ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่แถวๆ ข้างจมูก บนหน้าผาก ที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง และข้างในหลังช่องจมูก ไซนัสอักเสบ เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปในไซนัส ทําให้น้ำมูกกลายเป็นหนองเขียวเหลือง คั่งอยู่ภายใน

อาการของไซนัสอักเสบ ได้แก่

  1. น้ำมูกเหนียว เป็นหนองสีเขียวเหลืองอาจไหลออกมาทางจมูกหรือไหลลงคอ
  2. แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก บางครั้งต้องหายใจทางปาก
  3. ไอมาก ไอ มีเสมหะ
  4. ปวดหัวหรือใบหน้าปริมาณไซนัส
  5. ได้กลิ่นเหม็นในจมูกหรือในปาก หรือดมอะไรไม่ได้กลิ่นเลย
  6. บวมรอบๆ ตา
  7. อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาไซนัสอักเสบ

  1. เชื้อโรคอาจลามไปที่หู ทําให้หูอักเสบ
  2. เกิดฝีรอบๆ ดวงตา ตามัว ปวดหัว
  3. เชื้อโรคลามเข้าสมอง ทําให้สมองอักเสบ
  4. เป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
  5. ทําให้อาการโรคหืดรุนแรงขึ้น

การรักษา

  1. กินยาฆ่าเชื้อโรคทุกวันตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าจะหมด
  2. ใช้น้ำเกลือล้างจมูก
  3. ใช้ยาพ่นจมูก และกินยาตามที่แพทย์สั่ง
  4. สั่งน้ำมูก และไอขับเสมหะอย่างถูกวิธี

* แต่ถ้ากินยาไม่ครบหรือไม่ติดต่อกันตามที่แพทย์สั่ง เชื้อโรคอาจดื้อยา รักษาไม่หายและอาจเกิดโรคแทรกซ้อน

  1. ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาราคาแพง และกินนานขึ้น
  2. ต้องใช้ยาฉีด
  3. ต้องเจาะหรือผ่าตัดเพื่อล้างโพรงไซนัส

ล้างจมูกอย่างไร ถ้าเด็กร่วมมือ

  1. เทน้ำเกลือสะอาด ใส่แก้วเล็กๆ แล้วดูดใส่หลอดฉีดยาขนาด 5-10 ซีซี
  2. เตรียมกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าไว้
  3. ยืน นั่ง หรือนอนในท่าที่รู้สึกสบาย แล้วเงยหน้าขึ้น
  4. ใส่ปลายหลอดฉีดยาเข้าไปในช่องจมูกข้างใดข้างหนึ่ง
  5. ค่อยๆ ดันน้ำเกลือเข้าไปในช่องจมูกช้าๆ ถ้ารู้สึกว่ามีน้ำเกลือไหลลงคอให้กลืน
  6. สั่งน้ำมูกใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า แล้วสังเกตดูลักษณะน้ำมูก หากยังมีมาก และ เหนียวข้น หรือคัดจมูกมาก ให้ทําซ้ำอีกจนกว่าน้ำมูกจะใส และ หายใจโล่งขึ้น
  7. ล้างจมูกอีกข้างแบบเดียวกัน

ข้อสังเกต

  1. น้ำเกลือจะไปซะล้างนน้ำมูกที่ค้างในช่องจมูกทําให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น
  2. ในระยะแรกที่เริ่มล้างจมูก ค่อยๆ ใส่น้ำเกลือครั้งละครึ่งถึงหนึ่งซีซี เมื่อเด็กชินกับการล้างจมูกจึงค่อยๆ ใส่นํ้ำเกลือปริมาณมากขึ้นจนเต็มรูจมูก
  3. ไม่ควรปิดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งขณะสั่งนํ้ำมูก เพราะจะทําให้หูอื้อ
  4. ถ้าเด็กไม่ร่วมมือ หรือเป็นเด็กเล็กไม่ควรล้างจมูกด้วยวิธีนี้เพราะอาจทําให้เด็กสําลักน้ำเกลือลงปอด
  5. ไม่ควรแช่นํ น้ำเกลือไว้ในตู้เย็น เพราะน้ำเกลือที่เย็นเกินไปอาจทําให้ปวดจมูก
  6. ขวดน้ำเกลือที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป เพราะจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
  7. ไม่ควรใช้น้ำเปล่า หรือน้ำต้มสุกล้างจมูก เพราะมีความเข้มข้นไม่เหมาะสม อาจทําให้เยื่อจมูกบวมได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก ท่านควรทราบว่าเด็กได้รับวัคซีนอะไรบ้างในแต่ละครั้ง และควรทราบว่าอาจเกิดอาการจากวัคซีนนั้นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ท่านให้การดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง การฉีดวัคซีน บีซีจี วัคซีนป้องกันวัณโรค เด็กทุกคนจะได้รับการฉีดเมื่อแรกเกิดที่ไหล่ซ้าย หลังฉีดไม่มีแผล ต่อมาประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ จะเห็นเป็นตุ่มขึ้นมา บวม แดง อาจแตกและมีหนองหรือไม่มีหนองก็ได้ ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด และแห้งเสมอด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้งที่แผลเปียก ตุ่มนี้จะค่อย ๆ แห้งลง และมีรอยบุ๋มตรงกลางภายใน 3 – 6 อาทิตย์ หลังการฉีดวัคซีนบางชนิด เด็กอาจตัวร้อนอยู่ประมาณ 1 – 2 วัน ควรเช็ดตัว และให้ทานยาลดไข้ตามที่แพทย์แนะนํา วัคซีนบางชนิด เด็กอาจให้มากกว่า 1 ครั้งและต้องฉีดอีกเป็นครั้งคราว จึงจะได้ผลป้องกันโรคได้เต็มที่ ท่านจึงควรพาเด็กมาตามนัดทุกครั้ง ในวันนัด ถ้าเด็กเป็นไข้ ควรเลื่อนไปจนกว่าเด็กจะหายไข้ ในรายที่ไม่สามารถมาตามนัด ควรพาเด็กมารับวัคซีนให้ครบให้เร็วที่สุด ถ้าเด็กเคยมีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีน เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดทุกครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039319888

