การรักษาด้วยคลื่นกระแทก
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(16-03-2023)-(16-38-13).png)
ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ
ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ เคยสงสัยไหม ? ทำไมตื่นมาแล้วปวดหลัง ยิ่งนอนยิ่งเมื่อย อาจเป็นเพราะเราเรามีพฤติกรรมนอนผิดท่า หรือนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช็ก 4 ท่านอนแบบผิดๆที่ควรเลี่ยง เสี่ยงกล้ามเนื้ออักเสบกระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอ “การนอน” ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เป็นเวลาทองให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งเราทุกคนล้วนใช้เวลาการนอนไปถึง 1 ใน 4 ส่วนของวันเลยทีเดียวการนอนในท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สุขภาพโดยรวมดี ไม่มีการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหรือระบบประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนวัยอันควร 4 ท่านอนผิดๆ ที่ไม่ควรนอนเสี่ยงเสียสุขภาพ การนอนขดตัวคุดคู้ การนอนขดตัวคุดคู้ คือ เป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากมีลักษณะการก้มศีรษะ โก่งหลัง พับสะโพก งอเข่าก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในหลากหลายแง่มุมการนอนท่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ดังนี้ ปวดเข่า,กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง,กระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอผิดรูปปวดคอจากกล้ามเนื้ออักเสบ การนอนคว่ำ การนอนคว่ำ ถือว่าเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการนอนคว่ำจะทำให้ผู้นอนหายใจไม่สะดวก กระดูกสันหลังแอ่นมากกว่าปกติ และขณะที่นอนก็ต้องมีการบิดคอไปทางซ้ายหรือทางขวารวมถึงมีการแอ่นไปข้างหลังอีกด้วย จึงอาจก่อให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อคอ เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังได้ โดยแนะนำให้หาหมอนมารองช่วงหน้าอกหรือช่วงท้องก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน ท่านอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนโดยที่มีหมอนรองที่หลังเอาไว้ แล้วนอนเอนหลังและไถลตัวไปบนเตียงนอนหรือโซฟา พร้อมกับเล่นโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ นั้น ทำให้ผู้ที่นอนท่านี้ต้องงอหรือก้มคอเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการที่มีการแอ่นของหลังขณะนั่งได้อีกด้วย การนอนทับต้นแขนตัวเอง การกดทับต้นแขนของตัวเองซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาท (Radial Nerve) อยู่ เป็นเวลานาน โดยอาจเกิดจากการทับของศีรษะหรือการพาดแขนบนพื้นผิวต่างๆ เช่น พนักเก้าอี้ พอเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ แล้ว จึงก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาทตามมาที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการข้อมือตก ทำให้กระดกข้อมือไม่ขึ้น อาการข้อมือตกจากการถูกกดทับของเส้นประสาทเรเดียน (Radial Nerve) นี้ เรียกว่า Saturday night palsy หรือ Honeymoon palsy โดยส่วนใหญ่แล้วอาการมักไม่ร้ายแรงและสามารถหายเองได้ ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนมากแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ นอนแบบไหนคุณภาพการนอนดีเยี่ยม ! ท่านอนหงาย เป็นท่านอนปกติที่คนส่วนใหญ่นิยมนอนกัน เนื่องจากการนอนหงายทำให้น้ำหนักตัวกระจายลงไปตามส่วนต่างๆ ของแผ่นหลัง จึงไม่มีน้ำหนักลงจุดใดจุดหนึ่งมากกว่าปกติ อีกทั้งกระดูกสันหลังก็อยู่ในแนวตรง ไม่มีการโค้งผิดรูป และหากมีหมอนรองใต้เข่าขณะนอนหงายก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น เนื่องจากการรองหมอนไว้ใต้เข่าทำให้ข้อสะโพกมีการงอเล็กน้อย จึงช่วยลดการแอ่นของหลังส่วนล่างและป้องกันการปวดหลังได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การนอนหงายอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดหลัง มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือนอนกรนเป็นประจำ เป็นต้น ท่านอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดีอีกท่าหนึ่งที่คนนิยมกัน เป็นท่าที่นอนสบายและสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ ควรนอนตะแคงโดยมีหมอนข้างไว้ให้กอดและพาดขา ส่วนหมอนหนุนที่ใช้ก็ไม่ควรเตี้ยจนเกินไปเพราะจะทำให้ปวดต้นคอได้ ควรใช้หมอนหนุนที่เมื่อนอนตะแคงแล้วศีรษะอยู่ระดับเดียวกับลำตัว หรือกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ระดับเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนอกและส่วนเอว เครื่องนอน เนื่องจากเครื่องนอนที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละบุคคล จึงแนะนำให้จัดเตรียมเครื่องนอนที่นอนแล้วสบายที่สุด หมอนสูงกำลังดี ฟูกที่นิ่มพอดีจะช่วยพยุงหลังของเรา มีหมอนข้างไว้กอดเมื่อต้องการนอนตะแคง นอนตื่นขึ้นมาแล้วไม่ปวดคอหรือปวดหลังก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม ห้องนอนควรเป็นห้องที่มืดสนิท ไม่มีแสงและเสียงรบกวนขณะนอนหลับ หรืออาจหาอุปกรณ์ตัวช่วย เช่น ที่ปิดตา หรือที่อุดหู เพื่อให้เรานอนหลับได้สนิท ให้การนอนหลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนจริงๆ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ
-(23-08-2023)-(17-02-54).png)
ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร
ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้ เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย รบกวนการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(23-01-2023)-(08-36-43).png)
ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ปวดคอ บ่า ไหล่ บางรายปวดร้าวตึงขึ้นขมับ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลต่อสุขภาพเรื้อรังได้ สาเหตุการเกิดออฟฟิศซินโดรม สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ปัจจัยจากตัวบุคคล ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น อาการ ปวดกล้ามเนื้อ มักมีอาการปวดแบบเมื่อยล้าเป็นบริเวณกว้าง ที่พบบ่อยคือปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ชา ซ่า วูบเย็น ตรงบริเวณที่ปวด บางรายมีอาการมึนศีรษะ หูอื้อ ตาพร่า หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการของระบบประสาทถูกกดทับ เช่น มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนและมือ การดูแลรักษา ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม รักษาด้วยยา ทำกายภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างเหมาะสม ปรับอริยาบถและพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้อง รักษาด้วยศาสตร์ทางเลือก เช่น ฝังเข็ม นวดแผนไทย การป้องกัน จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ดูแลจัดการความเครียด การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 3 มื้อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร039-319888
-(22-08-2023)-(16-21-35).png)
ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง
การนั่งทำงาน อาจจะดูสบาย ๆ แต่ถ้าทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นภัยเงียบที่คอยทำลายสุขภาพทีละนิดก็เป็นได้ การนั่งทำงานผิดท่าสามารถนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง บางคนต้องกินยาประจำ บางคนอาจต้องกายภาพบำบัด หรือบางคนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นนั้นควรรีบปรับตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า 4 ท่านั่งทำงาน ที่เสี่ยงทำลายสุขภาพระยะยาว 1.นั่งไขว่ห้าง 2.นั่งขัดสมาธิ 3.นั่งหลังงอ หลังค่อม 4.นั่งไม่เต็มก้น ทั้งนี้ควรปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง - ปรับเก้าอี้ให้ได้ระดับเดียวกับโต๊ะ - นั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี - ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา ขนานไปกับโต๊ะ - หลังต้องชิดติดกับพนักพิง - บริเวณก้นกบไม่ควรเหลือช่องว่าง - อาจหาหมอนเล็ก ๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้เรานั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง และนั่งทำงานนาน ๆ ได้สบายขึ้น นอกจากปรับท่านั่งแล้ว พื้นที่ทำงานควรมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และอย่าลืมขยับท่าทางเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้เลือดได้ไหลเวียน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกทำให้ชินจนเป็นนิสัย จะได้ไม่ปวดหลัง ปวดไหล่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS Wellness Clinic และ BDMS สถานีสุขภาพ
-(22-12-2023)-(10-40-41).png)
การออกกำลังกายหลังผ่าตัดเต้านม
ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดเต้านม ควรสังเกตลักษณะผิวหนังว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือมีอาการปวดหรือบวมมากขึ่นหรือไม่ ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้และสะอาดอยู่เสมอ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (6 แก้ว / วัน) เมื่อต้องออกนอกบ้านหรืออยู่กลางแจ้ง ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือการเกิดบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อย และแสงแดดที่ทำให้เกิดผิวไหม้จากแสงแดดได้ ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้า ยกทรง และเครื่องประดับที่รัดแน่นเกินไป หลีกเลี่ยงการถือกระเป๋าหรือของหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม หรือการทํากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวซ้า ๆ ของแขนข้างที่ผ่าตัด เช่น การถูบ้าน รีดผ้าหรือซักผ้า ในปริมาณมากๆ เป็นต้น หากต้องนั่งเป็นเวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรยกแขนข้างที่ผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจ ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวของแขนข้างนั้นเป็นครั้งคราว เพื่อลดการบวมของแผลผ่าตัด หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า หรือประคบร้อนบริเวณแผลผ่าตัดที่ยังไม่หายดี ไม่ควรนอนตะแคงทับข้างที่ผ่าตัด ข้อห้ามในการออกกําลังกาย มีอาการอ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ มีอาการปวดแผล หรือปวดกล้ามเนื้อมากๆ หรือเป็นตะคริว ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และ มีอาการเจ็บหน้าอก มีอาการคลื่นไส้ ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นช้าลงหรือเร็วมากผิดปกติ ขณะออกกําลังกาย มีอาเจียนหรือท้องเสีย ในช่วง 24-36 ชั่วโมง ก่อนออกกําลังกาย มีอาการสับสน มึนงง มองภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ หน้าซีด เป็นลม หลังการทําเคมีบําบัด 24 ชั่วโมง ควรงดออกกําลังกาย ประโยชน์ของการออกกําลังกาย ป้องกันการติดแข็งของข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะข้างที่ผ่าตัด ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็น ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง ช่วยทําให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจําวัน และทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น การออกกำลังกาย ท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888