ภาวะชักจากไข้สูง

เมื่อเด็กมีไข้และชักควรปฏิบัติอย่างไร

ภาวะชักจากไข้มีพยากรณ์โรคที่ดีไม่ทําให้สติปัญญาถดถอยหรือมีการทําลายของเนื้อสมองอย่างถาวร
ดังนั้นไม่ต้องตกใจควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ป้องกันการอุดตันของเสมหะโดยจับเด็กนอนหงายหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย ดูดเสมหะเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก
  2. ห้ามใช้สิ่งของเพื่องัดฟัน เช่น ด้ามช้อนหรือนิ้ว จะทําให้เกิดอันตรายต่อเด็กและยังจะทําให้ผู้พยาบาลเด็กได้รับบาดเจ็บไปด้วย
  3. คลายเสื้อผ้าออกเพื่อสะดวกต่อการปฐมพยาบาล
  4. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกเพื่อคลายความร้อน
  5. ไม่พยายามเขย่าหรือตีเด็ก
  6. ถ้าชักเกิน 10 นาทีหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปกติ ต้องรีบนําเด็กส่งโรงพยาบาลพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันชักเมื่อเด็กมีไข้

  1. ให้ยาลดไข้ เมื่อเริ่มมีไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา
  3. การให้ยากันชักมีข้อบ่งชี้คือ คนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกลายเป็นโรคลมชัก มีประวัติชักโดยไม่มีไข้ในครอบครัว และมีการพัฒนาที่ผิดปกติก่อนชัก หรือชักเฉพาะที่

เด็กที่ชักจากไข้ไม่ต้องให้ยาป้องกันชัก ในบางกรณีที่ผู้ปกครองกังวลมากอาจเลือกใช้ยาป้องกันอาการชักเฉพาะ เมื่อเด็กมีไข้เท่านั้น แต่ยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงทําให้เด็กง่วงซึมและมีความเสี่ยงต่อการบดบังอาการของการติดเชื้อขึ้นไปบนสมองได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

สมาธิสั้นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ( ก่อนอายุ 7 ขวบ ) ที่เป็นผลจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ทําให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม สมาธิ การจดจ่อ ใส่ใจ ทําให้มีปัญหาการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคมตามมา กลุ่มอาการที่พบ อาการขาดสมาธิ (Attention deficit ) : วอกแวกง่าย เหม่อลอย ไม่ตัองใจทํางาน ขี้ลืม ไม่รอบคอบ อาการหุนหัน พลันแล่น วู่วาม (Impulsive ) : ใจร้อน ทําอะไรไม่คิด พูดโพล่ง / พูดแทรก รอคอยไม่ได้ อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) : ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา พูดมาก ชอบแกล้งเพื่อน เด็กบางคนอาจมีแค่อาการซน หุนหันเป็นอาการเด่น ( พบมากในเด็กผู้ชาย ) บางคนอาจมีแค่อาการขาดสมาธิเป็นอาการ เด่น หรืออาจพบทั้งสามกลุ่มอาการเลยก็ได้ เด็กคนอื่นเป็นกันเยอะไหม ในประเทศไทยประมาณกันว่าทุกๆเด็ก 100 คน จะมี 5 คน ที่มีอาการสมาธิสั้น ทําไมเป็นสมาธิสั้น เป็นผลจากพันธุกรรมหรือมารดาได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ( โดพามีน , นอร์อิพิเนพฟิน ) ส่งเสริมให้อาการรุนแรงมากขึ้นด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่มีระเบียบวินัย เรารักษากันอย่างไร การกินยากลุ่ม Psychostimulant เพื่อกระตุ้นปรับสมดุลเคมีในสมอง ไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อกินยาติดต่อกัน การกินยา ต่อเนื่องนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเด็ก การฝึกวินัยและการปรับพฤติกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การรักษาเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และการฝึกวินัย การปรับพฤติกรรม ดังนั้นครูจึงนับมีบทบาทสำคัญไม่แพ้คนในครอบครัวในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ สำหรับคำแนะนำการดูแลเด็กกลุ่มนี้เมื่ออยู่โรงเรียน ได้แก่ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายในการเตือนเด็ก ให้กลับมาตั้งใจเรียนเมื่อเด็กขาดสมาธิให้นั่งอยู่ท่ามกลางเด็กเรียบร้อยที่ไม่คุยในระหว่างเรียน จัดให้นั่งกลางห้อง หรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสวอกแวก โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถ และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทํา เช่น ให้ช่วยครูแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง ลบกระดานดํา เติมน้ำใส่แจกัน เป็นต้น ให้คําชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดีหรือทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดรูปแบบวิธีตักเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทําให้เด็กเสียหน้า เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทําในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดํา พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้สั้นที่สุด ถ้าต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรสั่งตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คําสั่ง ให้เวลาทําให้เสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คําสั่งต่อไป หลังจากสั่งเด็ก ควรถามกลับว่าสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและยืนยันในคําสั่ง ตรวจสมุดงานสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วนและฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงาน ถ้าสมาธิสั้นมาก ควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความพยายามทํางานให้เสร็จทีละอย่าง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ให้เน้นความรับผิดชอบที่จะต้องทํางานให้เสร็จ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตําหนิ ประจาน ประณาม หรือทําให้เด็กอับอายขายหน้าและไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เช่น การตี หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทําของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทําเวรหรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน ( เพื่อทํางานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ ) เมื่อเด็กทําความผิด มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกําลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ถ้ามีความบกพร่องด้านการเรียนร่วมด้วย ควรให้เด็กได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว เพราะทําให้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอนสําหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก สาเหตุที่ทําให้เด็กป่วยเป็นโรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ช่วงแรกอาจเป็นแค่หวัด มีไข้ธรรมดา ต่อมาอาจลุกลามเป็นปอดอักเสบได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปอดบวมคือ เด็กที่อายุน้อยมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย มีภาวะทุพโภชนาการ มีโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดหรือมีโรคปอดร่วมด้วย เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี อยู่ในที่ ๆ มีควันพิษมากจะมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้มากกว่าเด็กปกติ เชื้อที่ทําให้เกิดโรคปอดอักเสบส่วนมากเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้ออื่น เช่น เชื้อรา Preumocyshic Carinii เป็นต้น ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสส่วนมากอาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เองและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ เมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสําลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสําลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลมปอด หากจํานวนเชื้อที่สูดสําลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกําจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา อาการของเด็กที่ปอดบวมแบ่งออกได้เป็น อาการไม่เฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยจะมีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมี อาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนม ผู้ป่วยปอดอักเสบส่วนใหญ่จะมีอาการไอ หายใจเร็ว บางรายอาจมีอาการหายใจลําบาก หายใจตื้นและเร็ว จมูก บานเวลาหายใจ ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน แพทย์จะไม่พบอาการไอเป็นอาการสําคัญ ในผู้ป่วยเด็กโตนอกจากจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอและหายใจเร็วแล้วบางรายจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือมีอาการเขียวได้ เมื่อผู้ป่วยหายจากปอดอักเสบแล้ว ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของปอดจะกลับมาเป็นปกติ ความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกจะหายไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ บางรายงานพบว่าผู้ป่วยปอดอักเสบในวัยเด็กจะมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดที่ลดลงกว่าปกติ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบจากเชื้อที่รุนแรง เช่น เชื้อหัด เชื้อไข้หวัดใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ หลอดลมบางส่วนเสียแบบถาวร ฯลฯ ดังนั้นหากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอ หอบ ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ถูกงูกัด สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคอื่นๆ อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้ ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช ฌรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888