ภาวะชักจากไข้สูง

ภาวะชักจากไข้สูง

เมื่อเด็กมีไข้และชักควรปฏิบัติอย่างไร ภาวะชักจากไข้มีพยากรณ์โรคที่ดีไม่ทําให้สติปัญญาถดถอยหรือมีการทําลายของเนื้อสมองอย่างถาวร ดังนั้นไม่ต้องตกใจควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ป้องกันการอุดตันของเสมหะโดยจับเด็กนอนหงายหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย ดูดเสมหะเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก ห้ามใช้สิ่งของเพื่องัดฟัน เช่น ด้ามช้อนหรือนิ้ว จะทําให้เกิดอันตรายต่อเด็กและยังจะทําให้ผู้พยาบาลเด็กได้รับบาดเจ็บไปด้วย คลายเสื้อผ้าออกเพื่อสะดวกต่อการปฐมพยาบาล เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกเพื่อคลายความร้อน ไม่พยายามเขย่าหรือตีเด็ก ถ้าชักเกิน 10 นาทีหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปกติ ต้องรีบนําเด็กส่งโรงพยาบาลพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันชักเมื่อเด็กมีไข้ ให้ยาลดไข้ เมื่อเริ่มมีไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา การให้ยากันชักมีข้อบ่งชี้คือ คนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกลายเป็นโรคลมชัก มีประวัติชักโดยไม่มีไข้ในครอบครัว และมีการพัฒนาที่ผิดปกติก่อนชัก หรือชักเฉพาะที่ เด็กที่ชักจากไข้ไม่ต้องให้ยาป้องกันชัก ในบางกรณีที่ผู้ปกครองกังวลมากอาจเลือกใช้ยาป้องกันอาการชักเฉพาะ เมื่อเด็กมีไข้เท่านั้น แต่ยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงทําให้เด็กง่วงซึมและมีความเสี่ยงต่อการบดบังอาการของการติดเชื้อขึ้นไปบนสมองได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูของมนุษย์จะประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นกลางของเราจะมีการเชื่อมต่อกับช่องปากด้านหลังผ่านทางท่อเล็กๆ เรียกว่าท่อ ยูสเตเชี่ยนเมื่อเราเป็นหวัดมีการติดเชื้อบริเวณคอหรือจมูก หรือเป็นจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ ท่อยูสเตเชี่ยนจะบวมและตัน ทําให้เกิดการสะสมของน้ำในหูชั้นกลาง หากมีเชื้อในน้ำก็จะเกิดการอักเสบ ทําให้แก้วหูมีการบวมและปวดหูได้อย่างมากเกิดเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบขึ้นมา โรคหูชั้นกลางอักเสบพบได้ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ อายุ : เนื่องจากเด็กเล็กจะมีโอกาสเกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ได้มากกว่าเด็กโต เพศ : พบได้เพศชาย ได้มากกว่าเพศหญิง กรรมพันธุ์ : หากมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นหูอักเสบบ่อยๆ มักพบว่าเด็กจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นหูอักเสบซ้ำซ้อน หวัดและภูมิแพ้ : ทั้งสองภาวะจะทําให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน และนําไปสู่ภาวะติดเชื้อได้ง่ายๆ บุหรี่ : พบว่าการสูบบุหรี่ของบุคคลในบ้านเดียวกัน หรือในยานพาหนะที่เด็กเดินทาง ทําให้เด็กมีปัญหาสุขภาพได้หลายประการ รวมทั้งการติดเชื้อของหูชั้นกลางด้วย การดูดขวดนม : โดยเฉพาะการนอนดูดนมจะทําให้หูอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กที่ทานนมแม่ หากจําเป็นต้องให้นมขวด ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กอยู่สูงกว่ากระเพาะ เพื่อลดการสําลักและอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ในเด็กที่มีอาการปวดหู แพทย์มักจะสั่งยาแก้ปวดลดไข้จําพวกพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเพนให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดลดไข้ แอสไพรินให้เด็กรับประทานเอง เนื่องจากอาจทําให้เกิดอันตรายเสียชีวิตได้ ใน บางครั้งการประคบน้ำอุ่นที่หู อาจช่วยลดอาการปวดได้แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเด็กเล็กกว่า 1 ปี เพราะอาจเกิดอาการบวมพองได้ การนอนยกศีรษะให้สูงขึ้นก็จะช่วยลดอาการปวดหูได้ในเด็กโตอาจให้เคี้ยวหมากฝรั่ง หากสามารถเคี้ยวโดยไม่กลืนได้ ส่วนในเด็กเล็กอาจให้ดูดน้ำอุ่นหรือนมบ่อยขึ้น ก็จะช่วยให้ท่อยูสเตเชี่ยนเปิดและลดอาการปวดหูได้บ้าง ในบางครั้งหูชั้นกลางอักเสบอาจไม่ดีขึ้นได้ แม้จะได้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว ในกรณีที่เด็กยังมีอาการไข้หรือปวดหูอยู่หลังเริ่มรับประทานยาแล้ว 2 – 3 วัน ให้นําเด็กกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งกับกุมารแพทย์ ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นตัวอื่นที่เหมาะสม เนื่องจากบางครั้งเชื้ออาจไม่ได้ตอบสนองดีกับยาที่ใช้เดิมเสมอไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ถูกงกัดู สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายอื่นๆ อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้ ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลาน! ไวรัส hMPV (Human metapneumovirus) เริ่มระบาดสูงขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาวอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ยังไม่มีวัคซีนรักษา บางรายอาจเสี่ยงปอดอักเสบร่วม! Human metapneumovirus (hMPV) หรือเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโม เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ฤดูกาลที่พบการติดเชื้อมาก จะมี 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆมักมีอาการหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งการตรวจหาเชื้อนั้นทำได้โดยมีทีการเดียวกับไข้หวัดใหญ่และ RSVโดยวิธีการ swab โดยมักพบอาการในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ อาการผู้ที่ติดเชื้อไวรัส hMPV ผู้ป่วยมักมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กแต่ในผู้ใหญ่และเด็กโต ที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ อาจจะมีอาการเหมือนแค่เป็นหวัดธรรมดา หรือไม่มีอาการก็ได้ อย่างไรก็ตามไวรัส hMPVเป็นกลุ่มโรคเดียวกันกับเชื้อไวรัส RSV เป็นสาเหตุหนึ่งของปอดอักเสบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุด้วย การป้องกันโรคไวรัส hMPV เนื่องจาก ยังไม่มีวัคซีน หรือยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาเชื้อนี้โดยตรงจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV ทั่วไป ขณะที่การป้องกันโรค จึงใช้หลักการเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ คือล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับคนที่ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในที่ชุมชนคนเยอะๆเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ รู้จักโรคปอดบวมจากไวรัส โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย อาการโรคปอดบวมที่ควรสังเกต อาการปอดบวมอาจสังเกตได้จากการมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจแรงจนรูจมูกบาน หายใจแรงมากจนหน้าอกบุ๋ม เกิดหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจได้เกิดเสียงหายใจวี๊ด (wheeze) รายที่มีอาการรุนแรงมากอาจทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว และถ้าหายใจลำบากอยู่นาน จะทำให้ขาดออกซิเจน ผู้ป่วยอาจซึมลง หรือหมดสติในที่สุด การรักษาโรคปอดบวมโดยทั่วไปจะรักษาด้วยวิธีใด? แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ ให้ยาขยายหลอดลมสำหรับรายที่หลอดลมตีบจนเกิดเสียงหายใจวี๊ด พิจารณาให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่ ไม่ควรให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการไอ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะยาที่กดการไอจะทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ภายในถุงลมปอดมากขึ้น ควรให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เสมหะออกมามากที่สุด การรักษาอาการปอดบวมตามชนิดของเชื้อโรค ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ รวมถึงการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การดูดเสมหะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่มียารักษาเฉพาะ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้เร็วที่สุด และเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาคลินิกในการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะนั้น ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