อาการอาเจียนในเด็ก

เมื่อลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาเจียนที่ออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะสีอะไร อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนต่าง ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้

อาเจียนเกิดจากอะไร สาเหตุของอาเจียนมีได้ ดังนี

  • จากสมอง มักมีอาเจียนพุ่ง
  • จากทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันของกระเพาะ ลําไส้ หรือมีการอักเสบ ของทางเดินอาหาร
  • สาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • สาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป

เมื่ออาเจียนออกมาแล้วมักจะสบายขึ้น เมื่อลูกอาเจียนจึงควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาต่อ

ถ้าลูกอาเจียนจะดูแลอย่างไร

  • ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อย ๆ
  • ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ
  • ให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร

เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำกระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้นํ้าเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจัรทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน กับชนิดเรื้อรัง ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดเฉียบพลันก่อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมักพบหลังเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะมีอาการไอ มีเสมหะขาว บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง เป็นต้น ซึ่งอาจทําให้มีอาการเรื้อรังได้ อาการ มีอาการไอ ซึ่งมักมีอาการมากตอนกลางคืน ระยะแรกจะไอแห้งๆ อาจมีเสียงแหบ และเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก 4 - 5 วัน ต่อมาจะมีเสมหะเหนียวเป็นสีขาว(เชื้อไวรัส) หรือขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว(เชื้อแบคทีเรีย) ในเด็กอาจไอจนอาเจียน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีก็ได้ บางคนอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย เรียกว่า หืดจากหลอดลมอักเสบ (Asthmatic bronchitis) อาการแทรกซ้อน โรคนี้มักหายได้ภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หลอดลมพอง ถุงลมพอง การรักษา แนะนําให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง อาจทําให้ไอมากขึ้น ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีอากาศเสียหรือฝุ่นละอองมาก ให้ยาขับเสมหะ ไม่ควรให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดํา ยาแก้ไอน้ำเชื่อม หรือยาโคเดอีน เพราะจะทําให้เสมหะเหนียว ขากออกยาก และอาจอุดกั้นหลอดลมเล็กๆทําให้ปอดบางส่วนแฟบได้ ถ้าไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือมีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือน้ำหนักลดควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเสมหะ หาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ข้อแนะนำ โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่และอาจไออยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์ โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี แต่ถ้าพบว่ามีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้เรื้อรัง อาจเป็นจากสาเหตุอื่น เช่น วัณโรค หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล ถ้าไอมีเสมหะ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ และไม่ควรซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง เพราะยาแก้ไอบางชนิดกดการไอ ทำให้เสมหะค้่งภายในไม่ถูกขับออกมาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรค G6PD

