ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 432,943 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โรคหัวใจ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เนื่องจากโรคหัวใจแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายชนิด ตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ ลักษณะการแสดงอาการ และการติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคหัวใจที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ดังนี้

รคหลอดเลือดหัวใจตีบ-อุดตันตัน จากหลอดเลือดที่เคยมีพื้นผิวที่เรียบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเรามีระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือด ซึ่งทั้ง 2 กรณี ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้นได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาหารเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม ไปไหล่ และแขน หายใจเหนื่อย วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป อาจจะมีอาการในช่วงที่ออกแรง รู้สึกเครียด หรือหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก เมื่อมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โรคหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ภาวะหัวใจวายยังทำให้เกิดน้ำท่วมปอด และไตวายได้อีกด้วย อาการของภาวะหัวใจวาย คือ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ โดยเฉพาะขณะนอนราบ ไอแห้ง นอนหลับยาก มือเท้าบวม

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ


*** โรคหัวใจอาจไม่แสดงอาการใดๆให้ท่านทราบเลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่สุด

การตรวจสุขภาพหัวใจ

  1. การซักประวัติและตรวจรางกายโดยแพทย์ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว
  3. การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง
  4. การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของเอนไซม์หัวใจ ว่าอยู่ในยเกณฑ์ของผู้ป่วยหัวใจวายหรือไม่
  5. การอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ
  6. การตรวจ MRI เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ โดย ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถให้ภาพที่ชัดเจนทั้งแนวขวางและ 3 มิติ
  7. การตรวจ MRA เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ หลอดเลือด โดยการใช้เครื่อง MRI

การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสงทางหลอดเลือดเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โดยหากพบความผิดปกติที่สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ในคราวเดียวกัน ไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ และไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนาน

การรักษา

รับประทานยา
รักษาด้วยการสวนหัวใจ
ผ่าตัด

การป้องกัน

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม ลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง
ควบคุมน้ำหนัก
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
หากมีโรคประจำตัว ต้องดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด


โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039 319 888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนกลุ่ม mRNA ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็น 1 ในอาการไม่พึงประสงค์หลังจากฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (mRNA) ข้อมูลปัจจุบันพบเพียง 1 พันคนเท่านั้น พบมากในในวัยรุ่นทั้งชายและหญิงที่ฉีดเข็มกระตุ้นที่ 2 หากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) คือ ภาวะที่ส่งผลต่อสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจและอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ (arrhythmia) นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดและหมุนเวียนออกซิเจน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนแต่ผู้เชี่ยวชาญไม่แน่ใจว่ากลไกการเกิดโรคเกิดจากอะไร ปัจจุบันศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค และพันธมิตรกำลังติดตามรายงานเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบการฉีดวัคซีน COVID-19 หลังฉีดวัคซีน mRNA COVID-19 (Pfizer-BioNTech หรือ Moderna) โดยเฉพาะในวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาว พบได้มากขึ้นในการรับวัคซีนเข็มที่สอง ส่วนมากมีอาการไม่กี่วันหลังจากฉีดวัคซีน หากมีอาหารเหล่านี้ หลังการฉีดวัคซีน COVID-19ภายในหนึ่งสัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ยังควรฉีดวัคซีนให้ตัวเองหรือลูกหรือไม่? ทางการแพทย์ยืนยันว่า “ยังควรฉีด” ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องาจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิต นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับการรักษา ส่วนใหญ่มักมีการตอบสนองต่อยาได้ดี และอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้หลังจากที่อาการดีขึ้น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบควรปรึกษากับแพทย์โรคหัวใจ เกี่ยวกับการกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่หายเป็นปกติหลังจากได้รับการรักษาและพักผ่อน ผู้เชี่ยวชาญกำลังติดตามผลข้างเคียงแต่ยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุและผลกระทบในระยะยาวคืออะไร อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นแรง หากมีอาหารเหล่านี้ หลังการฉีดวัคซีน COVID-19ภายในหนึ่งสัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ยังควรฉีดวัคซีนให้ตัวเองหรือลูกหรือไม่? ทางการแพทย์ยืนยันว่า “ยังควรฉีด” ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องาจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิต นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สาเหตุภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือปฏิกิริยาของยา เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และทารก ในความเป็นจริง มีแนวโน้มที่จะภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรง และในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ2เท่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีตั้งแต่อาการน้อยถึงรุนแรง ยังส่งผลต่อเด็กแตกต่างกันในกรณีที่ไม่รุนแรง มีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ใจสั่น ขณะที่ในกรณีที่รุนแรงและควรพบแพทย์โดยด่วน เจ็บหน้าอก จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติหรือเต้นผิดปกติ หายใจถี่ ขณะพัก หรือระหว่างทำกิจกรรม อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า ความเหนื่อยล้า อาการอื่นๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย ปวดข้อ มีไข้ เจ็บคอ หรือท้องร่วง อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก ได้แก่ ไข้ เป็นลม หายใจลำบาก หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ให้แจ้งแพทย์ของคุณ หากเป็นเรื่องฉุกเฉิน โทร 1669 หรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรักษาที่เหมาะสม การฟื้นตัวเต็มที่ และการป้องกันปัญหาหัวใจในระยะยาว แพทย์ของคุณอาจทำการตรวจร่างกายและถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ แพทย์อาจทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายทางรังสี และการตรวจเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เพื่อยืนยันว่าอาการรุนแรงเพียงใด แนวทางการรักษากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปกติภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะดีขึ้นเองและคุณฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ ในบางกรณีคุณอาจต้องได้รับการรักษา เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส หากคุณเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายอย่างหนัก เช่น เล่นกีฬาเป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือน ปรึกษากับแพทย์ของคุณก่อนที่จะกลับไปออกกำลังกายตามปกติหรือเล่นกีฬา ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง คือโรคที่ผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ โดยไขมันนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้ คอเลสเตอรอล (Cholesteral) ได้แก่ ไขมันดี (HDL) พบในผู้ที่รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และออกกำลังอย่างม่ำเสมอ ไขมันชนิดนี้ยิ่งมีมากยิ่งส่งผลดี เพราะช่วยขจัดไขมันไม่ดีจากร่างกาย ไขมันไม่ดี (LDL) เป็นไขมันที่สะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) มักมีระดับที่สูงขึ้นจากการดื่มสุรา รับประทานอาหารมีน้ำตาลและไขมันมากเกินไปในแต่ละวัน รับประทานยาสเตียรอยด์หรือฮอร์โมนเป็นประจำ หรืออาจสูงขึ้นจากโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ซึ่งระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน ไขมันเกาะตับ และมีโอากาสเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะเมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 500 มก./ดล. การป้องกันตนเองจากโรคไขมันในเลือดสูง รับประทานอาหารแต่พอเหมาะ ตามที่ร่างกายต้องการ เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงทดแทนแป้งและน้ำตาล ลดอาหารมัน โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ ออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา" หากปล่อยให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนาน ๆ แล้วไม่รักษา เสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กว่า 90% เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ความดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักและหนาตัวขึ้น เลือดดีจากปอดและหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถไหลลงหัวใจห้องล่างซ้ายได้ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด อาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติแต่ถ้าหากมีอาการ ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นสาเหตุ หรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง หรือตามัว เหนื่อยง่ายกว่าปกติ การตรวจภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา แพทย์ผู้รักษา สามารถให้การวินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยเฉพาะการตรวจร่างกายระบบหัวใจและหลอดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหัวใจ การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าสาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จะรักษาโดยให้ควบคุมอาหารเค็ม รวมถึงการใช้ยาลดความดันโลหิต โดยต้องรับประทานยาต่อเนื่อง พร้อมติดตามความดันโลหิตเป็นระยะ เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ และลดผลแทรกซ้อนระยะยาว ค่าความดันปกติ ค่าบนต้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอทและค่าล่างต้องไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าค่าความดันโลหิตค่าบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทหรือค่าล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้หัวใจจะลดลง ทำให้เกิดโรคหัวใจระยะสุดท้ายและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ในที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามปกติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพลดล อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยมีภาวะภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่สะดวก เป็นลม หมดสติ การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การซักประวัติอสุขภาพ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรือเอคโค(Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study) การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษาตามแนวทางของแพทย์ต่อไป การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หัวใจล้มเหลว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

หัวใจล้มเหลว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

หัวใจล้มเหลว(HEART FAILURE) หรือหัวใจวายสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิดทั้งกับตัวเองและคนใกล้ตัว และสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งวัยชรา เช็กอาการสุ่มเสี่ยงป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง! ภาวะหัวใจล้มเหลว (HEART FAILURE) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดกลับเข้าหัวใจได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และอาจบวมจากการคั่งของน้ำในร่างกาย ซึ่งอาจมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน เด็กกับภาวะหัวใจล้มเหลว ในเด็กนั้นสามารถพบภาวะหัวใจล้มเหลวได้ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ โดยมาจากหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดี อาจร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ หากไม่รีบตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างถูกวิธีเด็กที่หัวใจล้มเหลวมักโตช้า ขาดสารอาหาร เหงื่อออกมาก ผิวหนังเย็น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว หัวใจโต ตับโต มักมาจากปัญหากล้ามเนื้อหัวใจและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จึงควรตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจโดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์มักตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ปอด คลื่นเสียงหัวใจ และพิจารณาตามอาการและความรุนแรงของโรค วัยรุ่นกับภาวะหัวใจล้มเหลว สาเหตุมาจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจติดเชื้อโรค หรือความผิดปกติของหัวใจที่อาจไม่เคยรู้ตัวมาก่อน หากรู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจมาก่อนอาจมีการดูแลสุขภาพหัวใจ แต่เนื่องจากวัยรุ่นไม่ได้ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจจึงต้องหมั่นสังเกตตนเองและรีบพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจโดยเร็ว อาการที่พบส่วนใหญ่คือ เหนื่อยง่าย ขึ้นบันไดแล้วเหนื่อยผิดปกติ เจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย หายใจลำบาก ริมฝีปากมีสีเขียว ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม หมดสติ ควรต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะหากร้ายแรงอาจเสียชีวิตแบบฉับพลันได้ ผู้ใหญ่กับภาวะหัวใจล้มเหลว ในผู้ใหญ่นอกจากความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่อาจถึงแก่ชีวิต ยังมีความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากโรคต่าง ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจตีบ หรือลิ้นหัวใจรั่ว การเต้นหัวใจผิดปกติ ซึ่งการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจมีความสำคัญ เพราะช่วยให้รู้ความผิดปกติและดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี อาการหัวใจล้มเหลวที่พบคือ เหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจไม่ออก ตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่ออก เท้าหรือขาบวม ท้องอืดไม่ย่อย ตลอดจนน้ำขังตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อ่อนเพลียไม่มีแรง ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม หมดสติ นอกจากนี้หากเคยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้สูงวัยกับภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้สูงวัยมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ ยิ่งในผู้สูงวัยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ ยิ่งมีความเสี่ยงมาก รวมถึงผู้สูงวัยที่มีปัจจัยเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น อาการที่พบคือ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ หายใจลำบาก บวมที่ขาหรือเท้า กดแล้วมีรอยบุ๋ม ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงอาจมีอาการทางประสาทอย่างมึนงง สับสน เป็นลม หมดสติ จากการที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติแม้เพียงนิดเดียวควรต้องรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจทันที นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจอย่างละเอียดเป็นประจำทุกปี รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคเป็นสำคัญ อันดับแรกคือต้องพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย หากมีอาการหายใจไม่ออกแพทย์อาจจะใส่เครื่องช่วยหายใจ หากมีน้ำในปอดแพทย์จะทำการให้ยาขับปัสสาวะ รวมถึงการให้ยาต่าง ๆ เพื่อลดความรุนแรงของโรค ทั้งนี้อาจต้องทำการฉีดสีสวนหัวใจบอลลูนถ่างขยายเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจโดยเร่งด่วน มีการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติที่ช่วยเรื่องการบีบตัวของหัวใจ การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งเป็นไปตามการประเมินการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ที่สำคัญผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง ดูแลไม่ให้หัวใจล้มเหลว-รักษาทัน สังเกตความผิดปกติอยู่เสมอ ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว ตรวจเช็กสุขภาพหัวใจของตัวเองและคนใกล้ชิดตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีโรคประจำตัวต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พกยาติดตัวเสมอ ดูแลอย่างใกล้ชิด เลือกกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพใจให้ห่างไกลซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรเดินทางไกลคนเดียวควรมีคนสนิทติดตามไปด้วยทุกครั้ง โรคหัวใจมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่มีโอกาสเสียชีวิตกะทันหันเพราะโรคหัวใจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาดังนั้นการตรวจสุขภาพหัวใจเชิงลึกเป็นประจำทุกปีจึงสำคัญมากไม่ใช่แค่สุขภาพหัวใจของตัวเองแต่สุขภาพหัวใจของคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและผู้สูงวัยควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจเพราะหากรู้ทันโรคก่อนย่อมช่วยให้รับมือได้เร็วประเมินความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดูแลรักษาหัวใจได้ถูกวิธีมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงไปอีกนาน ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่แรงดันของเลือดในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ ค่าปกติควรน้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากมีค่าตั้งแต่ 120/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นสภาวะที่ต้องทําการควบคุม แต่ถ้าวัดความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น และการมีกรรมพันธุ์พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด ไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะเบาหวาน ขาดการออกกําลังกาย เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน เครียดเรื้อรัง สูบบุหรี่ และดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาการเตือนโรคความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงส่วนมากจะไม่มีอาการเตือนจึงหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำสม่ำเสมอ ในผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการเตือน เช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวด ศีรษะตุบๆ หากเป็นมานานหรือความดันสูงมากๆ มีอาการเลือดกําเดาไหล ตาพร่ามัว ใจสั่น มือเท้าชา ควรรีบไปพบแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนเกิดจากความดันโลหิตสูง หัวใจ : อาจเกิดหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข้งขึ้น ทําให้เกิดหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว สมอง : อาจเกิดหลอดเลือดในสมองอุดตันหรือแตกได้ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตทันที ตา : อาจเกิดเลือดออกที่ตา ตาพร่ามัวจนถึงตาบอดได้ หลอดเลือด : อาจทําให้เลือดไปเลี้ยงแขนขาและอวัยวะภายในน้อยลง การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เลิกสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ควบคุมน้ำหนักและรอบเอว ในผู้ชายรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ส่วนในผู้หญิงรอบเอวน้อยกว่า 80 ซม. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม พบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจําปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888