ นับเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง

สาเหตุของมะเร็งตับ

  • มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • โรคไขมันพอกตับในผู้ที่เป็นโรคอ้วน
  • โรคตับคั่งน้ำดี
  • โรคตับอักเสบจากระบบภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง

อาการมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่มีอาการ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเลือกโปรแกรมที่ตรวจความผิดปกติของตับอย่างครอบคลุมจึงมีความสำคัญมาก เพราะอาการของโรคมะเร็งตับมักแสดงในระยะที่ลุกลามแล้ว และอาการของมะเร็งตับที่พบบ่อย มีดังนี้

  • ปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
  • มีภาวะท้องมาน
  • ขาบวม
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

  1. การซักประวัติตรวจร่างกาย
  2. การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein)
  3. การตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น การอัลตราซาวด์(Ultrasound) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  4. การเจาะตับเพื่อตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งตับ

  • มะเร็งตับลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆในร่ากาย
  • ตับวาย ทำให้ตับเสียหน้าทีการทำงาน อาจถึงขั้นเสียขีวิตได้

การรักษาโรคมะเร็งตับ

การวางแผนเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันออกไปตามการพิจารณาของแพทย์ โดยวิธี

การรักษาหลักๆมีดังนี้

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่มีควันบุหรี่
  • ป้องกันตัวเองด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และซี
  • ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนอย่างเพียงพอ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด เคมีบําบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมี โดยยาจะผ่านเข้าทางกระแสเลือดและไปทําลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ยาเคมีบําบัดสามารถให้โดยการฉีดเข้าทางร่างกาย เส้นเลือด หรือรับประทาน เคมีบําบัดช่วยขจัดหรือทําลายมะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือการกลับมาเป็นซ้ำ วัตถุประสงค์ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพื่อรักษาให้หายขาด (CURE) เป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาด เพื่อควบคุมโรค (CONTROL) สำหรับมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพื่อบรรเทาอาการ (PALLIATION) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์ร่างกายปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วด้วย เช่น ไขกระดูก, เซลล์เม็ดเลือด, ผม, เยื่อบุทางเดินอาหาร และเยื่อบุอวัยยะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดยาเคมีบำบัด ปริมาณยา วิธีการให้ยา และปัจจัยของตัวผู้ป่วยเองแต่ละคน แต่เมื่อหยุดการรักษาเซลล์เนื้อเยื่อเหล่านี้จะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้ การเตรียมตัวก่อนรับยาเคมีบําบัด เตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความวิตกกังวล แพทย์จะทําการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทํางานของหัวใจ เอกซเรย์ เป็นต้น ควรปัสสาวะหรืออุจจาระให้เรียบร้อยก่อนรับยา ไม่ควรกลั้นไว้ เพราะเป็นการเพิ่มภาวะเครียดและความไม่สุขสบาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมะเร็ง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อป่วยเป็นมะเร็งผู้ป่วยมักวิตกกังวลและสงสัยว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งการใช้ชีวิตนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนหรือต่างไปจากเดิมมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือความเข้าใจ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และไม่ต้องกังวลใจ เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งนี้ คือสิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็นมะเร็ง 1) ทานอาหารใหม่ สด สะอาด เลี่ยงของดิบ ของหมักดอง สามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลได้ แต่รักษาระดับให้พอดี และควรทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างไข่ขาว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือจะเลี่ยงมารับประทานเต้าหู้แทนได้เช่นกัน นอกจากนี้สามารถรับประทานอาหารทะเลได้ด้วย 2) รักษาน้ำหนักให้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะตอนที่รักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพราะหากน้ำหนักลดจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก 3) ระวังอย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะหากท้องผูกจะส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งกินไม่ได้ น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษาค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจึงควรรับประทานผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูก แต่หากดูแลตนเองแล้วยังท้องผูก สามารถรับประทานยาระบายช่วยได้ 4) ออกกำลังกายหรือทำงานเท่าที่ไหว หลายคนที่ป่วยเป็นมะเร็งคิดว่าจะต้องนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วนอกจากการพักผ่อน มีผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำงานระหว่างการรักษามะเร็งมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากสามารถทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้หลังทำการรักษาก็ควรทำ เพราะนอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดตึงข้อ ยังช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง เว้นแต่ในกรณีที่มีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้เหนื่อยและจำเป็นต้องนอนพักนานเป็นสัปดาห์ 5) พักผ่อนให้เพียงพอและถูกต้อง นั่นคือไม่ได้นอนหลับทั้งวัน แต่เป็นการนอนตามนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ซึ่งเวลาในการนอนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ควรนอนก่อน 5 ทุ่มจะดีที่สุด และควรนอนให้ได้ 8 – 9 ชั่วโมง สังเกตได้จากเมื่อตื่นนอนต้องไม่มีอาการอ่อนเพลียและไม่ควรมีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน 6) ดูแลจิตใจให้ดี นอกจากคิดดีทำดีแล้ว การระวังเรื่องความเครียดคือสิ่งสำคัญ เพราะความเครียดทำให้มะเร็งลุกลามได้ เมื่อฮอร์โมนความเครียดหลั่งจะทำให้มะเร็งโตขึ้น มะเร็งดื้อยามากขึ้น มะเร็งกระจายตัวมากขึ้น ดังนั้นเมื่อความเครียดไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งควรทำใจให้สบายและมีความสุขในทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่ต้องทำด้วยตัวคุณเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก ของหมัก ของดอง เมื่อได้กินแล้วชื่นใจ แต่รู้หรือไม่สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก เชื่อหรือไม่ว่าโรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงคนที่อายุน้อยและกลุ่มวัยรุ่นและพบได้บ่อยในชาวเอเชีย รู้จักมะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก คือ มะเร็งที่เกิดในบริเวณด้านหลังโพรงจมูก มะเร็งชนิดนี้พบบ่อยในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน เกาหลี เป็นต้น แต่พบไม่บ่อยในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ซึ่งมะเร็งหลังโพรงจมูกที่เกิดในแถบเอเชียนี้มักจะพบได้ในกลุ่มคนที่อายุน้อย กลุ่มวัยรุ่น และพบได้ในเพศชาย ส่วนแถบยุโรปและอเมริกานั้นมักจะพบในคนอายุมาก ในชาวเอเชียพบมะเร็งหลังโพรงจมูกค่อนข้างเยอะ ตัวการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีการติดเชื้อไวรัส EBV (Ebstein Barr Virus) และเชื่อกันว่ามีปัจจัยอื่น ๆ หรือพฤติกรรมด้านอาหาร ร่วมด้วย เช่น อาหารหมักเกลือ อาหารหมักดอง สมุนไพรจีนบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไวรัสชนิดนี้ทำงานจนมีการอักเสบเรื้อรัง (Viral Reactivation) แต่ในแถบโซนยุโรปและอเมริกานั้นส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นก็พบได้เช่นกันคือ มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง อาการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ หูอื้อข้างเดียว ติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ มีก้อนบริเวณคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ตาพร่า ใบหน้าชา หากเป็นมากอาจมีอาการมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ปวดหลัง ไอ ทานไม่ได้ น้ำหนักลด ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป รักษามะเร็งหลังโพรงจมูก รักษาโดยใช้การฉายแสง (Radiation) ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การดำเนินโรคของมะเร็งหลังโพรงจมูก หากเป็นระยะแรกจะค่อนข้างดี โอกาสหายขาดสูงมาก เช่น ในระยะที่ 1 และ 2 หากรักษาถูกต้องตามขั้นตอน โอกาสหายสูงถึง 80 – 90% หากเป็นระยะที่ 3 หรือ 4 โอกาสหายลดลงเหลือ 50 – 60% มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer) พบได้บ่อยในชาวเอเชีย ปัจจัยเสี่ยงคือการติดเชื้อ EBV ที่ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง มะเร็งนี้มักพบในเพศชาย อายุน้อย หากเจอในระยะแรก รักษาถูกต้อง โอกาสหายจะค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง” “มะเร็งผิวหนัง” พบได้น้อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แสงแดดที่แรงมากในระดับอันตรายมากก็เป็นปัจจัยเสี่ยง และเนื่องในเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง จึงขอเชิญชวนชาวไทยทำความรู้จักกับมะเร็งชนิดนี้ เพื่อให้รู้ทันโรคและหาแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง โรคทางพันธุกรรมบางโรค คนผิวขาว หรือ ผิวเผือก สารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู แผลเรื้อรัง ภาวะภูมิต้านทานต่ำ การได้รังสีรักษา สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง ทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อรอยโรคที่สงสัยเพื่อตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และหลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการประเมินระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป การรักษามะเร็งผิวหนัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ทั้งนี้ ด้วยวิธีการรักษาทางมาตรฐานมักจะต้องทำการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก อาจจำเป็นต้องตัด ต่อมน้ำเหลืองในส่วนที่มะเร็งจะกระจายไป ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ยาเคมีบำบัด หรือ การให้รังสีรักษา ร่วมด้วย วิธีการป้องกันมะเร็งผิวหนัง หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เช่น ใส่แว่นกันแดด, ใช้ร่ม, สวมหมวก, สวมเสื้อแขนยาว ควรหมั่นสังเกตบนร่างกายตนเองเป็นประจำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หรือหากมีแผลเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป หากตรวจพบการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาโรคมะเร็งนั้นง่ายขึ้น เมื่อสงสัยว่าผิวหนังหรือไฝบนร่างกายของตนเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ามีความผิดปกติ ท่านควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง ท่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