โรค G6PD

โรค G6PD G-6-PD หรือ Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในเซลล์ ซึ่งเป็นโรคขาดเอ็นไซม์ G-6-PD เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดจากความผิดปกติของยีนที่สร้างเอ็นไซม์ดังกล่าว ทําให้สร้างเอ็นไซม์นี้ไม่ได้ ความสําคัญก็คือเอ็นไซม์นี้มีความสําคัญในการสร้างสาร Glutathione ซึ่งมีหน้าที่ทําลาย oxidizing agents ต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากยา หรือภาวการณ์ติดเชื้อต่าง ๆ ให้หมดฤทธิ์ไป ความสําคัญของเอ็นไซม์นี้อยู่ที่เม็ดเลือดแดง ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้รับ oxidizing agents เช่นยาบางชนิดหรือการติดเชื้อในร่างกาย จะทําให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถทนทานได้ และเกิดเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน เกิดซีดเฉียบพลันปัสสาวะดํา และอาจเกิดไตวายได้ สารหรือยาที่ทําให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้บ่อย ได้แก่ ยารักษามาเลเรียบางชนิด ยาซัลฟา ยาปฏิชีวนะบางชนิดและถั่วปากอ้า เป็นต้น นอกจากนี้การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เป็น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ก็ทําให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้ จึงจําเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ และรักษา รวมทั้งเลี่ยงยาที่อาจทําให้เกิดอาการได้ โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมทางโครโมโซมเพศผู้ชายจะเป็นโรค โดยได้รับยีนมาจากมารดาที่เป็นพาหะ พ่อที่เป็นโรคจะถ่ายทอดพาหะให้ลูกสาวทุกคน อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้ยาพวกนี้ ผู้ป่วยจะซีดลงทันทีเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกในหลอดเลือด จะสังเกตเห็นปัสสาวะเป็นสีดําหรือสีโคล่า เนื่องจากฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกกรองออกมากับไต ซึ่งจําเป็นต้องนําส่ง รพ.เพื่อให้การรักษาประคับประคองทันที อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) เช่นนี้ คือ ภาวะไตวาย เนื่องจากไตขาดเลือดเฉียบพลันเพราะขาดเม็ดเลือดแดงที่นําออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง(เม็ดเลือดแดงแตกหมด) และยังได้รับฮีโมโกลบินปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อไตโดยตรง การรักษา การรักษาเป็นการรักษาประคับประคอง เช่น การให้เลือด การให้น้ำที่เพียงพอเพื่อป้องกันไตวาย ส่วนการแตกของเม็ดเลือดแดงจะหยุดได้เอง การปฏิบัติตัว แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้ เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่อาจทําให้เกิดอาการ เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคําแนะนําจาแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังลูกเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนครอบครัว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูของมนุษย์จะประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นกลางของเราจะมีการเชื่อมต่อกับช่องปากด้านหลังผ่านทางท่อเล็กๆ เรียกว่าท่อ ยูสเตเชี่ยนเมื่อเราเป็นหวัดมีการติดเชื้อบริเวณคอหรือจมูก หรือเป็นจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ ท่อยูสเตเชี่ยนจะบวมและตัน ทําให้เกิดการสะสมของน้ำในหูชั้นกลาง หากมีเชื้อในน้ำก็จะเกิดการอักเสบ ทําให้แก้วหูมีการบวมและปวดหูได้อย่างมากเกิดเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบขึ้นมา โรคหูชั้นกลางอักเสบพบได้ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ อายุ : เนื่องจากเด็กเล็กจะมีโอกาสเกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ได้มากกว่าเด็กโต เพศ : พบได้เพศชาย ได้มากกว่าเพศหญิง กรรมพันธุ์ : หากมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นหูอักเสบบ่อยๆ มักพบว่าเด็กจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นหูอักเสบซ้ำซ้อน หวัดและภูมิแพ้ : ทั้งสองภาวะจะทําให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน และนําไปสู่ภาวะติดเชื้อได้ง่ายๆ บุหรี่ : พบว่าการสูบบุหรี่ของบุคคลในบ้านเดียวกัน หรือในยานพาหนะที่เด็กเดินทาง ทําให้เด็กมีปัญหาสุขภาพได้หลายประการ รวมทั้งการติดเชื้อของหูชั้นกลางด้วย การดูดขวดนม : โดยเฉพาะการนอนดูดนมจะทําให้หูอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กที่ทานนมแม่ หากจําเป็นต้องให้นมขวด ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กอยู่สูงกว่ากระเพาะ เพื่อลดการสําลักและอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ในเด็กที่มีอาการปวดหู แพทย์มักจะสั่งยาแก้ปวดลดไข้จําพวกพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเพนให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดลดไข้ แอสไพรินให้เด็กรับประทานเอง เนื่องจากอาจทําให้เกิดอันตรายเสียชีวิตได้ ใน บางครั้งการประคบน้ำอุ่นที่หู อาจช่วยลดอาการปวดได้แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเด็กเล็กกว่า 1 ปี เพราะอาจเกิดอาการบวมพองได้ การนอนยกศีรษะให้สูงขึ้นก็จะช่วยลดอาการปวดหูได้ในเด็กโตอาจให้เคี้ยวหมากฝรั่ง หากสามารถเคี้ยวโดยไม่กลืนได้ ส่วนในเด็กเล็กอาจให้ดูดน้ำอุ่นหรือนมบ่อยขึ้น ก็จะช่วยให้ท่อยูสเตเชี่ยนเปิดและลดอาการปวดหูได้บ้าง ในบางครั้งหูชั้นกลางอักเสบอาจไม่ดีขึ้นได้ แม้จะได้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว ในกรณีที่เด็กยังมีอาการไข้หรือปวดหูอยู่หลังเริ่มรับประทานยาแล้ว 2 – 3 วัน ให้นําเด็กกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งกับกุมารแพทย์ ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นตัวอื่นที่เหมาะสม เนื่องจากบางครั้งเชื้ออาจไม่ได้ตอบสนองดีกับยาที่ใช้เดิมเสมอไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท้องอืดในเด็กเล็ก

ท้องอืดในเด็กเล็ก

อาการท้องอืดในเด็กเล็ก ร้องไห้โดยไร้สาเหตุ หน้าท้องของเด็กป่องและแข็ง เพราะมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจําในเด็กเล็ก ๆ เพราะทารกอยู่ในวัยที่ต้องดูดนมแม่ทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมผ่านทางขวดนมอย่างไม่ถูกวิธี จุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทําให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และลมอาจจะอยู่ในท้องจนกระทั่งเขาหลับไปอีกประการหนึ่งคือ กิจกรรมแต่ละวันของทารกยังมีน้อย ยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ สำหรับทารกเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินและนอน จึงทําให้ทารกเกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ วิธีป้องกัน เริ่มตั้งแต่วิธีการให้นมลูก ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้อง จะมีปัญหาน้อยกว่าทารกที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของเขาจะแนบสนิทกับเต้านมของแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง แต่ถ้าให้นมขวดแล้วน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวด จะทําให้ลมเข้าไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้ จึงควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ ท่าให้นมก็มีส่วนสําคัญ ควรอุ้มลูกให้ศีรษะของเขาสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น และการเลือกซื้อขวดนมที่เหมาะสมกับธรรมชาติในการดูดของเจ้าตัวน้อย อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดอย่างได้ผล เพราะขวดนมชนิดนี้จะมีคอขวดที่ต่างระดับกับตัวขวด ดังนั้นเมื่อนํ้านมใกล้จะหมด คุณก็ไม่จําเป็นต้องคอยยกก้นขวดนมให้สูงขึ้น เพราะคอขวดที่ต่างระดับนี้จะช่วยให้นํ้านม ไหลลงมาที่จุกนมอย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทําให้เจ้าตัวน้อยของคุณ ดูดนมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีดูแลเมื่อทารกท้องอืด หลังจากให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเอาลมออกมา โดยอุ้มพาดไหล่และลูบหลังหรือจับนัองบนตัก เอามือซ้ายประคองด้านหน้า มือขวาลูบหลังเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา จึงค่อยให้เขานอนได้ และถ้าเกิดลูกร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ร้องนานๆ ควรรีบอุ้มขึ้น เพราะเวลาที่เด็กร้องจะนําพาเอาลมเข้าไปอยู่ในท้องด้วยเช่นกัน การบรรเทาอาการปวดท้องด้วยการทามหาหิงค์เป็นประจํา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้เพราะว่าไอระเหยและความร้อนจากมหาหิงค์จะช่วยให้เด็กผายลม เป็นการไล่ลมออกจากท้องได้ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888