รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ปวดคอ บ่า ไหล่ บางรายปวดร้าวตึงขึ้นขมับ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลต่อสุขภาพเรื้อรังได้ สาเหตุการเกิดออฟฟิศซินโดรม สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ปัจจัยจากตัวบุคคล ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น อาการ ปวดกล้ามเนื้อ มักมีอาการปวดแบบเมื่อยล้าเป็นบริเวณกว้าง ที่พบบ่อยคือปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ชา ซ่า วูบเย็น ตรงบริเวณที่ปวด บางรายมีอาการมึนศีรษะ หูอื้อ ตาพร่า หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการของระบบประสาทถูกกดทับ เช่น มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนและมือ การดูแลรักษา ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม รักษาด้วยยา ทำกายภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างเหมาะสม ปรับอริยาบถและพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้อง รักษาด้วยศาสตร์ทางเลือก เช่น ฝังเข็ม นวดแผนไทย การป้องกัน จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ดูแลจัดการความเครียด การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 3 มื้อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร039-319888

กลืนลำบาก

กลืนลำบาก

กลืนลำบาก กลืนลำบากไม่ใช่เรื่องเล็ก กลุ่มเสี่ยงควรดูแลอย่างใกล้ชิดและควรตรวจประเมินการกลืน เพื่อป้องกันกันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง ผู้ป่วยที่เคยใส่ท่อช่วยหายใจนาน ๆ อาการ สำลัก หรือเจ็บ ขณะกลืนอาหารหรือเคี้ยวอาหารลำบาก รู้สึกอาหารติดในคอหรือมีอาหารออกทางจมูก ไอ หรือ หอบ ขณะหรือหลังรับประทานอาหาร เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ หายใจไม่อิ่ม รับประทานอาหารได้ช้า มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ของการตรวจการกลืน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน โดยเฉพาะเรื่องปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร ซึ่งอาจก่อผลกระทบรุนแรงถึงชีวิตของผู้ป่วยได้ เพื่อวางแผนการถอดสายให้อาหารในผู้ป่วยรายที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีความสามารถในการกลืนด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากการสำลักอาหารโดยไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น เชื่อว่าหลายคนคงมีประสบการณ์ตื่นขึ้นมาแล้วปวดหลัง พาลทำให้คุณภาพการนอนของเราแย่ลงใช้ชีวิตลำบากขึ้น แก้ ด้วย 3 ท่านอนนี้! จะช่วยถนอมหลังของคุณได้! อาการปวดหลัง ส่วนใหญ่เกิดจาก ความเครียด น้ำหนักส่วนเกิน การยกของผิดวิธี การนั่งในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้นะคะ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษา เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนท่านอนที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลังได้ 3 ท่านอนลดอาการปวดหลัง นอนตะแคงข้างก่ายหมอน นอนตะแคงข้างที่ถนัด หนุนหมอนที่ศีรษะตามปกติ งอเข่าทั้งสองข้างและวางหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าแตะที่นอน เพราะกระดูกสันหลังส่วนล่างจะพลิก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้ นอนหงายหนุนเข่า นอนหงายหนุนหมอนที่ศีรษะ ปล่อยตัวตามสบายโดยวางหมอนหนุนอีกใบไว้ใต้หัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยรักษาความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่านี้เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดหลังที่ไม่รุนแรงมากนัก นอนคว่ำหนุนหน้าท้อง หากคุณไม่สามารถนอนท่าอื่นๆ ได้ และจำเป็นต้องนอนคว่ำ ให้นอนหนุนหมอนบริเวณช่วงคอและหน้าอกส่วนบน โดยหันใบหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และนำหมอนหนุนอีกใบวางไว้ใต้บริเวณสะโพก เพื่อผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง และหากยังรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดอยู่ให้นำหมอนหนุนที่ศีรษะออก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การออกกำลังกายหลังผ่าตัดเต้านม

การออกกำลังกายหลังผ่าตัดเต้านม

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดเต้านม ควรสังเกตลักษณะผิวหนังว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือมีอาการปวดหรือบวมมากขึ่นหรือไม่ ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้และสะอาดอยู่เสมอ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (6 แก้ว / วัน) เมื่อต้องออกนอกบ้านหรืออยู่กลางแจ้ง ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือการเกิดบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อย และแสงแดดที่ทำให้เกิดผิวไหม้จากแสงแดดได้ ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้า ยกทรง และเครื่องประดับที่รัดแน่นเกินไป หลีกเลี่ยงการถือกระเป๋าหรือของหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม หรือการทํากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวซ้า ๆ ของแขนข้างที่ผ่าตัด เช่น การถูบ้าน รีดผ้าหรือซักผ้า ในปริมาณมากๆ เป็นต้น หากต้องนั่งเป็นเวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรยกแขนข้างที่ผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจ ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวของแขนข้างนั้นเป็นครั้งคราว เพื่อลดการบวมของแผลผ่าตัด หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า หรือประคบร้อนบริเวณแผลผ่าตัดที่ยังไม่หายดี ไม่ควรนอนตะแคงทับข้างที่ผ่าตัด ข้อห้ามในการออกกําลังกาย มีอาการอ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ มีอาการปวดแผล หรือปวดกล้ามเนื้อมากๆ หรือเป็นตะคริว ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และ มีอาการเจ็บหน้าอก มีอาการคลื่นไส้ ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นช้าลงหรือเร็วมากผิดปกติ ขณะออกกําลังกาย มีอาเจียนหรือท้องเสีย ในช่วง 24-36 ชั่วโมง ก่อนออกกําลังกาย มีอาการสับสน มึนงง มองภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ หน้าซีด เป็นลม หลังการทําเคมีบําบัด 24 ชั่วโมง ควรงดออกกําลังกาย ประโยชน์ของการออกกําลังกาย ป้องกันการติดแข็งของข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะข้างที่ผ่าตัด ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง ช่วยทําให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจําวัน และทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น การออกกำลังกาย ท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้ เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย รบกวนการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888