ผื่นผ้าอ้อม

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม สาเหตุมักเกิดจากผิวหนังของเด็กทารกซึ่งบอบบางมาก สัมผัสอยู่กับปัสสาวะอุจจาระ ทําให้เกิดปฏิกิริยาเป็นผื่นแพ้ขึ้นมา

ตําแหน่งที่พบ มักจะพบบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม บริเวณขาหนีบ ก้น ต้นขา

ลักษณะผื่น เป็นผื่นสีแดงชัดเจน ลามออกมา ไม่มีตุ่มหนองหรือสะเก็ดลอก

ข้อสังเกต จะพบเด็กทารกมักจะร้องให้กวนบ่อยกว่าปกติ ร้องกระจองอแง ทั้งนี้เป็นเพราะไม่ค่อยสบายตัว ไม่สบายก้นนั้นเอง เนื่องจากมีผื่นแดงระคายเคืองอยู่

ปัญหาแทรกซ้อน ถ้าเด็กทารกเป็นผื่นมานานมากกว่า 72 ชั่วโมง อาจจะพบเชื้อยีสต์แคนดิดา (Candida albicans) ร่วมด้วย

ข้อแนะนํา ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และทาแป้งเด็กทําให้ผิวหนังบริเวณนี้แห้งไม่อับชื้น

การรักษา ควรพามาพบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมจริง แพทย์จะให้ใช้ยาทากลุ่ม สเตียรอยด์อย่างอ่อนทา ผื่น แดงจะลดลง แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ผื่นนี้เกิดจากเชื้อยีสต์แคนดิดา ถ้าใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ผื่นจะยิ่งลุกลาม เป็นมากขึ้นนกว่าเดิม จึงควรจะให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยดู จะดีกว่า ซื้อยามาทาเอง

ติต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่ มีการจัดทําตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทํามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน หาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทํางาน ทําการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครมารบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทําให้เด็กเสียสมาธิ เช่น การมีโทรทัศน์ วีดีโอเกม อยู่ใกล้ๆ ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย อาจจําเป็นที่เด็กต้องมีผู้ใหญ่ นั่งประกบอยู่ด้วยระหว่างทํางาน หรือทําการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย พ่อ แม่ และบุคคลในบ้าน ต้องพยายามคุมอารมณ์ อย่าตวาดหรือตําหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กกระทําผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อเด็กทําผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง การลงโทษควรใช้วิธีจํากัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน ลดค่าขนม เป็นต้น ควรให้คําชม รางวัลเล็กๆน้อยๆ เวลาที่เด็กทําพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทําดีต่อไป ทําตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ รู้ จักรอคอย รู้จักกาลเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้คํารุนแรงต่างๆ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเสติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท้องอืดในเด็กเล็ก

ท้องอืดในเด็กเล็ก

อาการท้องอืดในเด็กเล็ก ร้องไห้โดยไร้สาเหตุ หน้าท้องของเด็กป่องและแข็ง เพราะมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจําในเด็กเล็ก ๆ เพราะทารกอยู่ในวัยที่ต้องดูดนมแม่ทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมผ่านทางขวดนมอย่างไม่ถูกวิธี จุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทําให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และลมอาจจะอยู่ในท้องจนกระทั่งเขาหลับไปอีกประการหนึ่งคือ กิจกรรมแต่ละวันของทารกยังมีน้อย ยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ สำหรับทารกเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินและนอน จึงทําให้ทารกเกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ วิธีป้องกัน เริ่มตั้งแต่วิธีการให้นมลูก ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้อง จะมีปัญหาน้อยกว่าทารกที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของเขาจะแนบสนิทกับเต้านมของแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง แต่ถ้าให้นมขวดแล้วน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวด จะทําให้ลมเข้าไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้ จึงควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ ท่าให้นมก็มีส่วนสําคัญ ควรอุ้มลูกให้ศีรษะของเขาสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น และการเลือกซื้อขวดนมที่เหมาะสมกับธรรมชาติในการดูดของเจ้าตัวน้อย อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดอย่างได้ผล เพราะขวดนมชนิดนี้จะมีคอขวดที่ต่างระดับกับตัวขวด ดังนั้นเมื่อนํ้านมใกล้จะหมด คุณก็ไม่จําเป็นต้องคอยยกก้นขวดนมให้สูงขึ้น เพราะคอขวดที่ต่างระดับนี้จะช่วยให้นํ้านม ไหลลงมาที่จุกนมอย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทําให้เจ้าตัวน้อยของคุณ ดูดนมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีดูแลเมื่อทารกท้องอืด หลังจากให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเอาลมออกมา โดยอุ้มพาดไหล่และลูบหลังหรือจับนัองบนตัก เอามือซ้ายประคองด้านหน้า มือขวาลูบหลังเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา จึงค่อยให้เขานอนได้ และถ้าเกิดลูกร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ร้องนานๆ ควรรีบอุ้มขึ้น เพราะเวลาที่เด็กร้องจะนําพาเอาลมเข้าไปอยู่ในท้องด้วยเช่นกัน การบรรเทาอาการปวดท้องด้วยการทามหาหิงค์เป็นประจํา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้เพราะว่าไอระเหยและความร้อนจากมหาหิงค์จะช่วยให้เด็กผายลม เป็นการไล่ลมออกจากท้องได้ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน กับชนิดเรื้อรัง ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดเฉียบพลันก่อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมักพบหลังเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะมีอาการไอ มีเสมหะขาว บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง เป็นต้น ซึ่งอาจทําให้มีอาการเรื้อรังได้ อาการ มีอาการไอ ซึ่งมักมีอาการมากตอนกลางคืน ระยะแรกจะไอแห้งๆ อาจมีเสียงแหบ และเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก 4 - 5 วัน ต่อมาจะมีเสมหะเหนียวเป็นสีขาว(เชื้อไวรัส) หรือขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว(เชื้อแบคทีเรีย) ในเด็กอาจไอจนอาเจียน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีก็ได้ บางคนอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย เรียกว่า หืดจากหลอดลมอักเสบ (Asthmatic bronchitis) อาการแทรกซ้อน โรคนี้มักหายได้ภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หลอดลมพอง ถุงลมพอง การรักษา แนะนําให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง อาจทําให้ไอมากขึ้น ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีอากาศเสียหรือฝุ่นละอองมาก ให้ยาขับเสมหะ ไม่ควรให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดํา ยาแก้ไอน้ำเชื่อม หรือยาโคเดอีน เพราะจะทําให้เสมหะเหนียว ขากออกยาก และอาจอุดกั้นหลอดลมเล็กๆทําให้ปอดบางส่วนแฟบได้ ถ้าไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือมีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือน้ำหนักลดควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเสมหะ หาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ข้อแนะนำ โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่และอาจไออยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์ โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี แต่ถ้าพบว่ามีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้เรื้อรัง อาจเป็นจากสาเหตุอื่น เช่น วัณโรค หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล ถ้าไอมีเสมหะ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ และไม่ควรซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง เพราะยาแก้ไอบางชนิดกดการไอ ทำให้เสมหะค้่งภายในไม่ถูกขับออกมาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ล้างจมูกถูกวิธี

ล้างจมูกถูกวิธี

ล้างจมูกถูกวิธี “การล้างจมูก” เป็นวิธีทำความสะอาดโพรงจมูกด้วยการสวนล้างโดยใช้น้ำเกลือ เพื่อชำระสิ่งสกปรกอย่างน้ำมูก หรือสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่อยู่ภายในโพรงจมูกให้หมดไป ซึ่งสามารถลดปัญหาน้ำมูกไหลลงคอและอาการคัดจมูกได้ดี ช่วยให้โพรงจมูกมีความชุ่มชื้นขึ้น การหายใจจึงสะดวกขึ้น ทั้งนี้ต้องเป็นเด็กที่สามารถกลั้นหายใจและสั่งน้ำมูกเองได้แล้วจึงจะทำได้โดยไม่สำลัก ประโยชน์ของการล้างจมูก ช่วยกำจัดมูกเหนียวข้นที่ตกค้างอยู่ในโพรงจมูก ทำให้จมูกให้สะอาดขึ้น บรรเทาอาการหวัดเรื้อรังให้ทุเลาลง ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงจมูก ป้องกันการลุกลามของอาการไซนัสไม่ให้ลงไปยังปอด ลดปริมาณเชื้อโรค ของเสีย และสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุโพรงจมูก บรรเทาอาการแน่นจมูกหรือหายใจไม่ออก ให้หายใจโล่งขึ้น บรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นในโพรงจมูก เพิ่มประสิทธิภาพของยาพ่นจมูก เพราะยาจะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อจมูกโล่งสะอาด การล้างจมูก ควรทำก่อนใช้ยาพ่นจมูกเพื่อรักษาโรค หรือในกรณีที่เด็กป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับโพรงจมูก ควรทำการล้างจมูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ โรคหอบหืด เป็นหวัดคัดจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะมากเกินไป จนหายใจไม่สะดวก ทั้งนี้หากสังเกตเห็นว่าเด็กมีน้ำมูกเหนียวข้นออกมามาก เด็กได้รับฝุ่นควัน หรือเผชิญกับสภาพอากาศที่มีมลภาวะสูงมา ก็ควรล้างจมูกให้เด็กด้วยน้ำเกลือ เช่นกัน อุปกรณ์สำหรับการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยาทั่วไป ถ้วยสำหรับใส่น้ำเกลือ กระบอกฉีดยาพลาสติก สำหรับเด็กเล็ก ควรใช้ขนาด 5-10 cc. สำหรับเด็กโต ควรใช้ขนาด 10-20 cc. ภาชนะรองน้ำมูก หรือหากไม่ใช้ภาชนะ อาจล้างจมูกที่อ่างล้างหน้าก็ได้ ขั้นตอนการล้างจมูก ล้างมือและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาด เทน้ำเกลือลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกดูดน้ำเกลือประมาณ 5-10 มิลลิลิตร จากนั้นโน้มตัวเหนือภาชนะรองรับ พยายามจัดให้กระบอกฉีดแนบสนิทกับรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นกลั้นหายใจ ก้มหน้า อ้าปาก หรืออาจจะให้เด็กร้อง ‘อา…” โดยลากเสียงยาวๆ แทนก็ได้ ขณะกลั้นหายใจ ให้ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก เพื่อให้น้ำเกลือไหลผ่านเข้าไปในโพรงจมูกข้างที่สอดกระบอกฉีด และไหลผ่านออกทางรูจมูกอีกด้านหนึ่ง หากมีน้ำมูกค้างอยู่ให้สั่งออกมาเบาๆ หรืออาจมีน้ำเกลือบางส่วนไหลออกมาทางปากแทนก็ให้บ้วนทิ้งไป จากนั้นทำซ้ำที่จมูกอีกข้างหนึ่ง อาจทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกหายใจโล่ง ไม่มีน้ำมูกเหลือก็ได้ ทั้งนี้สามารถล้างจมูกได้บ่อยๆ เมื่อมีอาการหายใจไม่ออกหรือคัดจมูก หรืออาจล้างวันละ 2-3 ครั้ง โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

สมาธิสั้นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ( ก่อนอายุ 7 ขวบ ) ที่เป็นผลจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ทําให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม สมาธิ การจดจ่อ ใส่ใจ ทําให้มีปัญหาการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคมตามมา กลุ่มอาการที่พบ อาการขาดสมาธิ (Attention deficit ) : วอกแวกง่าย เหม่อลอย ไม่ตัองใจทํางาน ขี้ลืม ไม่รอบคอบ อาการหุนหัน พลันแล่น วู่วาม (Impulsive ) : ใจร้อน ทําอะไรไม่คิด พูดโพล่ง / พูดแทรก รอคอยไม่ได้ อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) : ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา พูดมาก ชอบแกล้งเพื่อน เด็กบางคนอาจมีแค่อาการซน หุนหันเป็นอาการเด่น ( พบมากในเด็กผู้ชาย ) บางคนอาจมีแค่อาการขาดสมาธิเป็นอาการ เด่น หรืออาจพบทั้งสามกลุ่มอาการเลยก็ได้ เด็กคนอื่นเป็นกันเยอะไหม ในประเทศไทยประมาณกันว่าทุกๆเด็ก 100 คน จะมี 5 คน ที่มีอาการสมาธิสั้น ทําไมเป็นสมาธิสั้น เป็นผลจากพันธุกรรมหรือมารดาได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ( โดพามีน , นอร์อิพิเนพฟิน ) ส่งเสริมให้อาการรุนแรงมากขึ้นด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่มีระเบียบวินัย เรารักษากันอย่างไร การกินยากลุ่ม Psychostimulant เพื่อกระตุ้นปรับสมดุลเคมีในสมอง ไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อกินยาติดต่อกัน การกินยา ต่อเนื่องนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเด็ก การฝึกวินัยและการปรับพฤติกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888